จากนั้น นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานการประชุม ได้กล่าวเปิดการประชุมพร้อมมอบนโยบายและแนวทางการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ต่อผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานการประชุม ได้กล่าวเปิดการประชุมพร้อมมอบนโยบายและแนวทางการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ต่อผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นเครื่องมือที่สำคัญ ที่จะช่วยให้รัฐบาลสามารถบริหารราชการและปกครองประเทศในเชิงรุกได้อย่างเป็นระบบ เกิดการบูรณาการเชื่อมโยง ตลอดจนสร้างพลังการขับเคลื่อนการทำงานของภาครัฐให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น เพราะแผนการบริหารราชการแผ่นดินจะกำหนดแนวทางในการปฏิบัติราชการ ที่ต้องมีเป้าหมายและทิศทางการดำเนินงานอย่างชัดเจน ส่งผลให้การทำงานในทุกระดับต้องมีแผนการทำงานที่สามารถวัดผลสัมฤทธิ์ของงานได้ ดังนั้น แผนการบริหารราชการแผ่นดินจึงเป็นเสมือนกรอบแม่บทในการถ่ายทอดนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อไปว่า ตนเป็นผู้รับผิดชอบหลักในนโยบายที่ 8 ของยุทธศาสตร์รัฐบาลตามที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 18 - 20 กุมภาพันธ์ 2551 ในเรื่องนโยบายการบริหารจัดการที่ดี โดยมีสำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นเลขานุการ
ทั้งนี้ สิ่งที่รัฐบาลต้องการเห็น คือ การพัฒนาระบบการบริหารงานภาครัฐให้มีความพร้อม และมีกำลังคนที่มีขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล มีความคุ้มค่า และเกิดความเป็นธรรมในการให้บริการสาธารณะ โดยได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์หลักไว้ 3 ด้าน คือ
1. ประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน
2. กฎหมายและการยุติธรรม
3. การส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร จากทางราชการและสื่อสาธารณะอื่นได้อย่างถูกต้อง เป็นธรรม และรวดเร็ว
ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำให้สำเร็จในวันนี้ คือ ช่วยกันตัดสินใจและจัดลำดับความสำคัญในเรื่องของแผนงานและโครงการที่สำคัญ ซึ่งหมายถึงสิ่งที่รัฐบาลเลือกจะทำหรือไม่ทำบางสิ่งบางอย่าง เพื่อนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ทั้งนี้ ขอให้ช่วยกันจัดทำแผนงาน/โครงการที่ดำเนินการแล้ว เกิดผลประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง อีกทั้งทำให้การดำเนินโครงการต่าง ๆ สร้างโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานให้มากที่สุด
อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินงานนั้น มีข้อจำกัดหลายประการ ประการแรก คือ ระยะเวลาที่ฉุกละหุก แต่ก็เชื่อว่าด้วยความสามารถของบุคลากรทุกคน การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินจะสำเร็จลุล่วงไปได้ ประการที่สอง ในอดีตที่ผ่านมา การจัดทำแผนทั้งหลายนั้นมิได้เชื่อมโยงกับกรอบงบประมาณที่จะดำเนินการตามแผนนั้น กล่าวคือ มีการวางแผนไปโดยที่กรอบงบประมาณยังไม่มี ซึ่งในประเด็นนี้ ก็จะต้องมีการผลักดันกรอบงบประมาณให้มีความเชื่องโยงกับแผนดังกล่าวต่อไป
สำหรับโครงการที่จะจัดทำนั้น ควรเป็นโครงการที่เน้นเนื้อหาสาระ และสร้างโอกาสให้กับประชาชนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อให้ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างดีขึ้น ใน 3 - 4 ปีข้างหน้า และจะต้องคำนึงถึงหลักธรรมาภิบาล ต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ และใช้ความสามารถในการพิจารณาโครงการที่สามารถจะอนุมัติได้
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า จากประสบการณ์ที่อยู่ในระบบราชการมากว่า 30 ปี เข้าใจว่านโยบายของรัฐบาลคณะต่าง ๆ หากปราศจากความร่วมมือของพี่น้องข้าราชการที่เปรียบเสมือนเป็นแขนขาของรัฐบาล ก็จะประสบความสำเร็จได้ยาก ดังนั้น ในการจัดทำแผนฯ และการบริหารราชการแผ่นดิน จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากข้าราชการ เพื่อให้การจัดทำแผนฯ และบริหารราชการแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพ
ในช่วงท้าย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551 - 2554 ตามนโยบายที่ 8 : นโยบายการบริหารจัดการที่ดี และกล่าวขอบคุณทุกฝ่ายที่ให้ความร่วมมือร่วมใจ ในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ตามนโยบายที่ 8 เรื่อง การบริหารจัดการที่ดี พร้อมทั้งอวยพรให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ทุกประการ
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ
ศรพล (นปร.) / ข้อมูล
อักสรณ์ (สลธ.) / ภาพ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานการประชุม ได้กล่าวเปิดการประชุมพร้อมมอบนโยบายและแนวทางการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ต่อผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานการประชุม ได้กล่าวเปิดการประชุมพร้อมมอบนโยบายและแนวทางการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ต่อผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้