นอกจากข้าราชการและลูกจ้างประจำจะได้รับการจัดสรรเงินรางวัล จากเงินรางวัลที่หน่วยงานได้รับ ตามผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 แล้ว คณะรัฐมนตรียังมีมติเห็นชอบตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ โดยให้นำเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้บริหาร ร้อยละ 50 ของผู้บริหารที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษในแต่ละหน่วยงาน มาสมทบจัดสรรเป็นเงินรางวัลให้แก่ผู้ปฏิบัติงานอีกด้วย
สำหรับที่มาของเงินรางวัลในส่วนนี้ มาจากที่ประชุม ก.พ.ร. เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2550 ซึ่งได้มีมติเห็นชอบ หลักเกณฑ์และแนวทางการจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้บริหารและการจัดสรรเงินรางวัลของส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษา และจังหวัด ที่มีการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 โดยกำหนดให้จัดสรรเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้บริหาร แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ร้อยละ 50 ของเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้บริหาร จ่ายให้กับผู้บริหารที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้บริหาร เป็นรายบุคคล
ส่วนที่ 2 ร้อยละ 50 ของเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้บริหาร ให้นำมาสมทบเพื่อจัดสรรเป็นเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำในสังกัดส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษา และจังหวัด เพิ่มเติม โดยมีแนวทางการจัดสรร ดังนี้
1. เงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้บริหาร จำนวนร้อยละ 50 จากตำแหน่งปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวงที่ไม่ใช่หัวหน้ากลุ่มภารกิจ อธิบดี รองอธิบดี ผู้อำนวยการ สำนัก/กอง ผู้อำนวยการศูนย์/เขต/ภาค หรือตำแหน่งผู้บริหารเทียบเท่าที่ ก.พ.ร. กำหนด ให้นำไปสมทบเพื่อจัดสรรให้กับผู้ปฏิบัติราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนกลางที่ไปปฏิบัติราชการในภูมิภาค โดยคณะกรรมการจัดสรรเงินรางวัลประจำปี ของหน่วยงานต้นสังกัดเป็นผู้จัดสรรโดยไม่ขัดต่อหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.ร. กำหนด
2. เงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้บริหาร จำนวนร้อยละ 50 จากตำแหน่งรองปลัดกระทรวงหัวหน้ากลุ่มภารกิจ ให้นำไปจัดสรรตามสัดส่วนของผลการดำเนินงานของส่วนราชการภายใต้การบังคับบัญชา เพื่อสมทบจัดสรรให้กับผู้ปฏิบัติราชการของส่วนราชการภายใต้การบังคับบัญชา โดยคณะกรรมการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีของกรมที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาเป็นผู้จัดสรร โดยไม่ขัดต่อหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.ร. กำหนด
3. เงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้บริหาร จำนวนร้อยละ 50 จากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด และหัวหน้าหน่วยงานประจำจังหวัดที่เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค ให้นำไปสมทบเพื่อจัดสรรให้กับผู้ปฏิบัติราชการในสังกัดราชการบริหารส่วนภูมิภาคในจังหวัดนั้น โดยคณะกรรมการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีของจังหวัดเป็นผู้จัดสรร โดยไม่ขัดต่อหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.ร. กำหนด
4. เงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้บริหาร จำนวนร้อยละ 50 จากตำแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี ของสถาบันการศึกษา ให้นำไปสมทบเพื่อจัดสรรให้กับผู้ปฏิบัติในสังกัดสถาบันอุดมศึกษา โดยคณะกรรมการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีของสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้จัดสรร โดยไม่ขัดต่อหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.ร. กำหนด
กล่าวโดยสรุปคือ
เงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้บริหาร จำนวนร้อยละ 50
|
จาก
|
ให้นำไปสมทบให้กับ
|
ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวงที่ไม่ใช่หัวหน้ากลุ่มภารกิจ อธิบดี รองอธิบดี ผู้อำนวยการศูนย์/เขต/ภาค ผู้อำนวยการสำนัก/กอง หัวหน้าหน่วยงาน ฯลฯ
|
- ผู้ปฏิบัติงานในราชการบริหารส่วนกลาง - ผู้ปฏิบัติงานในราชการบริหารส่วนกลางที่ปฏิบัติในภูมิภาค
|
รองปลัดกระทรวงหัวหน้ากลุ่มภารกิจ
|
ผุ้ปฏิบัติงานในส่วนราชการที่อยู่ในกำกับ
|
ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าหน่วยงานประจำจังหวัด ฯลฯ
|
ผู้ปฏิบัติงานในราชการบริหารส่วนภูมิภาค
|
อธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี ของสถาบันการศึกษา |
ผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษา |
สำหรับข้อเสนอแนะ หลักเกณฑ์และวิธีการ ในการนำเงินสมทบจำนวนร้อยละ 50 จากเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้บริหาร มาจัดสรรเป็นเงินรางวัลให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำนั้น จะแตกต่างกันไปตามหน่วยงานต้นสังกัด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ส่วนราชการและสถาบันอุดมศึกษา และ 2) จังหวัด โดยมีรายละเอียดข้อเสนอแนะ ดังนี้
|
1) |
การจัดสรรเงินรางวัลในส่วนของเงินสมทบจำนวนร้อยละ 50 ฯ ให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำในหน่วยงาน ที่เป็นราชการบริหารส่วนกลาง และหน่วยงานที่เป็นราชการบริหารส่วนกลางที่ไปปฏิบัติงานในภูมิภาค |
|
|
ผู้จัดสรร : ส่วนราชการและสถาบันอุดมศึกษา |
ข้อเสนอแนะหลักเกณฑ์และวิธีการนำเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้บริหาร ร้อยละ 50 ของผู้บริหารที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษในแต่ละส่วนราชการหรือสถาบันอุดมศึกษา เพื่อสมทบจัดสรรเป็นเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 สำหรับผู้ปฏิบัติงานของส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษา ในหน่วยงานที่เป็นราชการบริหารส่วนกลางและหน่วยงานที่เป็นราชการบริหารส่วนกลางที่ไปปฏิบัติงาน ในภูมิภาค โดยคณะกรรมการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีของส่วนราชการ/สถาบันอุดมศึกษา เป็นผู้จัดสรร มีดังนี้
1. ให้คณะกรรมการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีของส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษา แบ่งเงินส่วนนี้ออกเป็น 2 ส่วน ในสัดส่วนที่เหมาะสม โดย
ส่วนที่ 1 ใช้จัดสรรเป็นรางวัลสมทบให้ผู้ปฏิบัติในสังกัด ที่ดำรงตำแหน่งและมีหน้าที่ความรับผิดชอบสูง (ระดับ 8 ระดับ 9 และระดับ 10) เช่น ผู้ตรวจราชการ ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ที่ได้ปฏิบัติงานช่วยผู้บริหารในการกำกับให้หน่วยงานบรรลุเป้าหมายตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
ส่วนที่ 2 ใช้จัดสรรเป็นรางวัลสมทบ สำหรับผู้ปฏิบัติในหน่วยงานที่เป็นราชการบริหารส่วนกลาง และหน่วยงานที่เป็นราชการบริหารส่วนกลางที่ไปปฏิบัติงานในภูมิภาค โดยจะต้องกระจายให้ไม่เกิน 10% ของจำนวนผู้ปฏิบัติงานภายในหน่วยงานระดับสำนัก/กอง ที่มีความรับผิดชอบทุ่มเท และมีผลงานที่โดดเด่น ตามแผนปฏิบัติราชการ และภารกิจหลัก และตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนราชการ หรือสถาบันอุดมศึกษา ทำให้บรรลุเป้าหมายของส่วนราชการหรือสถาบันอุดมศึกษา
