รายการเดินหน้า...พัฒนาราชการไทย ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2552 เสนอเรื่อง ศูนย์บริการร่วม...บริการร่วมสมัยเพื่อประชาชน โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. มาเป็นแขกรับเชิญ ร่วมสนทนากับ คุณศิริบูรณ์ ณัฐพันธ์ พิธีกรรายการ
ดร.ทศพรได้เล่าถึงที่มาของ ศูนย์บริการร่วม ว่า.. จากการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย คือ การทำให้ระบบราชการไทย เก่ง ดี มีส่วนร่วม และตอบสนองทันต่อการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะในเรื่องการตอบสนองทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่ภาคราชการจะต้องเปลี่ยน
วิธีการทำงาน แก้ไขกฎระเบียบที่ล้าสมัย และสำคัญที่สุดคือ
ต้องตอบสนองความต้องการของประชาชนในการให้บริการ
จึงเป็นที่มาของการคิดริเริ่มการบริการรูปแบบใหม่ หรือ
ศูนย์บริการร่วมนั่นเอง เริ่มตั้งแต่ปี 2546
ได้มีการระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้าน
เมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ที่กำหนดให้ทุกกระทรวงต้องจัดให้มีศูนย์บริการร่วม
ซึ่งต่อมาได้ขยายผลไปสู่ระดับจังหวัดด้วย
โดยมีเป้าหมายให้ศูนย์บริการร่วมมีการให้บริการทุกงานรวมอยู่ในที่เดียว
ตัวอย่าง
ของศูนย์บริการร่วมในปัจจุบัน เช่น ตามกระทรวงต่างๆ
มีศูนย์บริการร่วมให้บริการข้อมูลข่าวสารและเป็นศูนย์กลางในการติดต่อกับ
หน่วยงานอื่นในสังกัด หรือที่สำนักนายกรัฐมนตรี มีบริการสายด่วน 1111
และศูนย์รับเรื่องร้องเรียน เป็นต้น ส่วนศูนย์บริการร่วมระดับจังหวัดมี 2
รูปแบบ คือ
การพัฒนาที่ทำการอำเภอหรือศาลากลางจังหวัดให้เป็นศูนย์บริการร่วม
กับการไปตั้งจุดบริการยังที่ที่ประชาชนจับจ่ายใช้สอยหรือสัญจรไปมา เช่น
ห้างสรรพสินค้า โดยให้บริการตามเวลาเปิด-ปิดของห้างฯ
ซึ่งทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดี
งานบริการในศูนย์บริการร่วมจะเป็นงานบริการขั้นพื้นฐาน
โดยมีพระราชกฤษฎีกามอบอำนาจให้ดำเนินการได้เฉพาะในส่วนของงานอนุมัติ
อนุญาตที่ไม่ซับซ้อนมากนัก
แต่ถ้าเป็นงานที่ต้องใช้เทคนิคหรือต้องใช้กรรมการพิจารณา
จะไม่สามารถทำเบ็ดเสร็จในศูนย์บริการร่วมได้ ต้องส่งเรื่องไปที่ต้นสังกัด..
จากนั้นรายการได้พาชมตัวอย่างศูนย์บริการร่วมในระดับจังหวัดและศูนย์บริการร่วมระดับกระทรวง จำนวน
4 แห่ง ได้แก่ ศูนย์บริการร่วมจังหวัดนนทบุรี
ศูนย์บริการร่วมจังหวัดอุบลราชธานี
ศูนย์บริการร่วมกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ
ศูนย์บริการร่วมกระทรวงคมนาคม
ศูนย์บริการร่วมจังหวัดนนทบุรี ได้รับเกียรติจาก คุณสมชาติ ธีรสุวรรณจักร นายอำเภอบางใหญ่ และ คุณสุรศักด์ ฝาชัยภูมิปลัดอำเภอบางใหญ่
เล่าถึงความเป็นมาของศูนย์บริการร่วมและพาเยี่ยมชมภายในศูนย์ฯ ว่า..
