เวทีนวัตกรรม 2548 (Part I) :
การขับเคลื่อนองค์การ
เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จสูงสุด
|
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2548 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดการสัมมนาวิชาการประจำปี หรือ เวทีนวัตกรรม 2548 (Innovative Forum 2005) ในหัวข้อ การบริหารงานภาครัฐอย่างมีขีดสมรรถนะสูง (High Performance Public Management) ขึ้น ณ ห้อง ESCAP HALL ศูนย์การประชุมองค์การสหประชาชาติ (UNCC) โดยมีผู้บริหารขององค์กรภาครัฐต่าง ๆ เข้าร่วมรับฟังการบรรยายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากต่างประเทศ เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปสนับสนุนการดำเนินงานและผลักดันให้องค์กรภาครัฐสามารถ ปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก
|
|
ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าวถึงการจัดสัมมนา วิชาการประจำปีของ สำนักงาน ก.พ.ร. หรือ เวทีนวัตกรรม (Innovative Forum) ว่า ได้ถูกริเริ่มขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยมีวัตถประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้ผู้บริหารของภาครัฐได้แลกเปลี่ยน องค์ความรู้ซึ่งกันและกัน |
|
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อให้ผู้บริหารของภาครัฐได้รับทราบถึงพัฒนาการด้านการบริหารจัดการ สมัยใหม่ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับภาคราชการ โดยในปี 2548 นี้ ใช้หัวข้อการสัมมนาว่า High Performance Public Management หรือ การบริหารงานภาครัฐอย่างมี ขีดสมรรถนะสูง ซึ่งตรงกับทิศทางการพัฒนาระบบราชการที่กำลังจะดำเนินต่อไป
|
ประเด็นแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการสัมมนาครั้งนี้ ประกอบด้วย 2 ประเด็นหลัก คือ |
การขับเคลื่อนองค์การเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จสูงสุด (Moving Towards High Performance Government Organizations) โดย Dr.Robert J. Thomas |
การสร้างเครือข่ายและพันธมิตรในการปฏิบัติงานเพื่อความสำเร็จของหน่วยงานภาครัฐ (Governing By Network : The New Shape of the Public Sector)
โดย Mr.William D. Eggers |
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร.ได้รับความร่วมมือจากบริษัทที่ปรึกษา คือ บริษัท เอคเซนเชอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด และ บริษัท ดีล้อยท์ ทูช โทมัชสุ จำกัด ในการเชิญวิทยากรทั้ง 2 ท่าน ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์
ด้านการบริหารจัดการภาครัฐมาบรรยาย |
|
เวทีนวัตกรรมนั้น จะจัดต่อเนื่องไปทุกปี โดยหวังว่าจะเป็นโอกาสอันดีที่จะนำเสนอความรู้ใหม่ ๆและเป็น เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้มีการนำไปประยุกต์ใช้ใน ภาคราชการ เพิ่ม มากขึ้น ซึ่งต้องอาศัยการร่วมแรงร่วมใจของผู้บริหารขององค์กรภาครัฐ ในการเป็นเครือข่ายช่วย ขับ เคลื่อนระบบราชการของไทยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน ถาวร ซึ่งจะเป็นรากฐานที่มั่นคงในการ พัฒนาระบบราชการต่อไป |
ขอสรุปประเด็นสำคัญของการบรรยายในหัวข้อ การขับเคลื่อนองค์การเพื่อมุ่งสู่ความ สำเร็จสูงสุด (Moving Towards High Performance Government Organizations) โดย Dr.Robert J. Thomas มานำเสนอกันก่อน สำหรับการบรรยายในหัวข้อ การสร้างเครือข่ายและพันธมิตรในการปฏิบัติงานเพื่อความสำเร็จของหน่วยงานภาครัฐนั้น สามารถติดตามได้จากเวทีนวัตกรรม 2548 ( Part II ) ค่ะ
|
