Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2551 / มิถุนายน / แนวทางการตรวจประเมินผลการดำเนินการตามตัวชี้วัด PMQA ของส่วนราชการ

แนวทางการตรวจประเมินผลการดำเนินการตามตัวชี้วัด PMQA ของส่วนราชการ

 แนวทางการตรวจประเมินผลการดำเนินการตามตัวชี้วัด PMQA ของส่วนราชการ
          

เมื่อช่วงกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สำนักงาน ก.พ.ร. โดยสำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม ได้มีหนังสือแจ้งเวียนไปยังส่วนราชการและจังหวัด เกี่ยวกับ แนวทางการตรวจประเมินผลการดำเนินการตามตัวชี้วัดที่ 12 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 เืพื่อให้ส่วนราชการและจังหวัดได้รับทราบถึงแนวทางการตรวจประเมินผล รอบ 12 เดือน ที่ได้มีการปรับปรุง เืพื่อให้หน่วยงานสามารถดำเนินการตามตัวชี้วัดดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่เป็นการสร้างภาระให้กับหน่วยงาน นอกจากนี้ยังมีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเตรียมหลักฐานสำคัญ เพื่อประกอบผลการประเมินองค์กรด้วยตนเอง ซึ่งจะให้ดำเนินการเฉพาะในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 อีกด้วย โดยแนวทางดังกล่าวจะำไม่กระทบกับเกณฑ์การให้คะแนนที่กำหนดไว้เดิม

           ในกรณีของ ส่วนราชการระดับกรมนั้น มี แนวทางการตรวจประเมินผล รอบ 12 เดือน ดังนี้

           1. ตรวจประเมินตามตัวชี้วัดเดิมที่นำมาผนวกกับตัวชี้วัด PMQAโดยใช้แนวทางการประเมินตามปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ซึ่งบริษัททริสเป็นผู้ตรวจประเมิน ประกอบด้วย

                1.1 หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ ได้แก่ ข้อคำถามที่ 6 เรื่องการบริหารความเสี่ยง และ ข้อคำถามที่ 8 เรื่องการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายของระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล

                1.2 หมวด 4 การวัดการวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ทุกข้อคำถาม ได้แก่ ข้อคำถามที่ 1 - 8 และ 10 เรื่องการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ และ ข้อคำถามที่ 9 เรื่องการจัดการความรู้

           2. ตรวจประเมินตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐหรือ PMQA โดยพิจารณาจาก ADLI ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

                2.1 การตรวจประเมินภาคบังคับ จำนวน 1 หมวด สำหรับส่วนราชการ ดังนี้
                       1) กรมด้านบริการ (จำนวน 115 ส่วนราชการ) จะตรวจใน หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ต้องให้ความสำคัญกับการส่งมอบบริการที่ดีมีคุณภาพ ให้กับประชาชนผู้รับบริการ
                       2) กรมด้านนโยบาย (จำนวน 25 ส่วนราชการ) จะตรวจใน หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ เนื่องจากส่วนราชการในกลุ่มนี้ควรมีกระบวนการในการจัดทำแผนที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งต่อความสำเร็จในการดำเินินงานของส่วนราชการ
                     ทั้งนี้  สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จำแนกรายชื่อของกรมด้านบริการและกรมด้านนโยบายส่งไปพร้อมกับหนังสือเวีัยนแล้ว

                2.2 การตรวจประเมินภาคสมัครใจ จำนวน 1 หมวด ซึ่งจะให้ส่วนราชการคัดเลือกหมวดที่เห็นว่าเหมาะสม (ยกเว้นหมวด 4 การวัดการวิเคราะห์ และการจัดการความรู้) มาให้สำนักงาน ก.พ.ร. ตรวจประเมิน โดยส่วนราชการจะต้องกรอกแบบฟอร์มที่สำนักงาน ก.พ.ร. ส่งไปใ้ห้ เพื่อแจ้งหมวดที่ประสงค์จะให้ไปตรวจประเมิน และส่งกลับมาที่สำนักงาน ก.พ.ร. ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2551 หากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้ว ส่วนราชการใดไม่แจ้งความประสงค์ สำนักงาน ก.พ.ร. จะเป็นผู้คัดเลือกหมวดที่จะตรวจประเมินให้กับส่วนราชการนั้นเอง

