ประชุมชี้แจงการดำเนินการพัฒนาคุณภาพ
การบริหารจัดการภาครัฐ
ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2553 (part 1)
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2552 สำนักงาน ก.พ.ร.
โดยสำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม ได้จัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 โดยมีนางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา สุทธปรีดา ผู้อำนวยการสำนักบริการการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม
เป็นประธานกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม
โดยการประชุมดังกล่าวมีผู้แทนจากส่วนราชการระดับกรมที่เป็นคณะทำงาน PMQA
เข้าร่วมกว่า 400 คน ณ ห้องราชาบอลรูม โรงแรมปรินซ์ พาเลซ
(มหานาค)
นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา สุทธปรีดา กล่าวว่า
การจัดทำตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หรือ PMQA
ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547
โดยมีเจตนารมณ์ที่จะให้เห็นว่า PMQA เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนส่วนราชการ
ในการขับเคลื่อนการทำงานภายในให้บรรลุมิติที่ 1
มิติด้านประสิทธิผล
สำนักงาน ก.พ.ร.
นอกจากจะเป็นหน่วยงานหลักที่จะส่งเสริม สนับสนุนเรื่องของการพัฒนาระบบราชการแล้ว
หน้าที่อีกด้านของ สำนักงาน ก.พ.ร. ก็คือ การปรับปรุงวิธีการส่งเสริม PMQA
ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในปีนี้ก็มีการดำเนินการหลายๆ อย่างด้วยกัน
ไม่ว่าจะเป็นการเร่งจัดทำคู่มือคำอธิบาย PMQA การจัดประชุมชี้แจงภายในเดือนตุลาคม
การแจกโปรแกรม excel ในการประเมินผลในปี 2553 การจัดทำ module สำหรับ PMQA
เป็นหมวดใหม่ใน e-learning ทางเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.พ.ร.
และมีคลินิคให้คำปรึกษากับส่วนราชการทุกบ่ายวันศุกร์ที่สำนักงาน ก.พ.ร.
เพื่อตอบปัญหาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ PMQA
หลังจากนั้น นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข
ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารการเปลี่ยนแปลง 3 สำนักบริการการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม
ได้บรรยายถึงภาพรวมของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐและเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน
โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ทิศทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 เป็นการดำเนินการตาม Roadmap ที่ได้กำหนดไว้
โดยใช้แนวคิดการพัฒนาองค์การแบบทีละขั้น
จึงมีการพัฒนาเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน (Fundamental Level)
ขึ้น ซึ่งสามารถวัดผลได้อย่างชัดเจน
และสามารถตอบได้ว่าสถานะของระดับการพัฒนาองค์การอยู่ระดับใด
โดย
Roadmap ที่วางไว้ก็คือ
ให้ส่วนราชการระดับกรมและจังหวัดดำเนินการพัฒนาองค์การให้ผ่านเกณฑ์ฯ ปีงบประมาณละ 2
หมวด และในส่วนของกรมได้จำแนกประเภทหน่วยงานเป็นกรมนโยบายกับกรมบริการ
แต่กรณีของสถาบันอุดมศึกษานั้น จะดำเนินการปีละ 3 หมวด
เนื่องจากสถาบันอุดมศึกษาได้ผ่านระบบประกันคุณภาพภายในมานานแล้ว
และเมื่อดำเนินการครบทุกหมวดแล้ว
ต่อจากนั้นจะเป็นปีที่พัฒนาระบบบริหารจัดการสู่ขั้น Successful Level
ซึ่งจะเน้นเรื่องการบูรณาการมากขึ้น
เน้นความสอดคล้องสัมพันธ์กันระหว่างหมวดต่างๆ
สำหรับตัวชี้วัด
PMQA ในปี 2553 จะมีความแตกต่างจากปี 2552 น้อยมาก
เพราะเราต้องการให้ระบบที่จัดทำขึ้นเป็น Roadmap เป็นระบบที่อยู่ตัว ทั้งนี้
มีประเด็นที่ต่างออกไปคือ
1. ส่วนราชการจะเลือกตัวชี้วัดที่สำนักงาน
ก.พ.ร. กำหนดให้ เพื่อให้เกิดความเป็นมาตรฐานในการวัดความสำเร็จ
แต่ก็ยังเปิดโอกาสที่จะกำหนดตัวชี้วัดเพิ่มเติมได้เอง
เพื่อความสอดคล้องกับภารกิจบางประเภทที่มีลักษณะเฉพาะ
และส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม
2. มีการกำหนดน้ำหนักเพื่อการ ซ่อม
ซึ่งหมายถึง ค่าน้ำหนักคะแนนนี้จะใช้ตรวจประเมินในหมวดที่ดำเนินการไปแล้ว
หากส่วนราชการใดไม่ผ่านเกณฑ์ฯ ในหมวดนั้นๆ ก็จะต้องดำเนินการให้ผ่านเกณฑ์ฯ
ดังกล่าว
อีกประการหนึ่งที่ต้องการเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญ คือ แม้จะดำเนินการปีละ 2 หมวด
และเป็นหมวดที่ส่วนราชการไดนินการผ่านเกณฑ์ฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
ไปแล้วก็ตาม ส่วนราชการควรให้ระบบคงอยู่อย่างยั่งยืน หรือเรียกว่า maintain ระบบ
เพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาระบบบริหารจัดการในขั้น Successful Level
ต่อไป
หลังจากนั้น
เป็นการชี้แจงรายละเอียดการดำเนินการตามตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 โดย นายณรงค์ บุญโญ ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารการเปลี่ยนแปลง 4
สำนักบริการการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม โดยการบรรยายครอบคลุมใน 3 ประเด็นหลัก
ได้แก่
-
สาระสำคัญของเกณฑ์การประเมินผลตัวชี้วัด
-
วิธีการและขั้นตอนการดำเนินงานตามตัวชี้วัด
- การส่งมอบงาน
นายณรงค์กล่าวว่า
เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ได้มีการปรับเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐปี พ.ศ.
