สวัสดีค่ะ  ถึงเศรษฐกิจจะ้
ตกสะเก็ด น้ำมันขึ้นราคาสูงและ
การเมืองป่วน?   แต่ดูเหมือนสิ่ง
เหล่านี้จะไม่มีผลกระทบต่อสาระ
อันมีประโยชน์   e-Newsletter
แต่อย่างไรเลย
      ฉบับนี้ ขอนำเรื่อง สุดHot!
มานำเสนอ อาทิเช่นการจัดสรร
เงินรางวัล    คลินิคสัญจรให้คำ
ปรึกษาแก่ส่วนราชการและการ
เปิดตัว   สถาบันประชาสัมพันธ์ เป็น SDU   เป็นอย่างไร นั้น
โปรดติดตามค่ะ!

 

e-news ย้อนหลัง




บทบาทภาวะผู้นำของข้าราชการไทย

กับการพัฒนาประเทศ

อย่างยั่งยืน ... Part I

            เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2549 สำนักงาน ก.พ.ร. โดยกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ร่วมกับกลุ่มบริษัท PacRim ได้จัดการสัมมนาเรื่อง “บทบาทภาวะผู้นำของ ข้าราชการไทยกับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” ขึ้น ณ ห้องราชพฤกษ์บอลรูม ชั้น 2 อาคารสโมสรกีฬา สโมสรราชพฤกษ์ ถนนวิภาวดีรังสิต โดยมี ก.พ.ร.ธรรมรักษ์ การพิศิษฏ์ เป็นประธาน

            ผู้เข้าร่วมการสัมนนาในครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหารสูงสุดด้านการจัดการความรู้ (Chief Knowledge Officer)ของส่วนราชการต่าง ๆ ที่มาร่วมรับฟังการบรรยาย การถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับ บทบาทภาวะผู้นำของข้าราชการไทย ที่จำเป็นต่อการพัฒนาองค์กร และพัฒนา ประเทศอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ เพื่อให้การสัมมนาดังกล่าวเป็นการสนับสนุนให้เกิด การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการให้กับ CKO ของหน่วยงานต่าง ๆ

            ในช่วงแรกของการสัมมนานั้น เป็นการบรรยายของผู้ทรงคุณวุฒิ ในเรื่องเกี่ยวกับภาวะผู้นำยุคใหม่ ได้แก่

             ท่านธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ กรรมการ ก.พ.ร. บรรยายเรื่อง บทบาทภาวะผู้นำของข้าราชการไทยต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

             คุณพรทิพย์ อัยยิมาพันธ์ ประธานบริหารกลุ่มบริษัท PacRim บรรยายเรื่อง ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง ภาวะผู้นำยุคใหม่ : กรณีตัวอย่างความสำเร็จ ในบริบทต่างประเทศกับารนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย

บทบาทภาวะผู้นำของข้าราชการไทยต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
 

        ท่านธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ กรรมการ ก.พ.ร. กล่าวถึงภาวะผู้นำ ว่า “ผู้นำ” ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก ซึ่งในอดีตนั้นเป็นยุคของ การรวมศูนย์อำนาจ กล่าวคือ อำนาจอยู่ในมือของข้าราชการ และ ผู้นำคือผู้ควบคุมกำกับบังคับบัญชา ในลักษณะของ“คุณพ่อรู้ดี” อีกทั้งยังไม่มีการจัดการความรู้ เพราะ คิดว่าไม่ใช่สิ่งจำเป็น       

เนื่องจากผู้นำไม่มีหน้าที่ในการจัดการความรู้ แต่มีหน้าที่ถ่ายทอดคำสั่งและควบคุม กำกับให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับที่กำหนดไว้   
   
 
แต่ในปัจจุบัน ภาวะผู้นำได้เปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลง ของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว สลับซับซ้อนและไม่แน่นอน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลง ทางด้านเทคโนโลยี      ข้อมูลข่าวสารรวมทั้งกระแสในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นทำให้โลก ในศตวรรษที่ 21 เป็นโลกที่เป็น พลวัตรและเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายที่ไร้พรมแดน


 


            ด้วยเหตุนี้ เมื่อกล่าวถึงบทบาทของผู้นำในปัจจุบัน ต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เราจึงต้องเปลี่ยนวิธีคิด โดยให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ เพราะข้อมูลข่าวสารต่าง ๆเกิดขึ้นทุกวัน และเราต้องติดตามนำข้อมูลเหล่านั้นมาสร้างความรู้สร้างปัญญาต่อไป