ทั้งนี้ จะต้องเป็นผู้ที่มีผลงานโดดเด่นเป็นพิเศษ เป็นที่ประจักษ์และมีวิธีการทำงานที่คนในหน่วยงานให้การยอมรับ หรือเป็นผู้ไปช่วยราชการที่มีผลงานโดดเด่น หรือ เป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายภาระงานให้ทำเพิ่มขึ้นจากงานปกติ เช่น ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างลง แทนผู้ไปช่วยราชการ แทนผู้ที่ลาศึกษา แทนผู้เข้ารับการฝึกอบรม เป็นต้น และให้มีการติดตามผลการจัดสรรเงินรางวัลดังกล่าวมารายงาน ก.พ.ร. เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีต่อไป
2. ในการจัดสรรเงินรางวัล ให้พิจารณาตามผลการประเมินการปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำซึ่งผลการประเมินนั้น ควรให้สอดคล้องกับผลการประเมินของส่วนราชการหรือสถาบันอุดมศึกษา ทั้งนี้ ข้าราชการและลูกจ้างประจำที่ได้คะแนนผลการประเมินต่ำกว่ามาตรฐานจะไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัล
หากส่วนราชการหรือสถาบันอุดมศึกษายังไม่ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์การประเมิน และ/หรือยังไม่ได้มีการประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้คณะกรรมการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีของส่วนราชการ/สถาบันอุดมศึกษา เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินการปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ให้สอดรับกับหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติราชการของสำนัก/กอง และมอบหมายให้มีการประเมินผลงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ เพื่อนำมาใช้ในการจัดสรรเงินรางวัลต่อไป
3. วิธีการคำนวณเงินรางวัลให้บุคลากรแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นเงินรางวัลสมทบของส่วนที่หนึ่ง หรือส่วนที่สอง ให้ใช้วิธีการเดียวกับการคำนวณเงินรางวัลสำหรับความโดดเด่น นั่นคือ
|
จำนวนเงินรางวัลสมทบของบุคลากร |
=
|
น้ำหนักการจ่ายเงินรางวัลตามผลการปฏิบัติงาน {B(Ri)} x เงินเดือนของบุคลากร (pi) x อัตราการจ่ายเงินรางวัล (W3) |
โดยที่...
- น้ำหนักการจ่ายเงินรางวัลตามผลการปฏิบัติงาน อาจเป็นไปตามตารางด้านล่างนี้ หรือเป็นอัตราใหม่ที่ส่วนราชการและสถาบันอุดมศึกษา กำหนดขึ้นมาตามความเหมาะสมของหน่วยงานตนเอง
น้ำหนักการจ่ายเงินรางวัลตามผลการประเมินการปฏิบัติราชการ
|
ผลการประเมิน
|
น้ำหนักการจ่ายเงินรางวัล
|
5.0000
|
3.00
|
4.7500 - 4.9999
|
2.75
|
4.5000 - 4.7499
|
2.50
|
4.2500 - 4.4999
|
2.25
|
4.0000 - 4.2499
|
2.00
|
3.7500 - 3.9999
|
1.75
|
3.5000 - 3.7499
|
1.50
|
3.2500 - 3.4999
|
1.25
|
3.0000 - 3.2499
|
1.00
|
2.0000 - 2.9999
|
0
|
1.0000 - 1.9999
|
0
|
เงินเดือนของบุคลากร เป็นเงินเดือนของบุคลากรแต่ละคน
- อัตราการจ่ายเงินรางวัล เป็นค่าคงที่ค่าหนึ่งที่คำนวณมาจากการนำเงินรางวัลทั้งสิ้นที่จ่ายสมทบสำหรับส่วนที่หนึ่งหรือส่วนที่สอง หารด้วยจำนวนส่วนแบ่งเงินรางวัลทั้งหมดของบุคลากรที่มีสิทธิ นั่นคือ
อัตราการจ่ายรางวัล =
|
จำนวนเงินรางวัลสำหรับความโดดเด่น
|
|
ส่วนแบ่งเงินรางวัลของบุคลากรทุกคนในกอง (สำนัก) ที่มีสิทธิ
|
จำนวนเงินรางวัลสมทบสำหรับส่วนที่หนึ่งหรือส่วนที่สอง
= เงินรางวัลสมทบที่ส่วนราชการหรือสถาบันอุดมศึกษาได้รับ x สัดส่วนที่แบ่งให้สมทบสำหรับส่วนที่หนึ่งหรือส่วนที่สอง
ส่วนแบ่งเงินรางวัลของบุคลากรแต่ละคน = น้ำหนักการจ่ายเงินรางวัล x เงินเดือนของบุคลากร
|
2) |
การจัดสรรเงินรางวัลในส่วนของเงินสมทบจำนวนร้อยละ 50 ฯ ให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำในหน่วยงาน ที่เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค ทั้งหมดในจังหวัด |