ที่มาของศูนย์บริการร่วมแห่งนี้
เป็นผลต่อเนื่องมาจากนโยบายของกระทรวงมหาดไทย และกรมการปกครอง
ที่กำหนดให้มีการบริการประชาชนแบบ One Stop Service
ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของสำนักงาน ก.พ.ร.
ที่กำหนดให้จังหวัดจัดให้มีการบริการประชาชนแบบศูนย์บริการร่วม
ซึ่งศูนย์บริการร่วมจังหวัดนนทบุรี
ได้รับการสนับสนุนและข้อแนะนำจากสำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับจังหวัดนนทบุรี
ทำให้ศูนย์บริการร่วมจังหวัดนนทบุรีสามารถเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2550
ในปัจจุบันมีผู้ใช้บริการเฉลี่ยต่อวันประมาณ 500 กว่าราย
ซึ่งในอนาคตจะมีการขยายการบริการให้มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น
รวมทั้งขยายสถานที่ให้พร้อมในการให้บริการประชาชนต่อไป
สำหรับที่ตั้งของศูนย์บริการ
ร่วมจังหวัดนนทบุรี อยู่บริเวณบางใหญ่ซิตี้ ซอย 7 อำเภอบางใหญ่
จังหวัดนนทบุรี เมื่อเข้าสู่ภายในศูนย์ฯ
จุดแรกเป็นที่กดบัตรคิวและเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์
สำหรับเคาน์เตอร์ให้บริการจากหน่วยงานต่างๆ ประกอบด้วย
บริการรับสมัครงานของสำนักงานจัดหางานจังหวัดนนทบุรี
บริการการประกันสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข บริการของสำนักงานประกันสังคม
บริการของขนส่งจังหวัด บริการของกองกำกับการสถานีตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี
บริการงานไปรษณีย์ บริการของบริษัท TOT ซึ่งทางบริษัทมาร่วมให้บริการ
และเคาน์เตอร์ศูนย์บริการย่อยสำนักทะเบียนอำเภอบางใหญ่ให้บริการทะเบียน
ราษฎร์ ซึ่งแต่ละเคาน์เตอร์บริการจะมีเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ
มาให้บริการ
สถานที่ต่อมาคือ ศูนย์บริการร่วมจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ภายในห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี โดย คุณรัตนา มนัสเมธี เจ้า
หน้าที่ปกครอง 7 เป็นผู้นำชม โดยการให้บริการภายในศูนย์ฯ
มีการรวบรวมงานให้บริการหลากหลายงานให้อยู่ภายในศูนย์ฯ แห่งเดียว
ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วกับประชาชนที่เข้ามาใช้บริการ
โดยไม่ต้องไปที่หน่วยงานอื่นๆ อีก เช่น
กรณีที่ประชาชนมาขอทำบัตรประจำตัวประชาชนสามารถทำประกันตนต่อได้ทันที
เพราะมีเคาน์เตอร์บริการประกันสังคมอยู่ในศูนย์ฯ ด้วย
สำหรับการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการนั้น คุณรัตนาเล่าว่า
ทางศูนย์ฯ
มีการประเมินผลการให้บริการโดยสำรวจความเห็นจากประชาชนผู้มาใช้บริการ
ซึ่งผลการประเมินนั้นอยู่ในเกณฑ์ดี
ส่วนวิธีการอบรมบุคลากรผู้ให้บริการนั้น
ใช้การทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่โดยให้คิดว่าผู้มาใช้บริการเป็นเหมือนญาติ
มิตรซึ่งจะต้องให้บริการในสิ่งที่เขาต้องการ
แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องหาทางช่วยเหลือซึ่งอาจส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยว
ข้องโดยตรงเพื่อรับดำเนินการต่อไป
ลำดับต่อมาทีรายการฯ พาไปเยี่ยมชมเป็นศูนย์บริการร่วมระดับกระทรวง คือ ศูนย์บริการร่วมกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย คุณนิชา หิรัญบูรณะ ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คุณกฤษฎา ธาราสุข ผู้
อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ให้การต้อนรับและแนะนำงานให้บริการของศูนย์ฯ ว่า..
ศูนย์บริการร่วมกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งขึ้นเมื่อปี 2549
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมงานบริการของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จากหน่วยงานในสังกัดทั้งหมด 14 หน่วยงานที่อยู่ต่างสถานที่กัน
ให้มีจุดบริการที่เดียวเพื่อความสะดวกต่อผู้มาใช้บริการ ที่ตั้งของศูนย์ฯ
อยู่ที่อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับผู้ที่สนใจ
นำองค์ความรู้หรือผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ
มาใช้ภายในศูนย์ฯ เช่น ระบบเวลามาตรฐาน
ระบบเซ็นเซอร์นับจำนวนคนที่ผ่านไปมาในศูนย์ฯ
บริการติดต่อสอบถามนักวิทยาศาสตร์โดยใช้ระบบ Online
ศูนย์
บริการร่วมกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเคยได้รับรางวัลจากสำนักงาน
ก.พ.ร. ถึง 2 ประเภท คือ รางวัลด้านคุณภาพการให้บริการประชาชน และ
รางวัลด้านคุณภาพการบริหารจัดการ
ซึ่งความสำเร็จนี้มาจากการทุ่มเทของบุคลากรทุกระดับของกระทรวงฯ
รวมทั้งการสนับสนุนให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีจากศูนย์เทคโนโลยี
อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำหรับก้าวต่อไปในการพัฒนาศูนย์ฯ
แห่งนี้ คือ
การนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเผยแพร่สู่ประชาชนในต่าง
จังหวัด
โดยใช้ศูนย์บริการร่วมเป็นเสมือนสะพานที่จะนำองค์ความรู้ไปสู่ประชาชน
นอกจากนั้น ประชาชนยังสามารถติดต่อกับกระทรวงฯ
ได้ทุกสถานที่ผ่านโทรศัพท์หมายเลข 1313 กับทางเว็บไซต์คือ www.most.go.th และในส่วนของศูนย์บริการร่วม คือ www.most.go.th/eservice
ที่สุดท้ายคือ ศูนย์บริการร่วมกระทรวงคมนาคม ซึ่ง คุณธีระพงษ์ รอดประเสริฐผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกระทรวงคมนาคม
ให้รายละเอียดว่า..
ศูนย์บริการร่วมกระทรวงคมนาคมตั้งอยู่ที่เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน
ท่าเรือสาทรฝั่งพระนคร ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ
ซึ่งตั้งขึ้นมาตามหลักเกณฑ์และแนวทางของสำนักงาน ก.พ.ร. ตั้งแต่ปี 2549
มีวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งคือ
เพื่อนำบริการทั้งหมดของหน่วยงานในสังกัดทั้ง 19
หน่วยงานมารวมให้บริการที่ศูนย์บริการร่วมแห่งเดียว
โดยมีเป้าหมายสำคัญในการดำเนินงานอยู่ 5 เรื่อง คือ
มุ่งเน้นที่จะให้บริการให้ครบทุกงานบริการคมนาคม
เน้นความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการ สร้าง Brand ให้เป็นที่รู้จัก
ให้บริการด้วยมาตรฐาน และสร้างนวัตกรรมการให้บริการ
ศูนย์
บริการร่วมกระทรวงคมนาคมมีการให้บริการใน 3 รูปแบบ คือ
บริการด้านข้อมูลข่าวสาร บริการรับเรื่องส่งต่อ และบริการเบ็ดเสร็จ
ประกอบด้วย การต่อ พ.ร.บ. ประกันภัยรถยนต์
การเปลี่ยนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์แบบใหม่ การจองตั๋วเครื่องบินด้วยระบบ
e-ticketing นอกจากนั้นยังมีบริการเชิงรุกแบบใหม่ที่เริ่มดำเนินการในปี
2552 นี้ คือ บริการส่ง SMS แจ้งเตือนการชำระภาษีรถยนต์ประจำปี
สำหรับจำนวนผู้มาใช้บริการในปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ประมาณวันละ 300 คน
นอกจากบริการงานคมนาคมแล้ว ในศูนย์ฯ ยังมีบริการ Internet ฟรี
รวมไปถึงศูนย์บริการร่วมอิเล็กทรอนิกส์ทาง www.mot.go.th ที่สามารถใช้บริการได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
สุคนธ์ทิพย์ (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