            ในการจัดการกับโลกสมัยใหม่เราต้องมีภาวะผู้นำในตัวเองในการจัดการ- ความรู้ กล่าวคือภาวะผู้นำ หรือLeadership นั้น จะต้องมีในทุกระดับ ไม่ใช่เพียงผู้บังคับบัญชาเท่านั้นเพื่อปรับตัวเองให้อยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงได้

            การจัดการความรู้ไม่ใช่เพียงการจัดระบบที่เป็น Hardware หรือ ระบบรวบรวม ข้อมูลที่เป็นรูปธรรมเป็นวิชาการเป็นตัวเลขเท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการจัดการความรู้ คือการจัดการกับสิ่งที่เป็น Software ซึ่งก็คือ มนุษย์ นั่นเองเพราะในศตวรรษที่ 21 นี้ ให้ความสำคัญกับเรื่องของการมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human Center)

            การสร้างภาวะผู้นำในตนเองให้เกิดขึ้น เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนนั้นจะต้อง เริ่มที่การปรับเปลี่ยนวิธีคิด และกระบวนทัศน์ ของตนเอง โดยเรียนรู้เชื่อมั่นและศรัทธา ในตนเอง empower ตัวเอง ว่าเรามีศักยภาพ ในความเป็นมนุษย์ทั้งทางกายทางใจ และ ทางจิตวิญญาณ สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็ม ศักยภาพ รวมทั้งปรับเปลี่ยนวิธีคิดจากเดิม คือการคิดแบบใช้อำนาจแบบครอบงำ แบบควบคุมกำกับ

    โดยมองทุกอย่างเป็นสิ่งไม่มีชีวิต หรือเป็นวัตถุสิ่งของที่เราจะเข้าไป ควบคุมกำกับตามที่เราต้องการซี่งเป็นการคิดแบบแยกส่วน

            แต่ภาวะผู้นำในองค์กรสมัยใหม่ในการจัดการกับความรู้นั้น ไม่สามารถคิดแบบแยกส่วน หรือมองทุกอย่างเป็นสิ่งไม่มีชีวิตได้ หากแต่จะต้องมองคนให้ครบแบบเป็นองค์รวมโดย Stephen R. Covey ได้กล่าวไว้ในหนังสือ The 8th Habit ว่า เราต้องเปลี่ยน กระบวนทัศน์จากการมองทุกอย่างเป็นสิ่งของ (Thing Paradigm) ที่เน้นการกำกับควบคุมมาเป็นการมองทุกอย่างเป็น People Centered Paradigm โดยมองคนเป็นศูนย์กลางแบบบูรณาการ คือมองคนเป็นมนุษย์ที่เราต้องให้เกียรติ ให้เขามีส่วนร่วมคิดร่วมทำ และได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ

            นอกจากนี้ ก.พ.ร. ธรรมรักษ์ ยังได้กล่าวถึง วัฒนธรรมของผู้นำ 12 ประการ ซึ่งใน การสร้างภาวะผู้นำในตัวเองนั้น เราจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดและกระบวนทัศน์ เพื่อสร้างให้เกิดวัฒนธรรมทั้ง 12 ประการนี้ ได้แก่

            1. อย่าบังคับควบคุมผู้ปฏิบัติงาน (Don’t Control Employees involves them) ต้องจูงใจให้เขาอยากทำ ทำให้เขารู้สึกเป็นเจ้าของการเปลี่ยนแปลง และเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งการมีส่วนร่วมนั้น เป็นกลไกสำคัญของการจัดการความรู้

            2. ต้องประพฤติตัวเป็นแบบอย่าง (Model Behavior You Want) ทำอย่างที่พูด ต้องการให้ผู้อื่นเป็นอย่างไรก็ต้องทำตัวเองให้เป็นแบบอย่างก่อน

          3. ทำตัวให้เห็นเด่นชัด (Make Yourself Visible)

                     

            4. ส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงให้ชัดเจน (Make a Clear Break With a Past)

          5. สนับสนุนผู้บุกเบิก (Unleash-but Harness-the Pioneers)

          6. เสาะหาเลือดใหม่ และค่อย ๆ ถ่ายเลือด (Get a Quick Shot of New Blood and Allow Transfusion)

          7. ขจัดความกลัว และอย่าอดทนต่อต้านการเปลี่ยนแปลง (Drive Out Fear – but Don’t Tolerate Resistance)

         8. สร้างความสำเร็จจากความสำเร็จ (Sell - Success)

       9. สื่อสารกันตลอดเวลา (Communicate, Communicate, Communicate)