|
|
ผู้จัดสรร : จังหวัด |
ข้อเสนอแนะหลักเกณฑ์และวิธีการนำเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้บริหาร ร้อยละ 50 ของผู้บริหารที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษในแต่ละจังหวัดตามหลักเกณฑ์ ไปดำเนินการจัดสรรสมทบให้แก่ผู้ปฏิบัติในหน่วยงานที่เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคทั้งหมดในจังหวัด โดย คณะกรรมการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีของจังหวัด เป็นผู้จัดสรร มีดังนี้
1. ให้คณะกรรมการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีของจังหวัด เป็นผู้จัดสรรเงินดังกล่าวเป็นรางวัลสมทบ โดยจะต้องกระจายให้ไม่เกิน 10% ของจำนวนผู้ปฏิบัติงานภายในหน่วยงานประจำจังหวัด ที่มีความรับผิดชอบทุ่มเท และมีผลงานที่โดดเด่นตามแผนปฏิบัติราชการ และภารกิจหลัก และตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด จนทำให้บรรลุเป้าหมาย
ทั้งนี้ จะต้องเป็นผู้ที่มีผลงานโดดเด่นเป็นพิเศษเป็นที่ประจักษ์ และมีวิธีการทำงานที่คนในหน่วยงานให้การยอมรับ หรือเป็นผู้ไปช่วยราชการที่มีผลงานโดดเด่น หรือเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายภาระงานให้ทำเพิ่มขึ้นจากงานปกติ เช่น ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างลง แทนผู้ไปช่วยราชการ แทนผู้ที่ลาศึกษา แทนผู้เข้ารับการฝึกอบรม เป็นต้น และให้มีการติดตามผลการจัดสรรเงินรางวัลดังกล่าวมารายงาน ก.พ.ร. เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีต่อไป
2. ในการจัดสรรเงินรางวัล ให้พิจารณาตามผลการประเมินการปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ซึ่งผลการประเมินนั้น ควรให้สอดคล้องกับผลการประเมินของจังหวัด ทั้งนี้ ข้าราชการและลูกจ้างประจำที่ได้คะแนนผลการประเมินต่ำกว่ามาตรฐานจะไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัล
หากจังหวัดยังไม่ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์การประเมิน และ/หรือยังไม่ได้มีการประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้คณะกรรมการจัดสรรเงินรางวัลประจำปี เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินการปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ให้สอดรับกับหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัด และมอบหมายให้มีการประเมินผลงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ เพื่อนำมาใช้ในการจัดสรรเงินรางวัลต่อไป
3. วิธีการคำนวณเงินรางวัลให้บุคลากรแต่ละคน ให้ใช้วิธีการเดียวกับการคำนวณเงินรางวัลสำหรับความโดดเด่น นั่นคือ
|
จำนวนเงินรางวัลสมทบของบุคลากร |
=
|
น้ำหนักการจ่ายเงินรางวัลตามผลการปฏิบัติงาน {B(Ri)} x เงินเดือนของบุคลากร (pi) x อัตราการจ่ายเงินรางวัล (W4) |
โดยที่...
- น้ำหนักการจ่ายเงินรางวัลตามผลการปฏิบัติงาน อาจเป็นไปตามตารางแสดงน้ำหนักการจ่ายเงินรางวัลตามผลการประเมินการปฏิบัติราชการ (ด้านบน) หรือเป็นอัตราใหม่ที่จังหวัดกำหนดขึ้นมาตามความเหมาะสมของหน่วยงานตนเอง
- เงินเดือนของบุคลากร เป็นเงินเดือนของบุคลากรแต่ละคน
- อัตราการจ่ายเงินรางวัล เป็นค่าคงที่ค่าหนึ่งที่คำนวณมาจากการนำเงินรางวัลทั้งสิ้นที่จ่ายสมทบของจังหวัด หารด้วยจำนวนส่วนแบ่งเงินรางวัลทั้งหมดของบุคลากรที่มีสิทธิ นั่นคือ
อัตราการจ่ายรางวัล =
|
จำนวนเงินรางวัลสมทบ
|
|
ส่วนแบ่งเงินรางวัลของบุคลากรทุกคนในจังหวัดที่มีสิทธิ
|
จำนวนเงินรางวัลสมทบ = เงินรางวัลสมทบที่จังหวัดได้รับ x สัดส่วนที่แบ่งให้สมทบ
ส่วนแบ่งเงินรางวัลของบุคลากรแต่ละคน = น้ำหนักการจ่ายเงินรางวัล x เงินเดือนของบุคลากร
วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน