สวัสดีค่ะ  พบกับโฉมใหม่  
ของการสื่อสารการพัฒนาระบบ
ราชการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ของสำนักงาน ก.พ.ร.
      เรายังคงนำเรื่องราวต่าง ๆ
ที่เปิด Trend ใหม่ ๆ อันเกี่ยว
กับการพัฒนาระบบราชการ เช่น
เคย โดยไม่ได้มองมิติด้านใด
ด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว
ซึ่งยังคงเป็นแบบฉบับสำคัญที่
เรากำลังดำเนินอยู่ต่อไปอย่าง
เข้มข้ม สาระ ต่าง ๆ พร้อมอยู่
บนหน้าจอท่านแล้วค่ะ

 
e-news ย้อนหลัง

สรุปความก้าวหน้า
โครงการพัฒนานักบริหาร
การเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ รุ่นที่ 1

   สำหรับโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 1 นี้ ได้เปิดรับสมัครผู้สนใจ เข้าร่วมโครงการฯ ไปเมื่อวันที่ 1 - 30 มิถุนายน 2548 และหลังจากการทดสอบทั้ง การทดสอบเบื้องต้น การสอบข้อเขียน และการประเมินบุคลิกภาพแล้ว    ปรากฏว่า มีผู้สอบผ่านทุกขั้นตอน จำนวน 52 คน และมารายงานตัวเพื่อเข้าร่วมโครงการฯ ไปเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2548 จำนวนทั้งสิ้น 43 คน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ


         

               • กลุ่มที่ 1 : บุคคลที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาฯ จำนวน 23 คน

               • กลุ่มที่ 2 : บุคคลที่เป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทต่าง ๆ
จำนวน 9 คน

               • กลุ่มที่ 3 : บุคคลที่ทำงานในภาคเอกชน หน่วยงาน หรือองค์กรระหว่าง
ประเทศ จำนวน 11 คน

         จากนั้นได้มีพิธีเปิดโครงการพัฒนา นักบริหาร การเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่่ รุ่นที่ 1 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 48 โดยมี  รองนายกรัฐมนตรีวิษณุ เครืองาม เป็นประธานกล่าวต้อนรับ พร้อมให้โอวาท แก่่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล

 
ต่อมาในวันที่ 1 กันยายน 2548 เป็นวันเริ่มต้นกิจกรรมโครงการนักบริหารการเปลี่ยน แปลงรุ่นใหม่ รุ่นที่ 1 และเป็นวันบรรจุแต่งตั้งผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดสำนักงาน ก.พ.ร. พร้อมกันนี้ ได้มีการปฐมนิเทศ ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ณ ห้องประชุมก.พ.ร. ชั้น 5 สำนักงาน ก.พ.ร. โดยมี ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าวปฐมนิเทศ และมอบดอกไม้้เพื่อเป็นการต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 41 คน

และเนื่องจากมีผู้สละสิทธิ์ ทำให้สรุปแล้วมี นักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ รุ่นที่ 1 ที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. จำนวนทั้งสิ้น 40 คน แบ่งเป็น ข้าราชการบรรจุใหม่ในตำแหน่ง นักพัฒนาระบบราชการจำนวน 32 คน และข้าราชการพลเรือนสามัญที่โอนมา ดำรงตำแหน่งนักพัฒนาระบบราชการ จำนวน 8 คน
 
เมื่อเข้าร่วมโครงการแล้ว นักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ (นปร.) รุ่นที่ 1 ทั้ง 40 คนได้ทำกิจกรรมและเรียนรู้ตามหลักสูตรของโครงการฯ ดังนี้

กันยายน - ตุลาคม 2548

เข้ารับการศึกษาในหลักสูตรเพื่อเตรียมความ พร้อมในวิชาต่าง ๆ อาทิ รัฐยุทธศาสตร์ วิวัฒนาการระบบเศรษฐกิจไทย รัฐไทยในยุคโลกาภิวัตน์ เสถียรภาพและประสิทธิภาพทางการเมือง การปฎิรูประบบราชการ ยุทธศาสตร์การสร้างความยั่งยืนของ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ประชาสังคมกับการมีส่วนร่วม พัฒนาการเขียนหนังสือราชการและ งานสารบรรณการระดมความคิดอย่างสร้าง สรรค ์แบบ A-I-C เป็นต้น

 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2548 เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้กรณีศึกษาในประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน การพัฒนาระบบราชการ และการพัฒนาประเทศ อาทิ ประเทศไทยในเวทีการค้าโลก และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศ  เทคโนโลยีในอนาคตที่ไล่ล่าประเทศไทย การจัดการสังคมเพื่อสร้างความ สมานฉันท์ในชาติ (กรณี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้) การจัดการทรัพยากรน้ำ และสุ่มน้ำเป็นต้น

    นอกจากนี้ ยังมีการเรียนรู้ประสบการณ์จริงด้วยการปฏิบัติ โดยการเดินทางไปศึกษา
ดูงานในพื้นที่ต่าง ๆ ด้วย ได้แก่

               วันที่ 2 - 13 กันยายน 2548 เรียนรู้วิถีชีวิตของคนและชุมชนในชนบท  ณ ตำบล แม่แฝก อำเภอสันทราย และตำบลขี้เหล็ก อำเภอ แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตของ คนไทยในชุมชนท้องถิ่น และสังเคราะห์ข้อมูลร่วม กับคนในหมู่บ้าน จัดทำประเด็นการพัฒนาแผน แม่บทชุมชนและศึกษาถึงภูมิปัญญาและปัญหาของ ชุมชนที่เกิดขึ้นจริง โดยได้กำหนดให้ นปร.พักอาศัย อยู่กับแต่ละครอบครัว ครอบครัวละ 1 - 2 คน

