กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553
การ
ประชุมเจรจาความเหมาะสมของตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย
และเกณฑ์การให้คะแนนของตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการ
ระดับกระทรวงและกลุ่มภารกิจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ได้
เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา
และขณะนี้เหลืออีกเพียงไม่กี่ส่วนราชการการเจรจาฯ ก็จะดำเนินการเสร็จสิ้น
โดยการประเมินผลการปฏิบัติราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 นี้
ยังคงแบ่งมิติการประเมินผลออกเป็น 4 มิติเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา
แต่น้ำหนักและประเด็นการประเมินผลจะแตกต่างไปจากเดิม โดยเฉพาะในมิติที่ 1
มิติที่ 2 และ มิติที่ 3 โดยมีประเด็นการประเมินผลและน้ำหนักในแต่ละมิติ
ดังนี้
มิติที่ 1
มิติด้านประสิทธิผล
|
มิติที่ 2
มิติด้านคุณภาพ
การให้บริการ
|
มิติที่ 3
มิติด้านประสิทธิภาพ
ของการปฏิบัติราชการ
|
มิติที่ 4
มิติด้านการ
พัฒนาองค์การ
|
ร้อยละ 50
|
ร้อยละ 20
|
ร้อยละ 10
|
ร้อยละ 20
|
ผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติราชการ
|
ความพึงพอใจ
การป้องกันการทุจริต
|
การรักษามาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ
การบริหารงบประมาณและการจัดทำต้นทุนต่อหน่วย ประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน
การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน
การพัฒนากฎหมาย
|
การบริหารจัดการองค์การ
|
โดยมี รายละเอียดตัวชี้วัดในแต่ละมิติ ตามกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ดังนี้
กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553*
ประเด็นการประเมินผล
การปฏิบัติราชการ
|
ตัวชี้วัด
|
น้ำหนัก (ร้อยละ)
|
มิติที่ 1 มิติด้านประสิทธิผล
|
50
|
ผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติราชการ
|
1. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงและนโยบายสำคัญ/พิเศษของรัฐบาล
|
25
|
|
1.1 ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง
|
(8)
|
|
1.2 ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ/พิเศษของรัฐบาล
|
(5)
|
|
1.3 ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกันระหว่างกระทรวง
หมายเหตุ: กรณีที่กระทรวงใดไม่มีตัวชี้วัด 1.3 ให้นำน้ำหนักไปรวมในตัวชี้วัดที่ 1.1
|
(10)
|
|
1.4 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาศูนย์บริการร่วมหรือเคาน์เตอร์บริการประชาชน
|
(2)
|
|
2. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของกลุ่มภารกิจ
หมายเหตุ: กรณีไม่มีกลุ่มภารกิจให้นำน้ำหนักไปรวมไว้ที่ตัวชี้วัดที่ 1.1 และตัวชี้วัดที่ 3 ตัวชี้วัดละ ร้อยละ 5
|
10
|
|
3.
ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก
ในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการ/ภารกิจหลัก/เอกสารงบประมาณรายจ่ายฯ
ของส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า
หมายเหตุ:ยกเว้น ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
หรือรัฐมนตรีฯ หรือส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายก หรือกระทรวงฯ
ซึ่งไม่ต้องประเมินผลตามประเด็นการวัดผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติราชการ
ของกระทรวงและกลุ่มภารกิจ มีน้ำหนักของตัวชี้วัดที่ 3 เป็นร้อยละ 45
|
15
|
|
3.1 ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการ/ภารกิจหลัก
|
(10)
|
|
3.2 ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามเป้าหมายผลผลิตของส่วนราชการ (ตามเอกสารงบประมาณรายจ่าย)
หมายเหตุ:กรณีมีตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการที่สะท้อนผลสำเร็จตามเป้าหมายผลผลิตได้
ครบถ้วนแล้ว ไม่ต้องวัดผลตามตัวชี้วัดนี้ โดยให้นำนำหนักไปรวมในตัวชี้วัด 3.1
|
(5)
|
|
3.3 ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนระบบการตรวจราชการเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติราชการ
หมายเหตุ:กำหนดเป็นตัวชี้วัดภาคบังคับของสำนักงานปลัดกระทรวงทุกกระทรวงที่มีผู้ตรวจ
ราชการประจำประทรวง
โดยรายละเอียดตัวชี้วัดให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยสำนักงานปลัดสำนักนายก
รัฐมนตรี กำหนดน้ำหนักของตัวชี้วัดเท่ากับ 2 และปรับลดน้ำหนักตัวชี้วัดที่
3.1 ลงจากร้อยละ 10 เหลือ ร้อยละ 8
|
(2)
|
มิติที่ 2 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ
|
20
|
ความพึงพอใจ
|
4.1 ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ
|
6
|
|
4.2 ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้กำหนดนโยบาย
|
3
|
|
4.3 ระดับความสำเร็จในการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนจนได้ข้อยุติ
|
5
|
การป้องกันการทุจริต
|
5. ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
|
6
|
มิติที่ 3 มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ
|
10
|
การรักษามาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ
|
6. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการรักษามาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ
|
2
|
การบริหารงบประมาณและการจัดทำต้นทุนต่อหน่วย
|
7.1 ร้อยละของอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุน/ภาพรวม
|
2
|
7.2 ระดับความสำเร็จของการจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต
|
1
|
ประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน
|
8. ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการประหยัดพลังงาน
|
1
|
การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน
|
9.1 ระดับความสำเร็จของการควบคุมภายใน
|
1.5
|
9.2 ระดับความสำเร็จของการตรวจสอบภายใน
|
1.5
|
การพัฒนากฎหมาย
|
10. ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนพัฒนากฎหมายของส่วนราชการ
หมายเหตุ: ส่วนราชการที่ไม่มีแผนพัฒนากฎหมายที่จะต้องดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ไม่ต้องประเมินผลตามตัวชี้วัดนี้ ให้นำไปรวมไว้ในตัวชี้วัดที่ 9.1 และ 9.2 ตัวละ ร้อยละ 1
|
1
|
มิติที่ 4 มิติด้านการพัฒนาองค์การ
|
20
|
การบริหารจัดการองค์การ
|
11. ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
|
20
|
รวม
|
100
|
* ข้อมูล ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2552
สำหรับตัวชี้วัดเรื่อง การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และร่วมติดตามตรวจสอบผลการปฏิบัติราชการ และ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการซึ่งเคยเป็นตัวชี้วัดในมิติที่ 2 นั้น
ได้ถูกยกเลิกไปในการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553
เนื่องจากได้นำมากำหนดเป็นรายละเอียดในการประเมินตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ในมิติที่ 4 แล้ว ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน และลดภาระของส่วนราชการ