เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
พัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลง
รุ่นใหม่ รุ่นที่ 2
|
สำนักงาน ก.พ.ร. ก็ยังคงเดินหน้าสร้างคนเก่งพัฒนาคนดีเข้าสู่ระบบราชการต่อไป ด้วยการเปิดรับผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่รุ่นที่ 2 เป็นโครง การที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้มอบให้ สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit : SDU) สังกัดสำนักงาน ก.พ.ร. รับไปดำเนินการในการสร้างคนเก่ง พัฒนาคนดีที่มีวิสัยทัศน์ คิดเป็น และสามารถถอดรหัสความคิดสู่การทำงานแบบเป็นระบบได้ เพื่อขับเคลื่อนงานราชการไปสู่มิติใหม่ โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้แบบผสมผสาน ทั้งทางด้านวิชาการ และในภาคปฏิบัติ
|
|
การรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 2 จะเปิดรับสมัคร ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 31 มีนาคม 2549 โดยจะรับสมัครผู้สนใจมาเข้าร่วม โครงการในรุ่นที่ 2 นี้ จำนวนทั้งสิ้น 60 คน
|
สำหรับรายละเอียดของการรับสมัครนั้นยังคงแบ่งผู้สมัครออกเป็น 3 กลุ่มเช่นเคย โดย แต่ละกลุ่ม จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
|
1. กรณีบุคคลที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาวิชาใดๆ และมีอายุไม่เกิน 30 บริบูรณ์ในวัน ปิดรับสมัคร หรือ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก มีอายุไม่เกิน 35 ปีบริบูรณ์ในวันปิด รับสมัคร
|
2. กรณีบุคคลที่เป็นข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทต่าง ๆ
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาวิชาใดๆ และมีอายุไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์
ในวันปิดรับสมัคร หรือ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก มีอายุไม่เกิน 35 ปีบริบูรณ์
์ในวันปิดรับสมัคร
- มีประสบการณ์ทำงานในส่วนราชการไม่น้อยกว่า 2 ปี
|
3. กรณีบุคคลที่ทำงานในภาคเอกชน หน่วยงานหรือองค์การระหว่างประเทศ
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาวิชาใดๆ และมีอายุไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์
ในวันปิดรับสมัคร หรือ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก มีอายุไม่เกิน 35 ปีบริบูรณ์
ในวันปิดรับสมัคร
- มีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 2 ปี
|
หลักฐานประกอบการสมัคร
1. รูปถ่ายขนาด 3x4 ซม. หน้าตรงไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 3 รูป (ติดใบสมัคร 1 รูป และติดบัตรประจำตัวผู้เข้าสอบ 2 รูป)
|
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ถ่ายเอกสารหน้า-หลังอยู่หน้าเดียวกัน)
|
3. สำเนา ก.พ. 7 หรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวกับประวัติการรับราชการ ในกรณีที่ผู้สมัครเป็น ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
|
4. สำเนาใบปริญญาบัตร และสำเนาใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) ระดับปริญญาตรี ขึ้นไป โดยจะต้องสำเร็จการศึกษา และได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติภายในวันรายงานตัว
เข้าร่วมโครงการ (23 มิ.ย. 2549)
|
5. สำเนาใบแสดงผลการสอบ TOEFL หรือ IELTS และ GMAT (ถ้ามี)
|
6. สำเนาหลักฐานอื่นๆ เช่น ใบเปลี่ยนชื่อนามสกุล (ในกรณีที่ชื่อ-นามสกุลในหลักฐาน การสมัครไม่ตรงกัน)
|
ทั้งนี้ ให้ผู้สมัครคัดเลือกเขียนคำรับรองว่าสำเนาถูกต้อง และลงชื่อกำกับในสำเนาหลักฐาน ทุกฉบับ
|
สำหรับการทดสอบเพื่อเข้าร่วมโครงการฯ นั้น ผู้สมัครจะต้องผ่าน การทดสอบความรู้ ใน 3 ขั้นตอน ดังนี้
|
ขั้นตอนที่ 1 การทดสอบความรู้พื้นฐาน
|
1. วิชาภาษาไทย (เน้นความสามารถทางการด้านการสื่อสาร)
|
2. วิชาความสามารถทางภาษาอังกฤษ (CU-TEP)
ผู้สมัครที่มีผลการสอบ TOEFL ได้คะแนน 550 ขึ้นไป สำหรับการสอบแบบ Paper- based Testing หรือได้คะแนน 213 ขึ้นไป สำหรับการสอบแบบ Computer-based Testing หรือผลการสอบ IELTS ได้คะแนน 6.0 ขึ้นไป โดยผลการสอบดังกล่าวจะต้องมี ีอายุไม่เกิน 2 ปี นับจากวันสอบ จึงจะได้รับการยกเว้นการสอบวิชาความสามารถทาง ภาษาอังกฤษ (CU-TEP)
|
3. วิชาความถนัดทางการจัดการ
ผู้สมัครที่มีผลการสอบ GMAT ได้คะแนน 450 ขึ้นไป โดยผลการสอบดังกล่าว จะต้องมีอายุไม่เกิน 5 ปี นับจากวันสอบ จึงจะได้รับการยกเว้นการสอบวิชาความถนัด ทางการจัดการ