การขับเคลื่อนองค์การเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จสูงสุด
(Moving Towards High Performance Government Organizations) |
|
การบรรยายในหัวข้อนี้ ได้รับเกียรติจาก Dr.Robert J. Thomas ซึ่งเป็น Executive Director ของ Accenture's Institute of High Performance Business & Government เป็นผู้บรรยาย โดยมี ดร.นิธินาถ สินธุเดชะ ซึ่งเป็น Partner ของบริษัท เอคเซนเชอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด รับผิดชอบดูแลในสายงานทางด้าน Organization และ Human Performance ใน 9 ประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิค เป็นผู้เกริ่นนำ
|
ดร.นิธินาถกล่าวว่า การบรรยายของ Dr.Thomas จะทำให้เรามองเห็นชัดเจนขึ้นว่า คำว่า High Performance Organization เกิดจากองค์ประกอบใด การทำกิจกรรมใด การคิดอย่างไร ในการที่จะสร้างองค์กรให้เกิดขึ้น ซึ่งผู้ที่เป็นผู้บริหารขององค์กร หรือ Chief Change Officer สามารถนำองค์ความรู้เหล่านี้ไปปรับปรุงและกำหนดทิศทางก้าวเดินขององค์กร เพื่อสร้างให้องค์กร ภาครัฐของไทยเป็นองค์กรที่มีคุณภาพ และสามารถสร้างผลสัมฤทธิ์ สร้างประโยชน์ และคุณค่าให้กับ สังคมได้อย่างแท้จริง โดย Dr.Thomas จะนำเสนอมุมมองว่า ในปัจจุบัน ภาคเอกชนทำอย่างไรเพื่อ ก้าวไปสู่การเป็น High Performance Organization เพื่อให้ผู้บริหารได้กลับมามองย้อนดูว่า สำหรับ ภาครัฐแล้ว ควรจะมีมุมมองอย่างไร และการสร้าง High Performance Government จะเกิดขึ้นได้จากองค์ประกอบใดบ้าง
|
|
จากนั้น Dr.Robert J. Thomas ได้บรรยายถึงสิ่งที่องค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูงทำ เพื่อให้การทำงานที่ีประสิทธิภาพสูงดำรงอยู่ต่อไปในองค์กร โดยได้ หยิบยกสิ่งที่ได้เรียนรู้จากงานวิจัยเกี่ยวกับลักษณะขององค์กร ที่มี ขีดสมรรถนะสูงมานำเสนอ และขอให้ผู้บริหารภาครัฐถามตัวเองว่า สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรภาครัฐอย่างไร |
|
Dr.Thomas กล่าวว่า ในภาคอุตสาหกรรม การเป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะนั้นเป็นเรื่องยาก ไม่ได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ และไม่ใช่ผลพวงของความสำเร็จ เพราะความสำเร็จนั้น เป็นเพียงชั่วคราว และการรักษาความสำเร็จเอาไว้ให้อยู่ต่อไปเป็นระยะเวลานาน ๆ เป็นเรื่องยาก เพราะบริษัทที่ประสบความสำเร็จจะถูกท้าทายและต้องแข่งขันเสมอ ทำให้ในการจัดอันดับบริษัทที่เป็นสุดยอดนั้น จึงมีบริษัทที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นมาอยู่ในอันดับสุดยอดตลอดเวลา |
ข้อบ่งชี้ของการเป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง และทำให้ธุรกิจสามารถเอาชนะคู่แข่งได้
ได้แก่ |
1. การมุ่งตลาด (Market Focus and Position)
คือการนิยามตนเองว่า องค์กรทำธุรกิจอะไร แข่งขันกับใคร รวมไปถึงการกำหนด วิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์กร |
2. ความสามารถที่เด่นชัด (Distinctive Capabilities)
เป็นการนำความสามารถที่เป็นพื้นฐานมาผนวกเข้าด้วยกันและสร้างให้เกิดประสบการณ์ และทำให้เกิดความรู้สึกพึงพอใจของผู้รับบริการ หรือการรวมความสามารถพื้นฐานที่โดดเด่นขององค์กร เข้าด้วยกันแล้วสร้างสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ ขององค์กร
|
3. องค์ประกอบของการบริหารงานที่มีขีดสมรรถนะสูง (High Performance Anatomy)
