ส่วนราชการ / สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน

สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน
ประจำปีงบประมาณ

ข้อมูลทั่วไป

วิสัยทัศน์
กำหนดทิศทางและบริหารยุทธศาสตร์ด้านแรงงานเชิงบูรณาการอย่างมีประสิทธิผล

พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย
พันธกิจของ สป. รง. กำหนดไว้ในแผนกลยุทธ์สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน
พ.ศ. 2555-2558  ดังนี้
 1. ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านแรงงานแบบบูรณาการ
 2. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านแรงงาน
 3. พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศและการเตือนภัยด้านแรงงาน
 4. ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายด้านแรงงาน

เป้าประสงค์หลัก
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1: พัฒนายุทธศาสตร์ด้านแรงงาน
เป้าประสงค์: ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับประโยชน์จากการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
และการบริหารจัดการของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2: ส่งเสริมการขยายตลาดและคุ้มครองแรงงานไทยในต่างประเทศ
เป้าประสงค์: ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมการขยายตลาดและคุ้มครอง
แรงงานไทยในต่างประเทศ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : ส่งเสริมและพัฒนากลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในพื้นที่
เป้าประสงค์: ประชาชนในพื้นที่ได้รับบริการด้านแรงงานอย่างทั่วถึง

ค่านิยมและวัฒนธรรมของส่วนราชการ
สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานได้ดำเนินการหารือการดำเนินโครงการสร้างต้นแบบการ
ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยมขึ้น มีมติให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2552 และได้ยึดถือปฏิบัติมา โดยค่านิยมที่มุ่งหวัง 3 ประการ
1.  มุ่งมั่นทำงานเป็นทีมเชิงรุก (Proactive Teamwork)
2.  ใฝ่เรียนรู้ (Lifelong Learning)
3.  มีจิตบริการ (Service Mind)
และได้มีมติเลือกวัฒนธรรมและค่านิยมที่มุ่งหวัง คือ การมุงมั่นทำงานเป็นทีมเชิงรุก ขึ้นมา
เป็นประเด็นหลักในการกำหนดแผนกิจกรรม (Road Map) ด้านการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยมของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน

สถานที่ติดต่อ
ถนนมิตรไมตรี ดินแดง กรุงเทพฯ 10400
โทร. 0-232-1262-4,1467   โทรสาร
http://www.mol.go.th


อำนาจหน้าที่
ตามกฎหมายกระทรวงแบ่งส่วนราชการ สป.รง. พ.ศ. 2545 ได้กำหนดอำนาจ
หน้าที่ของ สป.รง. ดังนี้
  1. ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำข้อมูล เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของกระทรวง
  2. พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารของกระทรวง
  3. แปลงนโยบายเป็นแนวทางและการปฏิบัติราชการ
  4. จัดสรรและบริหารทรัพยากรของกระทรวงเพื่อให้เกิดการประหยัด คุ้มค่า และสมประโยชน์
  5. กำกับ เร่งรัด ติดตามและประเมินผล รวมทั้งประสานการปฏิบัติงานของส่วนราชการในสังกัดกระทรวง
  6. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้ในการบริหารงานและการบริการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง
  7. ดูแลงานประชาสัมพันธ์ การต่างประเทศ และพัฒนาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย
  8. ดำเนินการเกี่ยวกับพัฒนาระบบรายได้และค่าจ้างขั้นต่ำ
  9. วิจัยและพัฒนาด้านแรงงาน
  10. ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวง และเรื่องราวร้องทุกข์ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง
  11. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

คำรับรองการปฏิบัติราชการ

หมายเหตุ :

ข้อมูลปี 2557

http://www.opdc.go.th/uploads/files/result_peform/2557/government_57/O57_01.pdf