Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2551 / มีนาคม / แนวทางการบริหารราชการแผ่นดิน ตามนโยบายที่ 8 การบริหาร จัดการที่ดี ของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554

แนวทางการบริหารราชการแผ่นดิน ตามนโยบายที่ 8 การบริหาร จัดการที่ดี ของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554

แนวทางการบริหารราชการแผ่นดิน
ตามนโยบายที่ 8 การบริหารจัดการที่ดี ของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554


        

  หลังจากที่คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2551 ได้พิจารณาเห็นชอบ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551 - 2554 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) ประธานคณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551 - 2554 เสนอ ซึ่ง OPDC News ได้รายงานข่าวไปแล้ว ล่าสุดสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้นำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551 - 2554 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 58 ง วันที่ 21 มีนาคม 2551

           แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551 - 2554 ดังกล่าว ได้ระบุถึงเป้าหมาย ตัวชี้วัด และกลยุทธ์/วิธีดำเนินการในแต่ละนโยบาย หน่วยงานรับผิดชอบ วงเงินงบประมาณ แผนงาน/โครงการที่สำคัญ รวมไปถึงระยะเวลาดำเนินการ มีเนื้อหาสาระสำคัญ ประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้

           ส่วนที่หนึ่ง : แนวคิดและทิศทางการบริหารประเทศ วิสัยทัศน์ของรัฐบาล และกรอบการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล

           ส่วนที่สอง : แนวทางการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดของนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการในปีงบประมาณ 2551 เพื่อฟื้นฟูความเืชื่อมั่นของประเทศ และนโยบายที่จะดำเนินการในช่วงที่เหลืออีก 7 นโยบาย รวม 8 นโยบาย ได้แก่
                              นโยบายที่ 1  ฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประเทศ
                              นโยบายที่ 2  สังคมและคุณภาพชีวิต
                              นโยบายที่ 3  เศรษฐกิจ
                              นโยบายที่ 4  ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                              นโยบายที่ 5  วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
                              นโยบายที่ 6  การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
                              นโยบายที่ 7  ความมั่นคงของรัฐ
                              นโยบายที่ 8  การบริหารจัดการที่ดี

           ส่วนที่สาม : กลไกการนำแผนการบริหารราชการแผ่นดินไปสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วยการมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบ งบประมาณสนับสนุนตามนโยบาย (ประมาณการรายได้และประมาณการความต้องการใช้เงินตามนโยบาย) และแนวทางการติดตาม
ตรวจสอบ ประเมินผล

           ส่วนที่สี่ : แผนงาน/โครงการที่มีลำดับความสำคัญตามนโยบายรัฐบาล (Flagship Project) ทั้งที่ต้องเร่งดำเนินการในปีงบประมาณ 2551 และที่จะดำเนินการในช่วงปี 2551 - 2554

           และเนื่องจากสำนักงาน ก.พ.ร. เป็นเป็นฝ่ายเลขานุการร่วม และรับผิดชอบนโยบายที่ 8 การบริหารจัดการที่ดี เป็นหลัก ในวันนี้ OPDC News จึงขอนำ แนวทางการบริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายที่ 8 การบริหารจัดการที่ดี ซึ่งระบุถึงเป้าหมายเชิงนโยบายและตัวชี้วัด รวมทั้งกลยุทธ์/วิธีการในการดำเนินนโยบาย มานำเสนอค่ะ


 
นโยบายที่ 8 การบริหารจัดการที่ดี

 

         รัฐบาลจะพัฒนาและปรับปรุงระบบการบริหารงานภาครัฐ เพื่อให้ส่วนราชการมีความพร้อม และกำลังคนที่มีขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล มีความคุ้มค่า และเกิดความเป็นธรรมในการให้บริการสาธารณะ และจะปรับปรุงกฎหมายและการยุติธรรม สนับสนุนการพัฒนาการเมือง และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินนโยบายสาธารณะ และการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้เกิดการบริหารราชการแผ่นดินที่ดี โดยจะดำเนินการ ดังต่อไปนี้

8.1 นโยบายการบริหารจัดการที่ดี  

       


