กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัด
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553
กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ซึ่ง
ได้มีการชี้แจงกรอบการประเมินผลฯ รวมทั้งการเจรจาความเหมาะสมของตัวชี้วัด
ค่าเป้าหมาย และเกณฑ์การให้คะแนนไปแล้วนั้น จะแบ่งออกเป็น 4 มิติ
เช่นเดียวกับกรอบการประเมินผลฯ ของส่วนราชการ
แต่จะแตกต่างกันในรายละเอียดของตัวชี้วัด
โดยมีประเด็นการประเมินผลและน้ำหนักในแต่ละมิติ ดังนี้
มิติที่ 1
มิติด้านประสิทธิผล
|
มิติที่ 2
มิติด้านคุณภาพ
การให้บริการ
|
มิติที่ 3
มิติด้านประสิทธิภาพ
ของการปฏิบัติราชการ
|
มิติที่ 4
มิติด้านการ
พัฒนาองค์การ
|
ร้อยละ 50
|
ร้อยละ 20
|
ร้อยละ 10
|
ร้อยละ 20
|
ผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติราชการ
|
คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของผู้กำหนดนโยบาย ความเปิดเผย โปร่งใส
|
การรักษามาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ
การบริหารงบประมาณ ประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน
การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน
|
การบริหารจัดการองค์การ
|
โดยมีรายละเอียดตัวชี้วัดในแต่ละมิติ ตามกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ดังนี้
กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553*
ประเด็นการประเมินผล การปฏิบัติราชการ |
|
น้ำหนัก (ร้อยละ)
|
มิติที่ 1 มิติด้านประสิทธิผล
|
50
|
ผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติราชการ
|
1. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการกลุ่มจังหวัด และจังหวัด
หมายเหตุ: กำหนดน้ำหนักของตัวชี้วัดกลุ่มจังหวัดรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 8
|
20
|
|
2. ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล
|
10
|
|
3. การพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต ความปลอดภัย ความมั่นคง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
|
20
|
|
3.1 ระดับความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาเพื่อลดจำนวนครัวเรือนยากจนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ.
หมายเหตุ: หากไม่มีจำนวนครัวเรือนยากจนฯ ให้นำน้ำหนักไปไว้ตัวชี้วัดที่ 3.2, 3.3 และ 3.4 ตัวชี้วัดละร้อยละ 1
|
(3)
|
|
3.2 ระดับความสำเร็จในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
|
(3)
|
|
3.3 ระดับคะแนนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของร้อยละการจับกุมผู้กระทำผิดในคดีแต่ละกลุ่มที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553
|
(4)
|
|
3.4 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
|
(4)
|
|
3.5 ระดับความสำเร็จของการรักษาความปลอดภัยโดยเน้นอุบัติเหตุจราจรทางบก
|
(3)
|
|
3.6 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนงานด้านความมั่นคง
หมายเหตุ: จังหวัดใดไม่ติดชายแดน และ/หรือชายฝั่งทะเลให้นำน้ำหนักไปไว้ตัวชี้วัดที่ 3.2, 3.3 และ 3.4 ตัวชี้วัดละร้อยละ 1
|
(3)
|
มิติที่ 2 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ
|
20
|
คุณภาพการให้บริการ
|
4. ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ
|
3
|
|
5. ร้อยละของระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อภาพลักษณ์การบริหารงานของจังหวัด
|
3
|
|
6. ระดับความสำเร็จของการพัฒนาศูนย์บริการร่วมหรือเคาน์เตอร์บริการประชาชน
|
3
|
ความพึงพอใจของผู้กำหนดนโยบาย
|
7. ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้กำหนดนโยบาย
|
3
|
ความเปิดเผย โปร่งใส
|
8. ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
|
5
|
|
9. ระดับความสำเร็จของการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนให้ได้ข้อยุติ
|
3
|
มิติที่ 3 มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ
|
10
|
การรักษามาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ
|
10. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการรักษามาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ
|
3
|
การบริหารงบประมาณ
|
11. ร้อยละของการเบิกจ่ายการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุน/ภาพรวม
|
2
|
ประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน
|
12. ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการประหยัดพลังงาน
|
1
|
การควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายใน
|
13. ระดับความสำเร็จของการควบคุมภายใน
|
2
|
14. ระดับความสำเร็จของการตรวจสอบภายใน
|
2
|
มิติที่ 4 มิติด้านการพัฒนาองค์การ
|
20
|
การบริหารจัดการองค์การ
|
15. ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
|
20
|
รวม
|
100
|
* ข้อมูล ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2552
และเช่นเดียวกับกรอบการประเมินผลฯ ของส่วนราชการ ที่ได้มีการยกเลิกการกำหนดตัวชี้วัดเกี่ยวกับ การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และร่วมติดตามตรวจสอบผลการปฏิบัติราชการ และ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ จาก
การเป็นตัวชี้วัดในมิติที่ 2
เนื่องจากได้นำมากำหนดเป็นรายละเอียดในการประเมินตามเกณฑ์คุณภาพการบริหาร
จัดการภาครัฐ (PMQA) ในมิติที่ 4 แล้ว ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน
และลดภาระของจังหวัด
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 2 - 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา สำนักงาน ก.พ.ร.
ได้จัดให้มีการชี้แจงรายละเอียดตัวชี้วัดตามกรอบการประเมินผลการปฏิบัติ
ราชการของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ขึ้น
โดยผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกลของกระทรวงมหาดไทย
เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับจังหวัดในการดำเนินการตามกรอบการประเมินผลการ
ปฏิบัติราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
ซึ่งการชี้แจงดังกล่าวเป็นการชี้แจงรายละเอียดของตัวชี้วัดที่หน่วยงานกลาง
เป็นเจ้าภาพ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดของจังหวัดต่าง ๆ
ได้รับทราบ
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2552 12:18:51 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2552 12:18:51