                ทั้งนี้ ในการตรวจประเมินทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจนั้น จะตรวจประเมินในข้อคำถามที่เป็นจุดแข็งและโอกาสในการปรับปรุง โดยขอให้ส่วนราชการเรียงลำดับความสำคัญของจุดแข็ง ในแบบฟอร์มรายงานจุดแข็งและโอกาสในการปรับปรุง ตามคู่มือคำอธิบายตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (หน้า 54) เนื่องจากการตรวจประเมินจะมุ่งเน้นที่จุดแข็งและโอกาสในการปรับปรุงที่มีความสำคัญในลำดับต้น ๆ เท่านั้น

           
สำหรับ แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเตรียมหลักฐานสำคัญประกอบผลการประเมินองค์กรด้วยตนเอง ของส่วนราชการซึ่งเป็นการดำเนินการตามตัวชี้วัดที่ 12.3 (2) นั้น มีรายละเอียด ดังนี้

           หลักฐานประกอบการดำเนินการของแต่ละหมวดนั้นมีจำนวนทั้งสิ้น 40 หลักฐาน โดยหลักฐานส่วนใหญ่ จำนวน 35 หลักฐาน เป็นสิ่งที่ส่วนราชการดำเนินการและมีอยู่แล้ว โดยขอให้ส่วนราชการตรวจสอบหลักฐานดังกล่าวและระบุว่ามีหรือไม่หลักฐานดังกล่าวลงในแบบฟอร์ม (แบบฟอร์มที่ 7) โดยไม่ต้องส่งหลักฐานมาที่สำนักงาน ก.พ.ร.

           สำหรับหลักฐานอีก 5 หลักฐาน ได้แก่ รายการที่ 5, 20, 21, 39 และ 40 ซึ่งส่วนราชการส่วนใหญ่ยังไม่ได้ดำเนินการนั้น สำนักงานได้วางระบบสนับสนุนการดำเนินการในการจัดเตรียมหลักฐานดังกล่าวให้กับส่วนราชการ ดังนี้

           รายการที่ 5 มาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม ขององค์กร : สำนักงาน ก.พ.ร. อยู่ระหว่างการเตรียมการเพื่อจัดอบรมและจะดำเนินการร่วมกับส่วนราชการต่าง ๆ ให้เสร็จในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคม 2551

           รายการที่ 20 ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ (กรณีส่วนราชการที่สำนักงานสถิติแห่งชาติไม่ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลให้) และ รายการที่ 21 ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (สำหรับทุกส่วนราชการ) : ส่วนราชการสามารถใช้วิธีใดก็ได้ตามความเหมาะสม ที่ไม่เป็นการสร้างภาระและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เช่น การสัมภาษณ์ การประชุมระดมความคิดเห็น การใช้แบบสำรวจที่ส่วนราชการดำเนินการเอง เป็นต้น

           รายการที่ 39 และ 40 คู่มือการปฏิบัติงานของกระบวนการที่สร้างคุณค่า อย่างน้อย 2 กระบวนการ และ คู่มือการปฏิบัติงานของกระบวนการสนับสนุน อย่างน้อย 2 กระบวนการ : ส่วนราชการสามารถศึกษาการจัดทำคู่มือดังกล่าว จากเอกสารคู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) ซึ่งหนึ่งในเป็นเอกสารของโครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ชุดเครื่องมือการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Learning Tool Kits) ที่สำนักงาน ก.พ.ร. ไ้ด้เผยแพร่ให้กับส่วนราชการต่าง ๆ เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 หรือดาวโหลดเอกสารได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงาน ก.พ.ร. ที่  www.opdc.go.th/oldweb/thai/leading_book_7/work_manual.pdf   นอกจากนี้ ส่วนราชการยังสามารถใช้แผนผังแสดงขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการ ที่เคยดำเนินการในการลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน มาใช้ประกอบการจัดทำคู่มือดังกล่าวได้อีกด้วย

           สำหรับรายละเอียดแนวทางการตรวจประเมินผลการดำเนินการตามตัวชี้วัดที่ 12 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของส่วนราชการระดับกรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ตามหนังสือแจ้้งเวียนของสำนักงาน ก.พ.ร. นั้น สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ คลิกที่นี่ เพื่อดาวน์โหลดหนังสือเวียนดังกล่าว


วสุนธรา (สลธ) / จัดทำ
ขนิษฐา (สำนักนวัตกรรมฯ) / ข้อมูล

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 8 กันยายน 2552 10:18:17 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 8 กันยายน 2552 10:18:17
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th