  
เป้าหมายเชิงนโยบายและตัวชี้วัด

เป้าหมายเชิงนโยบาย
ตัวชี้วัด
1. ระบบการบริหารงานภาครัฐ สามารถอำนวยความสะดวก
และให้บริการแก่ประชาชน รวมทั้งยกระดับ
คุณภาพมาตรฐาน
และธรรมาภิบาลเป็นที่ยอมรับของประชาชน

- ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความพึงพอใจใน
คุณภาพการให้บริการและการดำเนินงานของหน่วยงาน
ของรัฐ

- หน่วยงานของรัฐไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 สามารถ
ยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการได้ตามเป้าหมาย

2. การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐพัฒนาระบบบริหาร
ทรัพยากรบุคคลให้ทันสมัย และเสริมสร้างบุคลากรภาครัฐ
ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมืออาชีพเพื่อตอบสนอง
ความต้องการของประชาชน

- ส่วนราชการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 สามารถเพิ่ม
ประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการบริหารจัดการ
ทรัพยากรบุคคล

- บุคลากรภาครัฐไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีความเป็น
มืออาชีพ มีความรู ้คู่คุณธรรมและมีความสมดุล
ในคุณภาพชีวิตและการทำงานมากขึ้น

3. กระจายอำนาจและพัฒนาขีดความสามารถให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและจัดบริการสาธารณะได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ

- ส่วนราชการถ่ายโอนภารกิจ (ที่ไม่ต้องแก้ไขกฎหมาย) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแผนปฏิบัติการ
กำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20

- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาลและองค์การ
บริหารส่วนตำบล) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 สามารถจัด
บริการสาธารณะได้ตามเป้าหมายมาตรฐานขั้นต่ำ
การบริการสาธารณะทั้ง 6 ด้าน ตามที่คณะกรรมการการ
กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด

กลยุทธ์/วิธีดำเนินการ

นโยบาย
กลยุทธ์/วิธีการ
1. ปรับปรุงการให้บริการประชาชน ด้วยการสร้างนวัตกรรม
และนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการให้บริการรูปแบบ
ต่าง ๆ เพื่อลดภาระและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน

- ปรับปรุงรูปแบบการให้บริการประชาชน อำนวยความ
สะดวก ลดขั้นตอนการทำงาน และนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ
มาใช้ในการให้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่
ประชาชน เช่น การให้บริการแบบบูรณาการของทุก
กระทรวง ทบวง กรม ในจุดเดียวกันโดยหน่วยงานใด
หน่วยงานหนึ่งในลักษณะที่เป็นการบริการหน้าต่างเดี่ยว
(Single Service Window) ศูนย์บริการร่วม ระบบบริการ
อิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)

2. พัฒนาระบบและกำหนดมาตรการเพื่อดึงดูดผู้มีความรู้
ความสามารถเข้ามารับราชการ ด้วยการปรับปรุงระบบ
ค่าตอบแทน และสิ่งจูงใจให้เทียบเคียงหรือแข่งขันได้ใน
ตลาดแรงงาน รวมทั้งสนับสนุนให้มีการเคลื่อนย้ายถ่ายโอน
กำลังคนทั้งภายในระบบราชการและระหว่างหน่วยงาน
ภาครัฐกับภาคส่วนอื่น ๆ

- สร้างคนเก่งคนดี โดยการดึงดูดผู้มีความรู้ ความสามารถ
เข้าสู่วงราชการ เช่น การพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลง
รุ่นใหม่

- พัฒนาระบบแรงจูงใจ เงินเดือน ค่าตอบแทน รวมทั้ง
คุณภาพ ชีวิตการทำงานให้สามารถจูงใจให้คนเก่งคนดี
เข้าสู่ระบบราชการและรักษาไว้ในระบบราชการต่อไป

3. พัฒนาระบบงานและสมรรถนะของข้าราชการ
และเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มี
ขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการและการส่งมอบ
บริการสาธารณะ โดยจะเน้นการพัฒนาข้าราชการ
ในตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์ การพัฒนา
ประเทศ และสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระบบราชการ
รวมทั้งจะวางมาตรการสำหรับประเมินผลการปฏิบัติงาน
และจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรมตามผลงาน เพื่อให้เกิด
ขวัญกำลังใจและแรงจูงใจในการพัฒนาผลงาน

