Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2552 / ตุลาคม / นปร. ฟังบรรยายจากธนาคารโลกเปิดมุมมองม่ การบริหารงานแบบมุ่งผลัมฤทธิ์

นปร. ฟังบรรยายจากธนาคารโลกเปิดมุมมองม่ การบริหารงานแบบมุ่งผลัมฤทธิ์

นปร. ฟังบรรยายจากธนาคารโลก
เปิดมุมมองใหม่ การบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์


alt


alt          เมื่อ วันที่ 29 กันยายน 2552 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิของธนาคารโลก (World Bank) มาบรรยายให้นักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ รุ่นที่ 3 ได้รับทราบเกี่ยวกับ บทบาทของธนาคารโลกในการพัฒนาระบบราชการ The Role of World Bank altและมุมมองในระดับสากลเกี่ยวกับการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ International Perspective on RBM นำโดย Mr.David Shand, Financial Management Consultant,World Bank  พร้อมด้วย ดร.ชนินทร์ มโนภินิเวศ Infrastructure Economist, World Bank และ คุณณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล Economist, World Bank โดยมี คุณกิตติยา คัมภีร์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. ให้การต้อนรับ ณ สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ชั้น 13 อาคารวิทยกิตติ์ สยามสแควร์

      

alt          ดร.ชนินทร์ มโนภินิเวศ Infrastructure Economist,World Bank และ คุณณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล Economist, World Bank ได้กล่าวถึงบทบาทของธนาคารโลกว่า

          ในระยะหลายปีที่ผ่านมา ธนาคารได้เรียนรู้ว่าการพัฒนาต่างๆ มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการออกแบบโดยเจ้าของประเทศเพื่อให้เหมาะกับสภาพ การณ์ในแต่ละประเทศ การออกแบบจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนั้น ไม่สามารถตอบสนองต่อปัญหาได้ทั้งหมด ธนาคารโลกจึงได้นำเงินและความรู้มาใช้เพื่อสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ และพัฒนาสังคม ตลอดจนช่วยเหลือประเทศต่างๆ ให้ก้าวไปสู่จุดหมายที่วางไว้ในการลดภาวะความยากจน ตลอดจนปรับปรุงการบริการสังคม

          ปัจจุบันนี้ ธนาคารโลกสาขาในประเทศไทย ได้จัดโครงสร้างการทำงานในลักษณะ Sector Units ดังแผนภาพ

alt


          ความร่วมมือในการพัฒนาประเทศ (Country Development Partnerships: CDP)

          ความร่วมมือในการพัฒนาประเทศได้เริ่มดำเนินการในปี 2543 เป็นการร่วมมือบนฐานความรู้โดยใช้ระยะเวลา 3 ปี เพื่อดำเนินการในเรื่องหลักๆ ของการพัฒนาประเทศ แผนงานความร่วมมือในการพัฒนาประเทศ (CDP) ของแต่ละประเทศจะเกิดจากรัฐบาลของประเทศนั้น โดยการสนับสนุนจากผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งธนาคารโลกและองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศอื่นๆ ความร่วมมือในการพัฒนาประเทศเป็นเครื่องมือในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชา สังคม ภาคธุรกิจ เอกชนและภาคี การพัฒนาอื่นๆ ในการกำหนดนโยบายการดำเนินงานและกระบวนการติดตาม

          ปัจจุบันธนาคารโลกมีแผนความร่วมมือในการพัฒนาประเทศแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ คือ
          1. Social Protection: การเฝ้าระวังทางสังคม
          2. Financial & Corporate Sector Competitiveness: การสร้างความแข่งขันทางการเงิน
          3. Public Sector Reform and Governance: การสนับสนุนการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และการปฏิรูประบบการบริหารงานภาครัฐ
          4. Poverty Analysis and Monitoring: การติดตามและการวิเคราะห์ความยากจน 
          5. Environment: สิ่งแวดล้อม
          6. Basic Education Reform: การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          7. Infrastructure: โครงสร้างพื้นฐาน
          8. Health: สุขภาพ


          หลังจากนั้น Mr.David Shand, Financial Management Consultant, World Bank ได้บรรยายถึงมุมมองในระดับสากลเกี่ยวกับการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ International Perspective on RBM 

          โดย การบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ หรือ Result Based Management (RBM)เป็นวิธีการบริหารที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์หรือผลการปฏิบัติงานเป็นหลัก โดยมีการวัดผลการปฏิบัติงานด้วยตัวชี้วัดอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ทำให้ผู้บริหารทราบผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานเป็นระยะๆ และสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที เป็นการควบคุมทิศทางการดำเนินงานให้มุ่งสู่วิสัยทัศน์ของหน่วยงาน

alt

alt          ผลผลิต (Outputs)หมายถึง งาน บริการ หรือกิจกรรมที่เจ้าหน้าที่ทำเสร็จสมบูรณ์พร้อมส่งมอบให้ประชาชนผู้รับบริการ ผลผลิตเป็นผลงานที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมโดยตรง

          ผลลัพธ์ (Outcomes) หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นตามมา ผลกระทบ หรือเงื่อนไขที่เกิดจากผลผลิต ผลลัพธ์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับประชาชนผู้รับบริการและสาธารณชน

          ดังนั้น ผลสัมฤทธิ์ คือ งาน บริการ หรือกิจกรรมที่เกิดจากการทำงานได้ผลผลิต (Outputs) ตามเป้าหมายและเกิดผลลัพธ์ (Outcomes) ตรงตามวัตถุประสงค์ กล่าวคือ ผลผลิตสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริงหรือเป็นที่พึงพอใจ เช่น ปลูกบ้านได้ 1 หลัง (Outputs) บ้านหลังดังกล่าวน่าอยู่ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก (Outcomes) หรือ การซ่อมถนนได้ 5 กิโลเมตร เป็น ผลผลิต (Outputs) ถนนสายนั้นทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทางจากการซ่อมแซม เป็น ผลลัพธ์ (Outcomes)