เป็นประเด็นหลักที่ Dr.Thomas มาบรรยายในครั้งนี้ โดยเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ วัฒธรรมองค์กร คุณค่า ความเชื่อ และวิธีการทำงานของคนในองค์กร ซึ่งวัฒนธรรมองค์กรนั้นเป็นผล ของการกระทำ และกลายเป็นเรื่องราวที่มีการเล่าขานจากรุ่นหนึ่งไปสู่ อีกรุ่นหนึ่ง จนกระทั่งกลายเป็น กรอบ ความคิด (Mindsets) เป็นวิถีความคิดของคนในองค์กร ซึ่งมี &nbs;ีทั้งทางด้านบวกและด้านลบ ดังนั้น จะต้องมีการปรับปรุงวัฒนธรรมขององค์กรเพื่อให้เกิดประสิทธิิผลมากขึ้น และสนับสนุนงานใน ส่วนต่าง ๆ ขององค์กร โดยการทำให้ทั้งความคิดและหัวใจของ บุคลากรทุ่มเทให้กับอนาคต ไม่ใช่ ่ทำไปวัน ๆ และไม่ใช่เพื่อความอยู่รอดของตนเองหรือองค์กร แต่่เป็นการทำให้บุคลากรมีความมั่นใจ อยู่เสมอว่า ตนและองค์กรจะอยู่ต่อไปอย่างเนิ่นนาน ในอนาคต เพื่อส่งมอบงานบริการให้กับผู้รับ บริการ แม้ว่าการบริการนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงก็ตาม
|
|
จากการศึกษาบริษัทในหลาย ๆ สาขาธุรกิจ กว่า 50 บริษัท ในแง่ของมุมมองและกรอบความคิด ความเชื่อในเรื่องของคุณค่า พบว่า องค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูงนั้น จะมีมุมมองและพฤติกรรมที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 5 ประการ คือ |
1. ภาวะผู้นำในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ขององค์กร (Leadership)
เป็นการมองในเรื่องของความสมดุลระหว่างเป้าหมายขององค์กร และการปฏิบัติงาน จริง ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสร้างวิสัยทัศน์ขององค์กร และทำให้วิสัยทัศน์เชื่อมโยงกับความเป็นจริง โดยการกำหนดวิสัยทัศน์ที่สามารถปฏิบัติได้จริง เป็นการดึงพลังซ่อนเร้นที่มีอยู่ออกมา และเป็นการให้
ความสำคัญและสร้างความสมดุลของปัจจุบันและอนาคต โดยการตรงไปตรงมากับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ในปัจจุบัน มองภาพที่เป็นจริง และการสร้างภาพและแรงบันดาลใจที่จะเกิดขึ้นอนาคต และดึงให้ บุคลากรมอง เห็นความสำคัญ มีความมั่นใจ และเข้ามามีส่วนร่วม นอกจากนี้ ผู้นำยังจะต้องสามารถ บริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ สามารถตอบสนองต่อแรงกดดันจากภายในและ ภายนอกที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง และสามารถควบคุมการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
2. การพัฒนาทรัพยากรบุคคล (People development)
เป็นมุมมองเกี่ยวกับระบบเสริมสร้างความสามารถพิเศษแบบทวีคูณ โดยมีความเชื่อใน ขีดความสามารถของบุคลากร ให้อำนาจกับบุคลากร และมองว่าบุคลากรเป็นทรัพยากรและเป็นอนาคต ของ บริษัท จึงให้ความสำคัญกับการสร้างคน ให้โอกาสกับบุคลากรในการพัฒนาและเรียนรู้ในขณะ ที่ทำงาน และเปิดกว้างในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อีกทั้งการสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ส่งเสริมให้ บุคลากรประสบความสำเร็จ และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
โดยสรุปก็คือ การให้ความสำคัญกับการจัดการและการพัฒนาทุนมนุษย์มากเท่า ๆ กับการจัดการเงินทุน หรืองบประมาณรายจ่าย |
|
3. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Technology enablement)
องค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูงมีมุมมอง ใน เรื่องของ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT เป็นสินทรัพย์ในเชิงกลยุทธ์ ยกตัวอย่างเช่น การมีระบบ ที่ดีในการจัดการ IT เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลง แนวโน้มและกระแสความนิยม และนำมาปรับปรุง /ประยุกต์ ใช้กับสินค้าและบริการของตน รวมทั้งการนำเทคโนโลยี ต่าง ๆ มาใช้ในการทำงานให้มีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ช่วยให้ได้เปรีบเหนือคู่แข่ง และที่สำคัญคือ การนำ เทคโนโลยีมาเป็นปัจจัยในการตัดสินใจที่รวดเร็วขึ้น ให้เป็นไปตามกลยุทธ์ และวิสัยทัศน์ขององค์กร |