- พัฒนาศักยภาพของหน่วยงานภาครัฐให้มีขีดความสามารถ
และความยืดหยุ่นคล่องตัว ตอบสนองต่อการปฏิบัติราชการ
และการส่งมอบบริการสาธารณะ

- วางมาตรการ/ระบบในการประเมินผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งการจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรมสอดคล้องกับ
ผลการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการพัฒนาผลงาน

- พัฒนาข้าราชการในตำแหน่งที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์
และสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระบบราชการ เพื่อให้
รองรับกับสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป

4. พัฒนาคุณภาพชีวิตของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ให้ดีขึ้นเพื่อให้สามารถดำรงชีพอย่างมีศักดิ์ศรี โดยการเพิ่ม
เงินเดือน ค่าตอบแทน และสวัสดิการให้เหมาะสมกับสภาพ
การทำงานและสถานการณ์ค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป
รวมทั้งปรับปรุงสวัสดิภาพการทำงานและภาระหนี้สิน
เพื่อให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีความสมดุล
ระหว่างการทำงานกับชีวิตส่วนตัว
- ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการ
เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
5. เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่
ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐและพัฒนาความโปร่งใส
ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ พร้อมทั้งป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของข้าราชการ
และเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างจริงจัง เพื่อให้ภาคราชการเป็นที่
เชื่อถือไว้วางใจแก่ประชาชน

- พัฒนามาตรฐานคุณธรรม จริยธรรมของข้าราชการ

- สนับสนุนและส่งเสริมการประสานการดำเนินการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของข้าราชการ
และเจ้าหน้าที่ของรัฐ

6. ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่นให้
พึ่งพารายได้ของตนเองได้มากขึ้นและเพิ่มขีดความสามารถ
ในการบริหารจัดการงบประมาณและบุคลากรของท้องถิ่น
- พัฒนาระบบการบริหารจัดการและการกระจายรายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
7. สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในการ
จัดบริการสาธารณะของท้องถิ่นเพิ่มขึ้น โดยคำนึงถึง
ความจำเป็นและความเหมาะสมตามศักยภาพของท้องถิ่น
รวมทั้งความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนขยาย
การให้บริการที่ครอบคลุมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ
ประชาชน เชื่อมโยงและบูรณาการกับแผนชุมชนและ
แผนระดับต่าง ๆ ในพื้นที่
- สร้างกลไกเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันระหว่างภาคราชการ
(ราชการส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น) ภาคเอกชน และภาค
ประชาสังคม รวมทั้งการถ่ายโอนบทบาท ภารกิจ
การตัดสินใจ และทรัพยากรจากส่วนกลางลงสู่ระดับ
ปฏิบัติการ

8. เร่งรัดดำเนินการถ่ายโอนภารกิจของราชการส่วนกลาง
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการ
กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการจัดสรรรายได้ให้ท้องถิ่น
แต่ละประเภทอย่างเหมาะสม

- เร่งรัดการถ่ายโอนภารกิจของราชการส่วนกลางให้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น
9. สนับสนุนระบบการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ
ของผู้ว่าราชการจังหวัด ผ่านกระบวนการจัดทำแผนพัฒนา
จังหวัดและกลุ่มจังหวัด และการจัดทำงบประมาณจังหวัด
และกลุ่มจังหวัด เพื่อให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดวาง
ยุทธศาสตร์การพัฒนาและ ทิศทางการพัฒนาพื้นที่
ในอนาคตที่สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลเพื่อ
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ศักยภาพของพื้นที่
และความต้องการของประชาชน

- ส่งเสริม สนับสนุน ในการจัดทำแผนพัฒนาและงบประมาณ
จังหวัด/กลุ่มจังหวัดให้สอดรับกับความต้องการของพื้นที่
โดยผ่านระบบการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ

- พัฒนาระบบ/กลไก/โครงสร้างพื้นฐานของการบริหารแผน
และยุทธศาสตร์ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด

10. สนับสนุนความเข้มแข็งภาคประชาชน โดยการสร้าง
เครือข่ายกลไกการตรวจสอบของภาคประชาชน
- สร้างความรู้และความเข้าใจแก่เครือข่ายภาคประชาชน
ในการพัฒนาระบบราชการเน้นการเรียนรู้โดยการปฏิบัติ
จริง (Action Learning) เพื่อให้ภาคประชาชนมีศักยภาพ
ในการเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วมมากขึ้น จนถึงระดับของ
การเข้ามาเป็นหุ้นส่วน และร่วมติดตามและประเมินผล
การบริหารจัดการภาครัฐได้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
11. สนับสนุนกระบวนการจัดทำแผนชุมชนให้มี
ประสิทธิภาพ และสามารถเชื่อมโยงกับแผน อปท.
และแผนจังหวัด เพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน
- สนับสนุนกระบวนการจัดทำแผนชุมชนที่ได้มาตรฐาน
12. พัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตย ปลูกฝังจิตสำนึก
คุณธรรม เพิ่มประสิทธิภาพกลไกการตรวจสอบภาครัฐ
- ส่งเสริมและพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนและพัฒนา
วัฒนธรรมประชาธิปไตย
13. สนับสนุนธรรมาภิบาลภาคเอกชน สร้างจิตสำนึก
ที่ซื่อสัตย์ ยุติธรรม รับผิดชอบต่อสังคม
- พัฒนาระบบธรรมาภิบาลของประเทศ

8.2 กฎหมายและการยุติธรรม  

         เป้าหมายเชิงนโยบายและตัวชี้วัด

เป้าหมายเชิงนโยบาย
ตัวชี้วัด
1. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้น
ระบบราชการมีความโปร่งใส ปัญหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น
ลดลง ระบบงานยุติธรรมมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
นำไปสู่การสร้างสังคมไทยให้มีความยุติธรรม ด้วยการมี
ส่วนร่วมของรัฐ ประชาชน

- สัดส่วนคดีอาชญากรรมในภาพรวมของประเทศต่อ
ประชากรลดลง

- ระดับคะแนนความโปร่งใสของไทยในระดับนานาชาติ
ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

- อัตราการกระทำผิดซ้ำของเด็ก เยาวชน นักโทษเด็ดขาด
ผู้ถูกคุมประพฤติภายหลังการปล่อยตัว หรือพ้นการคุม
ประพฤติต่อจำนวนผู้กระทำผิดลดลง

- สัดส่วนคดีที่ได้รับการแก้ไขโดยกระบวนการยุติธรรม
ทางเลือก

- ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อกระบวนการ
ยุติธรรมของรัฐ

- ร้อยละของจำนวนกฎหมายและระบบงานยุติธรรมของ
รัฐที่ได้รับการพัฒนาตามหลักธรรมาภิบาล


          กลยุทธ์/วิธีดำเนินการ

นโยบาย
กลยุทธ์/วิธีการ
1. ดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับใช้กฎหมายอย่างถูกต้อง
รวดเร็ว เป็นธรรม และทั่วถึง และส่งเสริมการให้ความรู้
เกี่ยวกับกฎหมายที่มีผลกระทบต่อประชาชนและภาคธุรกิจ
รวมตลอดถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิและ
เสรีภาพของประชาชน และสนับสนุนการให้ความ
ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน

- พัฒนาศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย โดย
เน้นการบริหารจัดการที่โปร่งใส ถูกต้อง เป็นธรรม

2. พัฒนากฎหมายให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงและความ
จำเป็นของสังคม รวมทั้งจัดให้มี องค์กรเพื่อการปฏิรูป
กฎหมาย และ องค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการ
ยุติธรรม ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย เพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมายของ
ประเทศและกระบวนการยุติธรรม

- จัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมายและองค์กรเพื่อการ
ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้สอดคล้องตามบทบัญญัติ
ในรัฐธรรมนูญ

