การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภท
หน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร
สำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งเวียนให้หน่วยงานต่าง ๆ ทราบเรื่อง การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร พร้อมเตรียมจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเพื่อให้ข้าราชการสำนักงาน ก.พ.ร. ใช้เป็นคู่มือในการปฏิบัติงาน
สำหรับเรื่อง การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหารนั้น ได้ผ่านความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 20
ตุลาคม 2552 โดยที่ประชุมมีมติให้สำนักงาน ก.พ.ร.
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ
และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปพิจารณาด้วย
ซึ่งคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ในการประชุมครั้งที่ 10/2552
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2552
พิจารณาปรับปรุงถ้อยคำตามข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีแล้ว
ดังนั้น
เพื่อให้ส่วนราชการและหน่วยงานต่าง ๆ
ของรัฐได้ทราบถึงการปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของ
ฝ่ายบริหารดังกล่าว สำนักงาน ก.พ.ร.
โดยภารกิจการพัฒนาองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐรูปแบบอื่นที่มิใช่ส่วน
ราชการ
จึงได้ส่งหนังสือแจ้งเวียนมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องดังกล่าวให้ส่วนราชการและ
หน่วยงานต่าง ๆ ทราบ
พร้อมทั้งรายละเอียดของการปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับ
ของฝ่ายบริหาร ตามหนังสือเวียนสำนักงาน ก.พ.ร. ที่ นร 1200/ว 1 ลงวันที่ 4 มกราคม 2553 เรื่อง การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร
นอกจากนี้
ภารกิจการพัฒนาองค์การมหาชนฯ
ยังเตรียมจัดพิมพ์เอกสารดังกล่าวเป็นรูปเล่มเพื่อเผยแพร่ให้กับส่วนราชการ
ต่าง ๆ รวมทั้งข้าราชการสำนักงาน ก.พ.ร.
เพื่อใช้เป็นคู่มือในการปฏิบัติงาน
ซึ่งคาดว่าจะสามารถจัดพิมพ์ได้แล้วเสร็จพร้อมแจกจ่ายภายในเดือนกุมภาพันธ์
นี้
สำหรับสาระสำคัญของเรื่อง การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร มีดังนี้
1. หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการเป็นหน่วยงานของรัฐ จะพิจารณาจาก
1) ความสัมพันธ์กับรัฐ ประกอบด้วย
- การจัดตั้ง
- รูปแบบ
- การแต่งตั้งบุคลากรระดับสูง
- การกำกับดูแลของรัฐ
2) กิจกรรม
3) งบประมาณ/รายได้ของหน่วยงาน การค้ำประกันหนี้
4) สถานะของบุคลากร
5) วิธีการและระบบกฎหมายที่ใช้ในการทำกิจกรรม
6) ความเป็นเจ้าของ และอำนาจในการบริหารจัดการ
2. การจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร
&nbp; หน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหารที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล สามารถแยกพิจารณาได้ 4 ประเภท คือ
1) ส่วนราชการ
2) รัฐวิสาหกิจ
3) องค์การมหาชน
4) หน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่ ซึ่งสามารถจำแนกเป็น 3 ประเภท
คือ หน่วยธุรการขององค์การของรัฐที่เป็นอิสระ (Independent Administrative
Organization) กองทุนที่เป็นนิติบุคคล : กลไกทางเศรษฐกิจของรัฐ
และหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ
หน่วยงานที่ใช้อำนาจรัฐหรือเป็นกลไกของรัฐ แต่ไม่เป็นองค์กรของรัฐ เป็น
หน่วยงานที่ไม่เข้าตามหลักเกณฑ์การเป็นหน่วยงานของรัฐ
แต่ใช้อำนาจรัฐหรือเป็นกลไกของรัฐในการจัดทำบริการสาธารณะ
ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1) สภาวิชาชีพ
2) สถาบันภายใต้มูลนิธิ ซึ่งเป็นกลไกของส่วนราชการ
3) นิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle SPV)
ซึ่งหน่วยงานแต่ละรูปแบบจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป
โดยรายละเอียดของหลักการจัดตั้งหน่วยงานแต่ละรูปแบบจะระบุไว้ในหนังสือเวียน
ฉบับนี้
สำหรับรายละเอียดของหนังสือเวียนสำนักงาน ก.พ.ร. ที่ นร 1200/ว 1 ลงวันที่ 4 มกราคม 2553 เรื่อง การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่
วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน
ยุทธชัย (ภารกิจการพัฒนาองค์การมหาชนฯ) / ข้อมูล
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 29 มกราคม 2553 10:34:33 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 29 มกราคม 2553 10:48:02