เดินหน้า...พัฒนาราชการไทย บริการอย่างไร ถูกใจประชาชน
รายการเดินหน้า...พัฒนาราชการไทย ที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2552 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) ได้นำเสนอในตอน บริการอย่างไร ถูกใจประชาชน โดยเชิญผู้บริหารจาก 2 หน่วยงานที่ได้รับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน ประจำปี 2551 คือ พ.ต.อ.วิศาล พันธุ์มณี ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลบุคคโล และ นพ.สันติ ลาภเบญจกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลำสนธิ มาร่วมสนทนาในรายการ

ใน ทุกๆ ปี สำนักงาน ก.พ.ร. จะมอบรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน แก่หน่วยงานภาครัฐที่ได้มีการพัฒนาปรับปรุงงานของตนเองให้ดียิ่งๆ ขึ้น และผลงานนั้นจะถูกพิจารณาตัดสินตามเกณฑ์จากคณะกรรมการ ล่าสุดในปี 2551 มี 46 หน่วยงาน ที่ได้รับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชนในประเภทต่างๆ รายการเดินหน้าพัฒนาราชการไทย ได้รับเกียรติจาก 2 หน่วยงาน ที่ไม่จำเป็นแล้วประชาชนคงไม่อยากจะมาขอรับบริการสักเท่าไร 2 หน่วยงานที่ว่า คือ โรงพยาบาล และ โรงพักหรือสถานีตำรวจ ซึ่ง คุณศิริบูรณ์ ณัฐพันธ์ พิธีกรของรายการเดินหน้า...พัฒนาราชการไทย ได้สนทนากับ พ.ต.อ.วิศาล พันธุ์มณี ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลบุคคโล และ นพ.สันติ ลาภเบญจกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลำสนธิ จังหวัดลพบุรี ถึงแนวคิดในการพัฒนาปรับปรุงงานในหน่วยงาน
พ.ต.อ.วิศาล พันธุ์มณี ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลบุคคโล กล่าวถึง การพัฒนาสถานีตำรวจว่า การพัฒนาสถานีตำรวจเป็นนโยบายเร่งด่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเช่นกัน ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินการของสำนักงาน ก.พ.ร. คือ การสนับสนุนให้หน่วยงานพัฒนาการให้บริการที่มุ่งเน้นความพึงพอใจของประชาชน การให้บริการของตำรวจไม่เหมือนการบริการของหน่วยราชการอื่น นั่นคือ มีทั้งการให้บริการนอกสถานี เช่น การตรวจตราความสงบเรียบร้อย การจับกุม และการให้บริการประชาชนในสถานีที่ประชาชนมาติดต่อ รับเรื่องร้องเรียนต่างๆ
การ ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงที่สำคัญจะต้องเริ่มจากคนก่อน ส่วนเรื่องงบประมาณ มีการร่วมมือร่วมใจจากเพื่อนพ้องและคนในชุมชน เช่น จัดโบว์ลิ่งการกุศล ตั้งกองทุนช่วยเหลือข้าราชการตำรวจ ส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ในสถานีตำรวจก็จะมีการเปลี่ยนให้ทันสมัย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ มีการให้บริการประชาชนที่มารับบริการ อย่างเช่น เสริฟน้ำ มีอินเทอร์เน็ตให้ใช้ นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ในสถานีให้สวยงาม เช่น ทำโรงรถ ทาสีตึกให้สวยงาม
สำหรับ ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการนั้น จากการสอบถามหรือการออกแบบสอบถาม ซึ่ง พ.ต.อ.วิศาล คิดว่าไม่สามารถทำให้ทุกฝ่ายพึงพอใจได้ทั้งหมด เนื่องจากการบริการของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นการบริหารข้อขัดแย้ง ข้อพิพาท แต่อย่างไรก็ตาม ก็ได้มีความพยายามผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างฝ่ายต่างๆ ตลอดจนให้ความสำคัญกับการประชุมชี้แจงพนักงานเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่เสมอ นอกจากนั้นยังมีการเชิญวิทยากรจากภายนอกมาอบรมเพื่อให้เจ้าหน้าที่มี จิตบริการด้วย
สถานีตำรวจนครบาลบุคคโลมีโครงการส่งเสริมสุขภาพให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยเช่น กัน คือ มีการประสานการดำเนินงานปรับปรุงพัฒนาต่างๆ ก็มีปัญหาบ้าง อย่างที่ สน.บุคคโล ปัญหาที่พบคือเรื่องคน เพราะวัฒนธรรมองค์กรโดยเฉพาะข้าราชการตำรวจที่อยู่มานานๆ แต่ก็พยายามสร้างความเข้าใจ สร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้น
สำหรับ แนวคิดในการพัฒนาต่อไป ทางสถานีตำรวจนครบาลบุคคโลมีแนวคิดในเรื่องทำอย่างไรในการป้องกันเหตุ การบริการนอก สน. ให้คนเกิดความวางใจในความปลอดภัย ในช่วงนี้ที่เป็นช่วงปิดเทอมก็อยากให้เด็กในชุมชนมาอบรมที่สถานี ให้เด็กมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับตำรวจ เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุม การทำงานในเชิงรุกโดยเอาชุมชนเป็นแนวร่วม
