Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2552 / ธันวาคม / การอบรมผู้ตรวจตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552

การอบรมผู้ตรวจตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552

การอบรมผู้ตรวจตัวชี้วัด
การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552



alt

alt
           เมื่อวันที่ 17 - 18 พฤศจิกายน 2552 สำนักงาน ก.พ.ร. โดยสำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม จัดการฝึกอบรมผู้ตรวจประเมินตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 โดยมี นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา สุทธปรีดา ผู้อำนวยการสำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม เป็นประธานกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ณ ห้องกษัตริย์ศึก 1 โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์

           สำหรับการอบรมผู้ตรวจตัวชี้วัดฯ ในครั้งนี้เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ที่จะปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นผู้ตรวจตัวชี้วัด PMQA ให้สามารถดำเนินการตรวจประเมินได้ครบถ้วนและสอดคล้องกับแนวทางการประเมินผล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความสำเร็จที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งการอบรมผู้ตรวจตัวชี้วัดฯ นี้ ประกอบด้วย การอธิบายแนวทางการประเมินตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หมวด 1-7 โดย นายณรงค์ บุญโญ ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารการเปลี่ยนแปลง 4 และ นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารการเปลี่ยนแปลง 3 ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้

alt           การดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ มีจุดมุ่งเน้นหรือประเด็นสำคัญในการตรวจประเมินแต่ละหมวด ประกอบด้วย

           หมวด 1 การนำองค์กร
            การรับรู้ เข้าใจและนำไปปฏิบัติเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ค่านิยมและเป้าประสงค์ของบุคลากร
              ในองค์การ
            การสรุปผลการใช้อำนาจว่ามีปัญหาอุปสรรคอย่างไรบ้าง
            กิจกรรมที่ผู้บริหารเข้ามาร่วมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความผูกพัน
            แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารได้นำผลการทบทวนผลการดำเนินงานไปปรับปรุง
            ตัวอย่างโครงการจัดการผลกระทบเชิงลบ หรือการป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้น


           หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์
            แสดงให้เห็นเปรียบเทียบกระบวนการวางแผนเดิม(การจัดทำแผนปฏิบัติราชการในปีที่ผ่านมาหรือในปีปัจจุบัน) 
              กับกระบวนการที่ปรับปรุงใหม่ ว่าดีขึ้นจากเดิมอย่างไร
            แสดงให้เห็นถึงวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลของแต่ละปัจจัยก่อนนำไปใช้วางแผน
            แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของการนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนยุทธศาสตร์
            แสดงกิจกรรมที่นำ best practice มาถ่ายทอดในองค์กร

           หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
            แสดงข้อมูลผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
            แสดงประสิทธิภาพของช่องทางการสื่อสารเพื่อรับฟังและเรียนรู้ความต้องการ
            การนำข้อร้องเรียนมาปรับปรุงคุณภาพการให้บริการและหรือการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น
            แสดงตัวอย่างการนำผลความพึงพอใจ/ความไม่พึงพอใจไปปรับปรุง
            แสดงตัวชี้วัดและเป้าหมายของการติดตามคุณภาพการให้บริการ

alt           หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ 
           (ตรวจประเมินโดย บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด)

           หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
            แสดงกำหนดปัจจัยที่มีผลต่อความผาสุกและความพึงพอใจของบุคลากร
            แสดงระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรที่มีประสิทธิผลและเป็นธรรม
            แสดงวิธีการสำรวจความพึงพอใจของบุคลากรต่อการพัฒนาบุคลากร 
              (ภาพรวมของการพัฒนาบุคลากร)
            แสดงหลักเกณฑ์กลางที่ใช้ในระบบประกันคุณภาพการฝึกอบรม
            แสดงแผนการสร้างความก้าวหน้า (อย่างน้อยในสายงานหลัก)

           หมวด 6 การจัดการกระบวนการ
            หลักเกณฑ์การกำหนดกระบวนการที่สร้างคุณค่า
            การจัดทำข้อกำหนดที่สำคัญของกระบวนการที่สร้างคุณค่า
            กำหนดตัวชี้วัดของกระบวนการที่สร้างคุณค่า
            มีการติดตามผลของตัวชี้วัดของกระบวนการาปรับปรุงกระบวนการ
            แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงของระบบรองรับภาวะฉุกเฉินต่อการดำเนินการตามพันธกิจหลักของส่วนราชการ
              ว่าจะสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง
            แสดงวิธีการที่ส่วนราชการนำมาตรฐานการปฏิบัติงานไปสู่การปฏิบัติ
            มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานเพื่อการปรับปรุงกระบวนการ

alt   alt


           ส่วน นายนารถ จันทวงศ์ ที่ปรึกษาโครงการ PMQA จากสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้ชี้แจงเกี่ยวกับคู่มือการตรวจตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ซึ่งประกอบด้วย โปรแกรมการตรวจตัวชี้วัดเพื่อให้ผู้ตรวจตัวชี้วัดได้สอบทานในประเด็นต่างๆ ดังนี้

            การสอบทานผลการประเมินหมวดที่ส่วนราชการดำเนินการ
            การสอบทานผลการประเมินตัวชี้วัดผลลัพธ์
            การสอบทานผลการประเมินหมวด 7
            สรุปผลการตรวจประเมิน
            สรุปผลคะแนนตัวชี้วัด PMQA 

alt           การรายงานผลการตรวจประเมินนั้น ผู้ตรวจต้องส่งมอบรายงานผลการตรวจตัวชี้วัดของหน่วยงานที่ผู้ตรวจได้รับมอบหมายให้กับสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีภายใน 15 วันนับจากวันที่ผู้ตรวจได้เข้าตรวจประเมินหน่วยงาน เนื่องจากสำนักงาน ก.พ.ร. ต้องแจ้งผลการตรวจให้ส่วนราชการทราบภายใน 30 วัน นับจากวันที่ผู้ตรวจเข้าตรวจ

           สำหรับวันที่สองของการอบรมผู้ตรวจตัวชี้วัดฯ นั้น เป็นการสาธิตการตรวจตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ โดยการจำลองสถานการณ์การตรวจตัวชี้วัดในระดับกรมและระดับจังหวัดพร้อมทั้งประเมินผล รวมทั้งเปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และซักถามข้อสงสัยอีกด้วย


alt        alt

 
ลลิดา (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 23 ธันวาคม 2552 09:22:19 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 23 ธันวาคม 2552 09:22:19
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th