วันที่ 11 - 15 ตุลาคม 2548
     • กรณีศึกษา “การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” ณ ชุมชนคำปลาหลาย อำเภอ อุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น โดยเป็น การเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ส่งเสริมให้เกิด การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน


• กรณีศึกษา “สิทธิมนุษยชนกับการจัดการทรัพยากร” ณ ชุมชนเขื่อนปากมูล อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทของภาครัฐ ธุรกิจ และประชาชน ต่อการจัดการทรัพยากรในพื้นที่เขื่อนปากมูล และพื้นที่ใกล้เคียง
วันที่ 29 ตุลาคม - 7 พฤศจิกายน 2548
•  กรณีศึกษา    “การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พอเพียง” ณ ตำบลเรียงไม้ อำเภอฉวาง จังหวัด  นครศรีธรรมราช โดยเป็นการเรียนรู้ ูู้้เกี่ยวกับการทำแผนพัฒนา ชุมชนจากบทเรียน และประสบการณ์ในอดีต ของชุมชน

 
• กรณีศึกษา “การจัดการการฟื้นฟูชุมชนที่ประสบภัยธรรมชาติ”ณตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า ตำบลคุระ และตำบลแม่นางขาว อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงาเพื่อ เรียนรู้เกี่ยวกับ การเรียนรู้และเตรียมความพร้อมของชุมชนในการพัฒนาที่พึ่ง ตนเอง  รวมทั้งวิถีชีวิตการจัดการ การฟื้นฟูชุมชนที่ประสบภัยธรรมชาติ

       นอกจากกิจกรรมดังกล่าวแล้ว นปร. รุ่นที่ 1 ยังได้ร่วมกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ อีกเช่น

               • ร่วมพิธีทำบุญเปิดสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(30 กันยายน 2548)

               • ชมการแสดงหุ่นละครเล็ก (26 ตุลาคม 2548)

               • ร่วมพิธีไหว้ครู ณ สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(10 พฤศจิกายน 2548)

               • ร่วมพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2548 ของสำนักงาน
ก.พ.ร. ณ วัดรัชฎาธิษฐาน (11 พฤศจิกายน 2548)

               • เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมในการกลั่นกรอง
ยุทธศาสตร์ (4 - 5 มกราคม 2549)

               • เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาผู้นำการบริหารการ
เปลี่ยนแปลง (CEO Retreat II) ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
(6 มกราคม 2549)

                                      

และล่าสุด นปร. รุ่นที่ 1 ซึ่งปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 39 คน เนื่องจาก มีผู้ที่ขอลาออกจากราชการไป 1 คน กำลังอยู่ระหว่างการฝึกปฏิบัติงานกับ ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยการฝึกปฏิบัติงานดังกล่าวจะใช้เวลาทั้งสิ้น 5 เดือน ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม2548 ถึง 30 เมษายน 2549 เพื่อเรียนรู้การบริหารราชการ จังหวัดแบบบูรณาการ และเทคนิคทักษะการบริหารงานในสถานการณ์ต่างๆ ของผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะผู้บริหารสูงสุดของจังหวัด

                                

 ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดจะทำหน้าที่เป็นครูผู้สอนงาน ต้นแบบ และผู้ช่วยเหลือ ให้นักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ได้เรียนรู้การบริหารราชการ พัฒนาภาวะผู้นำ ตลอดจนคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติราชการ โดยในการฝึกปฏิบัติงาน ดังกล่าวจะมีอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งได้แก่ ศ.ดร.ชาติชายณ เชียงใหม่ และ ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยาไปติดตามตรวจเยี่ยม และร่วมเรียนรู้กับผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้เข้าร่วมโครงการฯ ด้วย

 สำหรับจังหวัดทั้ง 39 จังหวัดที่นักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ได้ไปฝึกปฏิบัติ งานอยู่ในขณะนี้ ได้แก
 
 
ภาคเหนือ (7 จังหวัด) : เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พิษณุโลก
อุทัยธานี

 
ภาคกลาง (16 จังหวัด) : กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก นครปฐม นนทบุรี
ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี

 
ภาคใต้ (5 จังหวัด) : นครศรีธรรมราช ภูเก็ต ระนอง สงขลา สุราษฎร์ธานี
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (9 จังหวัด) : ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด
ศรีสะเกษ สุรินทร์ หนองคาย อุดรธานี อุบลราชธานี

 ภาคตะวันออก (2 จังหวัด) : ชลบุรี ระยอง
                               
                                              
 
          
นอกจากการฝึกปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการภาครัฐในส่วนภูมิภาคแล้ว ในช่วงต่อไปของโครงการฯ นักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ยังจะได้ไปฝึก ปฏิบัติงาน การบริหารจัดการภาครัฐในส่วนกลาง หน่วยงานนโยบายรวมทั้ง ส่วนราชการในต่างประเทศ และฝึกปฏิบัติงานกับหน่วยงานเอกชนอีกด้วย เพื่อเพิ่มพูน ความรู้และประสบการณ์ก่อนที่จะเข้ารับการประเมินเพื่อสำเร็จการศึกษา และบรรจุเข้า ปฏิบัติงานในส่วนราชการที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ต่อไป โดยพิจารณาจากการ ประเมินความรู้ ความสามารถ ขีดสมรรถนะ และศักยภาพของผู้สำเร็จจากโครงการฯ เป็นหลัก ซึ่งโดยสรุปแล้ว ผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ จะใช้เวลาในการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติตามหลักสูตร เป็นเวลา 2 ปี

                               

    การเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ รุ่นที่ 2