- เร่งรัดการพัฒนากฎหมายและระบบกฎหมาย

3. ส่งเสริมและพัฒนาระบบงานยุติธรรมทุกด้าน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันอาชญากรรมและสร้าง
ความเป็นธรรมในสังคม การพัฒนากระบวนการยุติธรรม
ทางอาญาให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม การใช้เครื่องมือและ
หลักวิชาการนิติวิทยาศาสตร์ การส่งเสริมการเข้าถึง
ความยุติธรรมและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
อำนวยความยุติธรรม เช่น การพัฒนาระบบยุติธรรมชุมชน
และยุติธรรมจังหวัด การพัฒนาและจัดให้มีกระบวนการ
ยุติธรรมทางเลือก ควบคู่กับกระบวนการยุติธรรม
กระแสหลัก รวมทั้งการพัฒนาระบบและวิธีปฏิบัติเพื่อ
แก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้เหมาะสมต่อกลุ่มเป้าหมาย
ตลอดจนการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและเทคโนโลยี
สารสนเทศ

- ลดการฟ้องคดีของประชาชน

- คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน
และผู้บริโภคในเชิงรุก

- เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและพัฒนาการมีส่วนร่วม
ของประชาชนในการอำนวยความยุติธรรม

4. เสริมสร้างความยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยมุ่งพัฒนากฎหมายและระบบงานยุติธรรมที่สอดคล้อง
กับพื้นที่ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมท้องถิ่น บังคับใช้กฎหมาย
อย่างเคร่งครัด ขจัดเงื่อนไขความไม่ยุติธรรม และพัฒนา
ระบบการพิสูจน์การกระทำความผิดที่มีประสิทธิภาพ
- พัฒนากฎหมายและระบบงานยุติธรรมที่สอดคล้องกับ
พื้นที่ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมท้องถิ่น

8.3 ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากทางราชการและสื่อสาธารณะอื่นได้อย่างกว้างขวาง ถูกต้อง เป็นธรรม และรวดเร็ว  

         เป้าหมายเชิงนโยบายและตัวชี้วัด

เป้าหมายเชิงนโยบาย
ตัวชี้วัด
1. การพัฒนาระบบบริหารจัดการงานข้อมูลข่าวสารภาครัฐ
สามารถขยายโอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน
ให้ถูกต้องเป็นธรรม และรวดเร็ว

- หน่วยงานของรัฐไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 สามารถบรรลุผล
ตามเกณฑ์มาตรฐานตัวชี้วัดภายใต้พระราชบัญญัติข้อมูล
ข่าวสาร พ.ศ. 2540

2. ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง - ประชาชนร้อยละ 80 ได้รับข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐ


          กลยุทธ์/วิธีดำเนินการ

นโยบาย
กลยุทธ์/วิธีการ
1. ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร
จากทางราชการและสื่อสาธารณะอื่นได้อย่างกว้างขวาง
ถูกต้อง เป็นธรรม และรวดเร็ว

- เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร
ของทางราชการผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ

- สร้างและพัฒนาความโปร่งใสของการปฏิบัติงานใน
หน่วยงานภาครัฐทุกระดับ


           ทั้งนี้ นโยบายที่ 8 การบริหารจัดการที่ดี ดังกล่าว มี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายชูศักดิ์ ศิรินิล และ นายจักรภพ เพ็ญแข) เป็นเจ้าภาพนโยบาย และมี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

ประเด็นนโยบาย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
8.1 นโยบายการบริหารจัดการที่ดี

สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงศึกษาธิการ

8.2 กฎหมายและการยุติธรรม

กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงศึกษาธิการ

8.3 ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ข้อมูล
ข่าวสารจากทางราชการและสื่อสาธารณะอื่นได้
อย่างกว้างขวาง ถูกต้อง เป็นธรรม และรวดเร็ว

สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

             สำหรับข้อมูลของแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายอื่น ๆ รวมทั้งรายละเอียดทั้งหมดของแผนการบริหาราชการแ่ผ่นดิน พ.ศ. 2551 - 2554 นั้น สามารถดาวน์โหลดได้   ที่นี่ ค่ะ


วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 8 กันยายน 2552 09:46:19 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 8 กันยายน 2552 09:46:19
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th