      10. สร้างสะพานเชื่อมระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในองค์กร (Fault Lines)

          

        11. ปรับกระบวนการบริหารให้สนับสนุน วัฒนธรรม (Change Administrative System that Reinforce a Bureaucratic Culture)

        12. ต้องดำเนินการต่อเนื่อง (Commit for the Long Haul)



        
    โดยสรุปแล้ว เมื่อกล่าวถึงผู้นำกับ ความยั่งยืน สิ่งสำคัญที่สุดก็คือการเปลี่ยน กระบวนทัศน์ และมองคนเป็นมนุษย์ ไม่ใช่ สิ่งของที่ต้องคอยควบคุมกำกับ นอกจากนี้ ผู้นำจะต้องเรียนรู้ในการเปลี่ยนวิธีคิด ต้อง empower ตัวเองเพื่อที่จะไป empower ผู้อื่น โดยการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการ มีส่วนร่วม และการร่วมคิดร่วมทำซึ่งจะทำให้ เกิดการมองเห็นภาพร่วมกัน เห็นการ เปลี่ยนแปลงด้วยกันและคิดในเชิงรุกร่วมกัน

ภาวะผู้นำยุคใหม่ : กรณีตัวอย่าง ความสำเร็จในบริบทต่างประเทศกับการนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย
 

            คุณพรทิพย์ อัยยิมาพันธ์ ประธานบริหารกลุ่มบริษัท PacRim ได้กล่าวถึง ความสำคัญของภาวะผู้นำต่อความสำเร็จขององค์กร และการสร้างองค์กรที่มีความสำเร็จ แบบยั่งยืน (Sustained Superior Performance) และเป็นองค์กรที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่

      1. บุคลากรทุกระดับในองค์กรมีศักยภาพ

     2. ผู้นำองค์กรมีศักยภาพ

     3.  องค์กรมีศักยภาพในการปฏิบัติงานให้เกิดผล

          

         หากเปรียบเทียบองค์กรเป็นเสมือนต้นไม้แล้ว ผู้ที่ปลูกต้นไม้ก็ย่อมที่จะต้องหวังผลผลิตที่จะออกมาจากต้นไม้นั้น      เช่นเดียวกับองค์กรที่มุ่งหวังให้เกิด ผลงาน /ผลผลิตให้กับลูกค้าและ ประชาชน ยกตัวอย่าง     เช่น หน่วยงานภาครัฐที่ปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดผลงานเป็นนโยบาย /โครงการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ ต่อประเทศชาติและประชาชน

            การที่ต้นไม้จะผลิดอกออกผลได้นั้น จำเป็นจะต้องมีองค์ประกอบต่าง ๆ ทั้ง ลำต้น กิ่งก้าน ใบไม้ ฯลฯ เช่นเดียวกับองค์กรที่จะต้องประกอบด้วยบุคลากร ที่มีความหลากหลายและแตกต่างกัน ซึ่งการจะทำให้บุคลากรทุกระดับปฏิบัติหน้าที่ ของตนและปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่นนั้น จะต้องอาศัยวัฒนธรรมองค์กร เป็นตัวช่วย เพื่อทำให้บุคลากรในองค์กรมีแนวคิดและแนวทางในการทำงานที่เป็นไป ในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้เราทำงานได้อย่างสร้างสรรค์ ทั้งนี้ วัฒนธรรมองค์กรนั้น จะแตกต่างกันไปในแต่ละองค์กร ขึ้นอยู่กับสิ่งที่องค์กรนั้น ๆ มุ่งเน้น เช่น Team work การเสียสละ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ เป็นต้น

          อีกส่วนหนึ่งของต้นไม้ที่เรามองไม่เห็น แต่มีความสำคัญมากต่อความแข็งแรง ของต้นไม้ ก็คือ ราก เช่นเดียวกับแหล่งที่มาของวัฒนธรรมองค์กรที่ต้องมา จากองค์ประกอบสำคัญ 2 ด้าน คือ คุณลักษณะ (Characters) และความรู้ความสามารถ (Competencies) ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดวัฒนธรรมองค์กรที่จะทำให้องค์กรมีความเข้มแข็ง และประสบความความสำเร็จ  เพราะฉะนั้น หน้าที่สำคัญประการ หนึ่ง ของผู้นำองค์กรก็คือต้องพัฒนาคุณลักษณะและความรู้ความสามารถ ของบุคลากรในองค์กรอย่างต่อเนื่อง

 ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาองค์กรจากส่วนที่ สำคัญที่สุด  นั่นคือการพัฒนาตัวบุคคล โดยการสร้างให้บุคคลมีความน่าไว้วางใจ (Trustworthiness) ซึ่งจะทำให้เกิด ทีมงานที่มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ทุกคนทำหน้าที่ของตนอย่างดีที่สุด มีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทาง เดียวกัน

            

คุณพรทิพย์ ได้อ้างอิงถึงหนังสือ The 7 Habits of Highly Effective People ของ Stephen R. Covey ที่กล่าวถึง ผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ว่าจะ ต้องเป็นผู้นำที่มีวุฒิภาวะที่ดี ซึ่งวุฒิภาวะ ของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

           1. Dependence คือ ต้องพึ่งพาคนอื่น ซึ่งจะไม่สามารถเป็นผู้นำที่ดีได้
          2. Independence คือ มีความมั่นใจในตนเอง มีจุดยืน มั่นคง
          3. Interdependence คือ สามารถพึ่งพาตนเองและนำคนอื่นได้ ซึ่งเป็น วุฒิภาวะที่ควรมีในตัวของผู้นำที่ดี

            การนำพาตนเองไปสู่การเป็นผู้นำที่มีวุฒิภาวะในระดับ Interdependence ได้นั้น จะต้องเริ่มจากการพัฒนาตนเองให้มี 7 อุปนิสัยที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำ ที่มีประสิทธิภาพ คือ

          1. Be Proactive : รับผิดชอบในสิ่งที่เลือก/ทำ โดยไม่ปัดความรับผิดชอบ ทั้งนี้ เพราะทุกคนมีทางเลือกขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกที่จะทำอะไร จึงจะต้องเลือก และทำอย่างมีสติ และรับผิดชอบในสิ่งที่เลือกและผลลัพธ์ของสิ่งที่ทำ

          2. Begin with the End in Mind : ต้องมีวิสัยทัศน์ รู้ว่าสิ่งที่ต้องการ คืออะไรรู้จักเป้าหมายที่ชัดเจน

          3. Put First Things First : ทำแต่สิ่งที่สำคัญและ ใช้เวลาให้คุ้มค่าเต็มที่มีจุด มุ่งหมาย ไม่หลงทาง

         4. Think Win-Win : ใจกว้าง ไม่คิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัวยินดีต่อ ความสำเร็จของผู้อื่น

        5. Seek First to Understand, Then to be Understood : เข้าใจซึ่งกัน และกัน รับฟังความต้องการ และข้อแนะนำของผู้อื่น

            6. Synergize : เกิดพลังร่วม เป็น team work ที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน สามารถทำงานร่วมจนเกิดผลสัมฤทธิ์ ทำให้ 1+1 ได้ผลลัพธ์ที่มากกว่าร้อย มากกว่าพัน

          7. Sharpen the Saw : พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทั้งกาย วาจา ใจ

            อุปนิสัย 3 ข้อแรกนั้น จะทำให้เราสามารถจัดการชีวิตให้ตนเองมีความมั่นคง มีจุดยืน และมีเป้าหมายที่ชัดเจนซึ่งจะนำไปสู่การเป็นผู้นำในระดับ Independence แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้ที่จะมีภาวะผู้นำที่พึงประสงค์จะต้องพัฒนาตนเองไปสู่ผู้นำที่มีวุฒิ ภาวะในระดับ Interdependence ให้ได้ โดยการเสริมสร้างอุปนิสัยในข้อที่ 4 – 7 ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง

นอกจากอุปนิสัยทั้ง 7 ประการ ดังกล่าวแล้ว คุณพรทิพย์ยังได้กล่าวถึง บทบาทของ
ผู้นำที่จะนำพาองค์กรไปสู่ ความสำเร็จ
ซึ่งได้แก่

            1. ผู้นำต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อให้บุคลากรในองค์กรเกิดความ ศรัทธา และต้องการทำตามผู้นำ

            2. ผู้นำต้องให้วิสัยทัศน์และทิศทางที่ชัดเจนขององค์กร และสื่อสาร ให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจ

            3. ผู้นำต้องทำให้สิ่งต่างๆในองค์กรมีความสอดคล้องมีระบบ สนับสนุนที่ทำให้การดำเนินงานต่าง ๆ ภายในองค์กรสามารถเกิดขึ้นได้

            4. ผู้นำต้องรู้จัก empower บุคลากรในองค์กร เนื่องจากความสำเร็จ ขององค์กร นั้นจะเกิดขึ้นได้จากความ ร่วมมือในการปฏิบัติงานของทุกคน ในองค์กร