|
ผู้สมัครจะต้องสอบผ่านการทดสอบความรู้พื้นฐานทั้ง 3 วิชา จึงจะมีสิทธิ์เข้า ทดสอบ ในขั้นตอนที่ 2
|
ขั้นตอนที่ 2 การทดสอบความรู้เฉพาะตำแหน่ง
|
1. การทดสอบข้อเขียน เพื่อประเมินความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์การใช้ความคิด เชิงเหตุผลและความคิดในเชิงสร้างสรรค์ ในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การบริหาร การต่างประเทศ ในประเด็นร่วมสมัยของไทย
|
2. การทดสอบวัดสภาวะทางจิตใจและอารมณ์ และความสนใจในการรับราชการ
ผู้สมัครที่สอบผ่านการทดสอบตามขั้นตอนที่ 2 จึงมีสิทธิ์เข้าทดสอบ ในขั้นตอนที่ 3
|
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความเหมาะสมทางบุคลิกภาพและพฤติกรรม
|
1. การประเมินบุคลิกภาพด้วยการสอบสัมภาษณ์
|
2. การประเมินพฤติกรรมด้วยวิธี Assessment Center
ทั้งนี้ ผู้ที่ผ่านการทดสอบในขั้นตอนที่ 2 จะต้องนำใบรับรองแพทย์ (ต้นฉบับ) จาก แพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลป์ สาขาเวชกรรม และแสดงว่ ไม่เป็นโรคที่ต้องห้ามตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 3(พ.ศ.2535) ซึ่งออกให้ไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันสอบ มายื่นในวันเข้ารับการสอบสัมภาษณ์ ในขั้นตอนที่ 3
|
ค่าใช้จ่ายในการทดสอบ
|
ผู้สมัครจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการทดสอบรวมทั้งสิ้น 1,900 บาท ดังนี้
ค่าทดสอบวิชาความสามารถทางภาษาไทย 600 บาท
ค่าทดสอบวิชาความสามารถทางภาษาอังกฤษ (CU-TEP) 600 บาท
ค่าทดสอบวิชาความถนัดทางการจัดการ 500 บาท
ค่าธรรมเนียม 200 บาท
|
การขอรับและยื่นใบสมัคร
|
|
สำหรับวิธีการสมัครนั้น ผู้ที่สนใจสามารถสมัครด้วยตนเองและชำระค่าสมัครที่ สถาบันส่งเสริม การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือสมัครและชำระค่าสมัครทางไปรษณีย์ โดยเขียนธนาณัติ
สั่งจ่าย ศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และส่ง เอกสารการสมัครไปที่ สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เลขที่ 254 อาคารวิทยกิตติ์ ชั้น 13 ซอยจุฬาลงกรณ์ 64 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 31 มีนาคมนี้
|
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการทดสอบขั้นตอนที่ 1 การทดสอบความรู้พื้นฐาน ในวันที่ 11
เมษายน 2549 ทาง http://www.igpthai.org/และ http://www.opdc.go.th/
|
|
มีข่าวประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมจาก สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขอเชิญ
ผู้สนใจเข้ารับฟัง การแนะนำโครงการพร้อมตอบข้อซักถาม โดยผู้บริหารสถาบันฯและผู้เข้าร่วมโครงการนปร.รุ่นที่ 1 ได้ในวันพุธที่ 15 มีนาคม 2549 เวลา 16.00 - 18.00 น. ณ อาคารวิทยกิตติ์ ( ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สยามสแควร์ ) ชั้น 13 ซอยจุฬาลงกรณ์ 64 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ผู้สนใจสามารถสำรองที่นั่งได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายที่ โทร. 02 252 6286-8
email : webmaster@igpthai.org
|
|
โครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ เป็นโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนา นักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ ที่มีขีดสมรรถนะสูง เป็นได้ทั้ง นักคิดที่มีวิสัยทัศน์ (Visionary Thinker) นักพัฒนาและนักวางแผน ที่มีความเชี่ยวชาญ (Developer and Planner) และนักปฏิบัติที่สามารถแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผล (Operation Manager)เป็นการสร้างคนเก่ง พัฒนาคนดี ป้อนเข้าสู่ระบบ ราชการ ยุคใหม่ โดยการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรผู้มีความสามารถสูงเป็นคนเก่ง คนดี และมีความรักในการเป็นข้าราชการ ซึ่งหลังจากสำเร็จการเรียนรู้แล้ว ผู้เข้าร่วมโครงการ จะได้รับการพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 4 ถึงระดับ 8 ในหน่วยงานภาครัฐที่มีความ สำคัญทางยุทธศาสตร์การ พัฒนาประเทศ โดยพิจารณาจากความรู้ ความสามารถสมรรถนะ ศักยภาพและผลการปฏิบัติงานของผู้เข้าร่วมโครงการเป็นสำคัญ
อ่านสรุปความก้าวหน้าโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ รุ่นที่ 1
|