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลำสนธิ นพ.สันติ ลาภเบญจกุล กล่าวว่า โรงพยาบาลลำสนธิได้รับรางวัลจาก ก.พ.ร. คือ รางวัลการให้บริการรักษาผู้ป่วยนอก ซึ่งสามารถลดเวลาและขั้นตอน ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องใช้บัตร ยกเลิกกระบวนการที่ไม่จำเป็นลง โรงพยาบาลลำสนธิเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก มีแพทย์ 3 ท่าน รับผิดชอบประชาชนในพื้นที่ประมาณ 3 หมื่นคน ซึ่งผู้อำนวยการคือ นพ.สันติ ลาภเบญจกุล ได้ทำงานที่นี่มาประมาณ 7 ปี และได้ดำเนินการปรับปรุงพัฒนาโรงพยาบาลในด้านต่างๆ เช่น ปรับสภาพแวดล้อมโรงพยาบาลให้มีบรรยากาศที่ผ่อนคลายสร้างบรรยากาศให้คล้าย รีสอร์ท มีการสร้างเสริมสุขภาพโดยปรับเปลี่ยนพื้นที่เป็นสถานที่ออกกำลังกาย มีบริการอื่นๆ เช่น ฟิตเนสท์ สนามฟุตซอล สปา นวดเพื่อบำบัด และยังมีโครงการที่คิดจะทำในอนาคตอีกหลายอย่าง และถึงแม้ว่าการดำเนินการพัฒนาต่างๆ จะเป็นการเพิ่มภารกิจให้กับบุคลากร แต่ก็เป็นการลดภาระหน้าที่ด้วย เพราะการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนเป็นการลดอัตราการเจ็บป่วยไป ด้วยในตัว โรงพยาบาลลำสนธิมีการให้บริการเชิงรุก เนื่องจากสภาพในพื้นที่มีผู้ป่วยที่เป็นคนพิการ หรือชาวบ้านที่ไม่สะดวกในการเดินทาง ทำให้เข้าไม่ถึงบริการซึ่งถ้าไม่มีการแก้ปัญหาก็อาจเกิดภาวะพิการซ้ำซ้อน หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง จึงมีการให้บริการเชิงรุกเข้าไปให้บริการยังพื้นที่เพื่อให้ตรงกับสภาพความ เป็นจริง
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกล่าวต่อว่า สำหรับการให้บริการของโรงพยาบาล ไม่ได้มีแต่เพียงด้านการรักษาอย่างเดียว แต่จะเอาปัญหาของผู้ป่วยเป็นที่ตั้ง หลังจากนั้นก็ขอรับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเอง และจากทุกภาคส่วนในอำเภอ อย่างเช่น บางกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทำให้พิการทางทีมก็ไปให้บริการเชิงรุกเข้าไปช่วย เหลือถึงบ้าน เช่น การไปปรับสภาพห้องน้ำให้ มีนักกายภาพไปสอนวิธีการออกกำลังกายที่บ้าน หรือมีการผลิตเตียงสำหรับคนพิการให้ผู้ป่วยนำไปใช้ เป็นต้น ซึ่งแม้ว่าเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจะน้อย แต่โชคดีที่ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ตั้งแต่สาธารณสุขจังหวัด นายอำเภอ หรือ อบต. มีกระบวนการที่มาร่วมมือกัน นอกจากนั้นก็มีทีมงานที่จะออกไปเยี่ยมผู้ป่วย เมื่อได้ไปเห็นแล้วก็เกิดหัวใจที่อยากช่วยเหลือ สิ่งเหล่านั้นเป็นแรงผลักดันให้เกิดกระบวนการพัฒนางานต่างๆ ขึ้น รวมถึงชาวบ้านที่อำเภอลำสนธิก็มาร่วมมือร่วมใจกัน
สำหรับ ปัญหาอุปสรรคนั้น ช่วงแรกๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงก็ย่อมมีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งผู้อำนวยการก็ใช้วิธีการบริหารจัดการโดยการพูดกับเจ้าหน้าที่ของโรง พยาบาล อธิบายว่าการทำอย่างนี้จะเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีอย่างไร และลงมือทำด้วย พอเจ้าหน้าที่และคนในพื้นที่เห็นประโยชน์ก็ให้ความร่วมมือ ถึงแม้จะไม่ได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น และยังเป็นการเพิ่มภาระหน้าที่ แต่ก็ยังมีสิ่งที่ประเมินค่าไม่ได้ในการที่ได้ช่วยเหลือผู้ป่วยที่เดือดร้อน ปัญหาที่มีตอนนี้คือ การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งควรจะมีการให้บริการได้อย่างครอบคลุม สำหรับแผนงานในอนาคตคือ การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการช่วยดูแลคนพิการร่วมกับทางโรงพยาบาล นอกจากนั้น โรงพยาบาลมีการประเมินผลโดยมีการสอบถามอย่างต่อเนื่องไปยังหมู่บ้านต่างๆ สำหรับสิ่งที่ชาวบ้านอยากได้คือ ความเอื้ออาทร น้ำใจไมตรี ซึ่งทางโรงพยาบาลก็ทำได้ระดับหนึ่งและจะพยายามทำต่อไป

ท้าย ที่สุดคำตอบจากคำถามว่า บริการอย่างไรถูกใจประชาชน ก็สามารถหาได้จากการพูดคุยกับแขกรับเชิญทั้ง 2 ท่านนั่นเอง นอกจากนี้ เรายังได้เห็นถึงความจริงใจ ความตั้งใจ ความเห็นแก่ประโยชน์ของประชาชนอีกด้วย
ธารทิพย์ & สุคนทิพย์ (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 24 กรกฎาคม 2552 08:59:53 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 24 กรกฎาคม 2552 08:59:53