          ศัพท์ทางวิชาการที่ใช้เรียกการบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ หน่วย งานทางวิชาการ รวมทั้งนักการศึกษาหลายท่าน ได้บัญญัติศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการบริหารงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ไว้อย่างหลากหลาย ได้แก่
          - Result Based Management
          - Management by objectives
          - Performance management
          - Performance based budgeting  (ระบบงบประมาณที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์)
          - Total quality management: TQM  (การ บริหารคุณภาพที่ทุกคนมีส่วนร่วม  (TOTAL QUALITY MANAGEMENT: TQM) คือ การบรรลุถึงคุณภาพโดยรวม ด้วยการที่ทุกคนในองค์กรยึดมั่นผูกพัน และปฏิบัติตามอย่างจริงจัง)

          ภายใต้กรอบแนวคิดพื้นฐาน คือ
          - ผู้จัดการในทุกระดับรู้ว่าอะไรคือผลลัพธ์ที่พวกเขาคาดหวัง
          - การจัดสรรในเรื่องเงินทุนสนับสนุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของผลการปฏิบัติงานในจำนวนที่เหมาะสม
          - การบรรลุถึงผลสำเร็จของการปฏิบัติงานสามารถกระทำได้
          - ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบรรลุถึงผลสำเร็จของงานสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในการ เพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน และการรับผิดรับชอบ

alt       alt

          องค์ประกอบที่สำคัญของการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ได้แก่

          1. แผนเชิงกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการ (Strategic and Operational Plan) 
              - ต้องเป็นเอกสารทางการเมือง และผ่านการเห็นชอบจากกระบวนการทางการเมือง
              - ควรเข้าใจได้ง่าย แต่ต้องไม่ละเอียดถี่ถ้วนจนเกินไป
              - สมเหตุสมผล และสามารถที่จะจับจ่ายได้ (วิเคราะห์ในเชิงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น)
              - แผนของแต่ละระดับจะต้องสอดคล้องกัน และถูกบอกกล่าวถึงทุกๆ คนทั่วทั้งองค์การ รวมทั้งมีการกำหนดถ่ายโอนลงมาเป็นวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดที่สามารถวัดผล ของการดำเนินงานได้

          2. การประเมินผล (Evaluation) 
              - จำเป็นที่ต้องมีจำนวนของข้อมูลในจำนวนที่มากเพียงพอที่จะใช้ประกอบการในการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ของงาน
              - เป็นการประเมินตนเองอย่างอิสระ
              - อาจจะกระทำก่อน และ/หรือ หลังก็ได้
              - การทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผล ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญมาก

alt       alt

          สำหรับ ในประเทศไทย การบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ถือเป็นกิจกรรมสำคัญของแผนการปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจและวิธีการบริหารงานของภาครัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 3/1 ซึ่งคำนึงถึงประชาชนและผลสัมฤทธิ์ของงาน เพื่อให้การทำงานของหน่วยงานหรือโครงการมุ่งเน้นผลลัพธ์ของงานมากกว่าเน้น ปัจจัยนำเข้ากระบวนการทำงานและกฎระเบียบที่เคร่งครัด โดยจะมีการวัดผลอย่างเป็นรูปธรรม

          การบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ให้ความสำคัญกับการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมายที่ชัดเจน และการกำหนดผลผลิต ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกัน รวมถึงมีการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ชัดเจนในการวัดความก้าวหน้าใน การปฏิบัติงานเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีความรับผิดชอบต่อประชาชน มีการนำกรอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ Balance Scorecard มาใช้เป็นตัวกำหนดปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ และตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก (KPI) เพื่อป้องกันความเบี่ยงเบน และช่วยให้มีการพิจารณาองค์กรจากทุกมุมมองอย่างครบถ้วน โดยมีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คุณภาพการให้บริการ และการพัฒนาองค์การ

          ประสบการณ์จากต่างประเทศของการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

alt          การ บริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์จะมีการผูกโยงเข้ากับกระบวนการทางการเงินการ คลัง (Budget Process) กล่าวคือ ระบบงบประมาณควรมีความคล่องตัว ยืดหยุ่นเพื่อความสะดวกในการผลักดันให้การบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ประสบความสำเร็จในการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ไม่ได้มีความเชื่อมโยงกับระบบการจัดสรรงบ ประมาณให้แก่หน่วยงาน ในทางตรงกันข้าม เงินรางวัล หรือโบนัสต่างหาก คือสิ่งที่นำมาเชื่อมโยงกับการบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ 

          นอกจากนี้ การเทียบเคียงผลสำเร็จของงาน (Benchmark) เป็นสิ่งที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก อาทิ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น ต่างให้การยอมรับ และนำมาใช้คู่ขนานไปกับการบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ 

          กล่าวโดยสรุป การ บริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลแก่องค์การ โดยมีการกำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จ และตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการวัดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คุณภาพการให้บริการ และการพัฒนาองค์การ ช่วยให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีทิศทาง มีระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะๆ ทำให้ทราบผลการปฏิบัติงานเมื่อเทียบกับแผนหรือเป้าหมาย สามารถรายงานความก้าวหน้า ผลการปฏิบัติงานต่อผู้บริหาร จึงสามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที หากผลการปฏิบัติงานไม่น่าพึงพอใจ ทำให้ผู้บริหารมีโอกาสปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลา

alt


โชติมา (สำนักนวัตกรรมฯ) /สรุปเนื้อหาการบรรยาย
อักสรณ์ (สลธ.) / ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2552 12:28:09 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2552 12:28:09
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th