Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2553 / มกราคม / การประชุมการบูรณาการการทำงานระหว่างกระทรวงในยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายร่วมกัน

การประชุมการบูรณาการการทำงานระหว่างกระทรวงในยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายร่วมกัน


การประชุมการบูรณาการการทำงานระหว่างกระทรวง
ในยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายร่วมกัน


alt

alt
          เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2552 สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดการประชุมเรื่อง การบูรณาการการทำงานระหว่างกระทรวงในยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายร่วมกัน โดยได้รับเกียรติจาก นายวีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และให้นโยบายเกี่ยวกับการบูรณาการการทำงานที่มีเป้าหมายร่วมกัน และได้กล่าวถึงยุทธศาสตร์ที่สำคัญของชาติว่า มักมีหลากหลายหน่วยงานร่วมกันรับผิดชอบ ทำให้งบประมาณมีความกระจัดกระจาย ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลสำคัญในการจัดประชุมการบูรณาการการทำงานร่วมกันฯ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาบูรณาการการทำงานร่วมกันตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ กล่าวคือ ต้นน้ำ คือ การวางแผนการทำงานร่วมกัน ส่วนปลายน้ำ คือ ผลของการดำเนินงานร่วมกัน ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวมี ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ ห้องมิราเคิล แกรนด์ เอ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น

          การบูรณาการการทำงานระหว่างกระทรวงในยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs)นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการกำหนดเป้าหมายและแผนปฏิบัติการร่วมกันในภาพรวม ระดับประเทศและระดับกระทรวง และเป็นทิศทางการปฏิบัติงานอย่างบูรณาการระหว่างกระทรวงกับผู้มีส่วนได้ส่วน เสียทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการถ่ายทอดเป้าหมายลงสู่การปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานอย่างมีบูรณาการระหว่างกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และบรรลุตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ร่วมกัน
alt

          สำนักงาน ก.พ.ร. โดยความร่วมมือของสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินโครงการบูรณาการการทำงานระหว่างกระทรวงในยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายร่วมกันใน 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ข้าวไทย ยุทธศาสตร์พลังงานผสม ยุทธศาสตร์เอดส์ และยุทธศาสตร์เยาวชนไทย ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ทางสถาบันฯ ได้นำเสนอยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายร่วมกันระหว่างกระทรวงใน 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่

          1. การบูรณาการการทำงานระหว่างกระทรวงในยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายร่วมกัน ด้านสังคมในยุทธศาสตร์เอดส์ มีเป้าหมายหลักของยุทธศาสตร์ ดังนี้

           การติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ลดลงอย่างน้อย ร้อยละ 30 ภายในปี 2553 และ ร้อยละ 50 ภายในปี 2554 
           ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์สามารถเข้าถึงการบริการทางสังคมได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 
           ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์สามารถเข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ได้อย่างทั่วถึง 

          แนวทางการจัดทำตัวชี้วัดร่วมของยุทธศาสตร์เอดส์ มี 4 มาตรการ ประกอบด้วย

          มาตรการที่ 1 การสร้างความรู้ความตระหนักและทักษะการป้องกันและประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี 

          วิธีการ : การจัดให้มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับโรคเอดส์ การสนับสนุนให้มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และการสร้างค่านิยมในการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย 

          หน่วยงานร่วมกันรับผิดชอบ : กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงกลาโหม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกรมประชาสัมพันธ์ 

          มาตรการที่ 2 การเข้าถึงบริการและอุปกรณ์เพื่อการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี 

          วิธีการ : การจัดให้มีการบริการให้คำปรึกษา และการตรวจการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยสมัครใจ 

          หน่วยงานที่ร่วมกันรับผิดชอบ : กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 

          มาตรการที่ 3 การป้องกันในบริการทางการแพทย์ 

          วิธีการ : การบริหารจัดการให้ระบบบริการทางการแพทย์เป็นไปตามหลักการป้องกันแบบมาตรฐาน และพัฒนาระบบการตรวจคัดกรองโลหิตให้ได้ตามมาตรฐานสูงสุดทั่วประเทศ 

          หน่วยงานที่ร่วมกันรับผิดชอบ : กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสภากาชาดไทย 

          มาตรการที่ 4 การบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกัน 

          วิธีการ : การพัฒนานโยบายแผนงาน จัดสรรงบประมาณในการแก้ปัญหาเอดส์ การพัฒนากลไกการบริหารจัดการวาระเอดส์แห่งชาติ และการสนับสนุนหน่วยงานภาคประชาสังคมให้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ร่วมกับภาครัฐ 

          หน่วยงานที่ร่วมกันรับผิดชอบ : กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วงเหลือทางกฏหมายแก่ประชาชน สบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานอัยการสูงสุด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการเอดส์ชาติ
 

alt


          2. การบูรณาการการทำงานระหว่างกระทรวงในยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายร่วมกัน ด้านเศรษฐกิจในยุทธศาสตร์พลังงานผสม ได้แก่ ไบโอดีเซล และ เอทานอล มีเป้าหมายหลักของยุทธศาสตร์ ดังนี้

           การรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ไบโอดีเซลและน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้มากขึ้น
           การสร้างเสถียรภาพของปริมาณและราคา 
           การควบคุมคุณภาพให้อยู่ในระดับมาตรฐาน 
           การขยายพื้นที่ในการเพาะปลูกวัตถุดิบหลักอย่างปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลังและอ้อย 
           การวิจัยและพัฒนาวัตถุดิบอื่นเพื่อใช้ในการผลิตต่อไป

          แนวทางการจัดทำตัวชี้วัดร่วมของยุทธศาสตร์พลังงานผสม มี 6 มาตรการ ประกอบด้วย

          มาตรการที่ 1 ด้านวัตถุดิบ 

          วิธีการ : การวิจัย พัฒนาและส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับใช้ในการผลิตไบโอดีเซล การปลูกอ้อยและมันสำปะหลังสำหรับใช้ในการผลิตเอทานอล และวางแผนการผลิตวัตถุดิบของประเทศเพื่อนำไปสู่การจัดสรรพัฒนาพื้นที่การ เกษตร แหล่งน้ำและระบบชลประทาน 

          หน่วยงานที่ร่วมกันรับผิดชอบ : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกรรม 

          มาตรการที่ 2 ด้านอุตสาหกรรม/ผู้ผลิต 

          วิธีการ : การควบคุมคุณภาพการผลิตและผลผลิตของไบโอดีเซลและเอทานอล และวิจัย พัฒนาและส่งเสริมการผลิตให้มีประสิทธิภาพและได้ผลผลิตสูง 

          หน่วยงานที่ร่วมกันรับผิดชอบ : กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ 

          มาตรการที่ 3 ด้านการใช้และการตลาด 

          วิธีการ : การส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลและแก๊ซโซฮอล์ด้วยมาตรการจูงใจด้านราคาและภาษี และมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค 

          หน่วยงานที่ร่วมกันรับผิดชอบ : กระทรวงพาณิชย์

          มาตรการที่ 4 ด้านการพัฒนาบุคลากร 

          วิธีการ : การส่งเสริมการแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดความรู้ระหว่างภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษาและประชาชน และพัฒนาบุคลากรภาครัฐให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะ 

          หน่วยงานที่ร่วมกันรับผิดชอบ : กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงศึกษาธิการ 

          มาตรการที่ 5 ด้านการวิจัยและพัฒนา 

          วิธีการ : การวิจัยและพัฒนาการผลิตไบโอดีเซลและเอทานอลจากพืชทางเลือกอื่น 

          หน่วยงานที่ร่วมกันรับผิดชอบ : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          มาตรการที่ 6 ด้านการบริหารจัดการแบบบูรณาการ 

          วิธีการ : การพัฒนาระบบตลาดเพื่อส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันและนำไปสู่การพัฒนากระบวน การผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในทุกขั้นตอน และลดต้นทุนการขนส่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นการส่งวัตถุดิบจนถึงกระจาย ผลิตภัณฑ์ไปยังสถานีบริการเพื่อจัดจำหน่าย 

          หน่วยงานที่ร่วมกันรับผิดชอบ : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงคมนาคม 
 

alt


alt          จาก นั้นเป็นการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการบูรณาการการทำงาน ระหว่างกระทรวงในยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายร่วมกัน และในช่วงท้าย ศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้ ให้เกียรติกล่าวปิดท้ายในการประชุมครั้งนี้ว่า เนื้อแท้ของการทำ Joint KPIs นั้น เป็นแก้ปัญหาที่เรื้อรังของระบบราชการไทย โดยจะต้องมีการประสานแผนงาน แผนเงิน และแผนคน หรือที่เรียกว่า ระบบการประสานงานแบบบูรณาการ ซึ่งทางสำนักงาน ก.พ.ร. และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ควรไปศึกษาเพิ่มเติมถึงการจัดระบบการประสานงานแบบบูรณาการนี้ โดยดูเนื้องานที่มี จากนั้นจึงกำหนดสัดส่วนความมากน้อยในการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ตามแผนงาน และสัดส่วนของงบประมาณในแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งกำหนดหน่วยงานผู้รับผิดชอบในแผนงานนั้น ๆ จะทำให้ประหยัดงบประมาณและสามารถประสานงานในเป้าหมายร่วมกันได้
 

alt


          สำหรับการประชุมครั้งนี้ทางสำนักงาน ก.พ.ร. และ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงและพัฒนาการบูรณาการการทำงานระหว่างกระทรวงใน ยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายร่วมกันต่อไป 
 

alt
 


ลลิดา (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 20 มกราคม 2553 16:54:55 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 20 มกราคม 2553 16:59:51
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th