2550
ที่เคยใช้ในการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในระดับส่วนราชการตั้งแต่ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2549 มาเป็นเกณฑ์คุณภาพการบริการจัดการภาครัฐระดับพื้นฐานที่เรียกว่า
Fundamental Level หรือเกณฑ์ FL จากเดิมที่มีข้อคำถามตามเกณฑ์หมวด 1 - 7 ทั้งหมด 90
คำถาม เหลือเพียง 52 ประเด็น
รวมทั้งยังได้มุ่งเน้นให้ส่วนราชการดำเนินการปรับปรุงองค์กรตามแผนพัฒนาองค์การที่ได้จัดทำขึ้น
ซึ่งแต่เดิมจะเน้นการเขียนเอกสารรายงานเป็นส่วนใหญ่
รวมทั้งลดภาระการส่งรายงานที่เป็นเอกสาร โดยใช้ template
แบบฟอร์มในการจัดส่งรายงานแทน
สำหรับเอกสารหลักฐานจะไปตรวจสอบเอกสารที่หน่วยงานในภายหลัง นอกจากนี้
การดำเนินการตามตัวชี้วัดตั้งแต่ปี 2552
เป็นต้นมามุ่งเน้นให้ส่วนราชการดำเนินการประเมินองค์กรด้วยตนเอง
และปรับปรุงองค์การตามแผนพัฒนาองค์การที่ได้จัดทำขึ้น
ทำให้องค์การได้รับทราบสถานภาพเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการในองค์การได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
รวมทั้งเห็นความคืบหน้าในการดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรมกว่าที่ผ่านมา
ในการที่จะบรรลุเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการพื้นฐานภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้
สำนักงาน ก.พ.ร. มุ่งหวังว่าการดำเนินการตามตัวชี้วัดนี้
มีเจตนารมณ์ที่จะทำให้เกิดการยกระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการขององค์การ
ไม่ใช่เป็นการดำเนินการเพื่อให้ได้คะแนนตามตัวชี้วัดของ สำนักงาน ก.พ.ร.
ซึ่งแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555
กำหนดเป้าหมายไว้ชัดเจนว่า ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555
ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐต้องมีการปรับปรุงและยกระดับคุณภาพการบริหารงานตามแผนพัฒนาองค์การไม่น้อยกว่าร้อยละ
80 โดยเฉลี่ย และตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นไป สำนักงาน
ก.พ.ร.จะเริ่มพัฒนาเกณฑ์อีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่าเกณฑ์พัฒนาสู่ความโดดเด่นรายหมวด
(Successful Level) มาใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินองค์กรของส่วนราชการ
เพราะฉะนั้นความเข้มข้นของการวัดและการประเมินผลจะเข้มข้นมากขึ้น
รวมทั้งในช่วงระยะเวลาดังกล่าว หากส่วนราชการใดมีศักยภาพ
มีความพร้อมในการดำเนินการบางหมวด และมีผลการดำเนินการที่โดดเด่น สำนักงาน ก.พ.ร.
ได้มีกลไกการให้รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐรายหมวดในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย
การดำเนินการตามตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน
จะมีรายละเอียดปรากฏในเอกสารคู่มือคำอธิบายตัวชี้วัด (เอกสารเล่มสีชมพู)
สำหรับเกณฑ์การบรรลุตามเกณฑ์ FL จะพิจารณาอย่างไรนั้น จะมีรายละเอียดในส่วนที่ 3
ตามคู่มือฉบับดังกล่าว นอกจากนี้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับส่วนราชการ
สำนักงาน ก.พ.ร. ยังได้จัดทำโปรแกรมประมวลผลสำเร็จรูป เป็นโปรแกรมคำนวณ excel
ให้กับส่วนราชการอีกด้วย
นอกจากนี้
การวัดผลลัพธ์ตามแผนพัฒนาองค์การในหมวดที่ดำเนินการนั้น สำนักงานก.พ.ร.
ได้จัดทำเป็นตัวชี้วัดผลลัพธ์แนะนำแจ้งเวียนไปส่วนราชการได้รับทราบล่วงหน้าแล้ว
ในลักษณะที่เป็น Shopping List ในแต่ละหมวด ดังนั้น
ส่วนราชการจึงสามารถพิจารณาเลือกตัวชี้วัดผลลัพธ์แนะนำที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาองค์การในแต่ละประเด็นตามเกณฑ์
FL ไปดำเนินการได้ทันที
สำหรับการส่งมอบงานดำเนินการจะเหมือนกับปี
พ.ศ. 2552 แต่ได้มีการปรับจำนวนแบบฟอร์มการรายงานลดลงจากปีที่ผ่านมา เหลือเพียง 5
แบบฟอร์มเทานั้น โดยกำหนดส่งภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553
เอกสารที่จัดส่งประกอบด้วยแบบฟอร์มที่ 1 - 5 จำนวน 4 ชุดเหมือนกับปีนี้
พร้อมไฟล์ข้อมูลบรรจุในแผ่นซีดีรอม จำนวน 2 แผ่น พร้อมทั้งโปรแกรมสำเร็จรูป excel
โดยไม่ต้องจัดพิมพ์มาในรูปของเอกสาร
กลุ่มสื่อสารฯ สลธ. /
ข่าว&ภาพ
วสุนธรา & ภัทรพร ข. / จัดทำ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 17 ธันวาคม 2552 09:56:12 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 17 ธันวาคม 2552 10:02:20