|
4. การประเมินผลการดำเนินงาน (Performance management)
เป็นมุมมองในเรื่องของระบบการวัดผล โดยจะวัดผลหรือประเมินผลเฉพาะสิ่งที่มี สำคัญในเชิงกลยุทธ์ โดยมีการคิดล่วงหน้าว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญในการทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ เพื่อนำมาเป็นประเด็นที่จะวัดผลหรือประเมิน ทั้งนี้ องค์กรที่มี ขีดสมรรถนะสูงยังได้ให้ความสำคัญ กับสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้มีการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และบริหารสินทรัพย์ เหล่านี้โดยประเมินข้อดี ข้อเสียที่จะได้รับจากการลงทุน |
5. การริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Agility and Innovation)
เป็นมุมมองในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง และริเริ่มอยู่ตลอดเวลา ทั้งใน เรื่องสินทรัพย์และบุคลากร มีการท้าทายตนเอง และปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นความรับผิดชอบเพื่อที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียง ได้รับการยอมรับ และผู้รับบริการเกิดความพึง พอใจอยู่เสมอ
สิ่งสำคัญคือ ต้องทำให้ความรู้สึกรับผิดชอบนั้นเกิดขึ้นในทุกระดับของบุคลากร ตั้งแต่ ผู้บริหารระดับสูงไปจนกระทั่งถึงระดับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้ทุกคนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อหา เทคนิควิธีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะปรับปรุงการทำงานขององค์กรให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งความคิด
ริเริ่มและนวัตกรรมต่าง ๆ อาจจะไม่ได้มาจากบุคลากรภายในหน่วยงานเท่านั้น แต่ยังจะมาจากองค์กร
อื่น ๆ หรือจากผู้รับบริการได้อีกด้วย เพียงแต่เราจะต้องเข้าใจถึงความต้องการของผู้รับบริการ เพื่อนำมาปรับปรุงการทำงาน และริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจนั่นเอง |
|
ในการบรรยายครั้งนี้ Dr.Thomas ได้มีการหยิบยกตัวอย่างกรณีศึกษาขององค์กรเอกชนต่าง ๆ อาทิเช่น UPS Marriott Toyota General Electric Amezon.com Nokia 3M Johnson & Johnson เป็นต้น มาประกอบการบรรยายเกี่ยวกับองค์ประกอบทั้ง 5 ด้าน ของการ เป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูงด้วย |
|
ในช่วงท้ายเป็นการตอบข้อซักถามต่าง ๆ จากผู้รับฟังการบรรยาย โดยมี ดร.นิธินาถ เป็นผู้ดำเนินรายการ จากนั้น Dr.Thomas ได้ให้ข้อคิดทิ้งท้ายไว้ว่า องค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง เป็นองค์กรที่รักที่จะเรียนรู้ ทั้งการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งการเรียนรู้นั้น เป็นประสบการณ์ที่ท้าทาย ไม่ใช่การ ทดสอบ แต่เป็นการตระหนักว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่เรารู้และไม่รู้ ต้องเปิดใจที่จะเรียนรู้ และให้คุณค่ากับการ เรียนรู้ เพื่อให้องค์กรสามารถดำรงอยู่ได้ และนั่นจะเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งขององค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง |
ดร.นิธินาถได้กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า หากจะกล่าวว่า High Performance Organization คือผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลง ผลลัพธ์ของการคิดที่แตกต่างและสร้างสรรค์ เราคงต้องหันกลับ มามองว่า คำจำกัดความของ High Performance Organization ของพวกเราหมายถึงอะไร และสิ่งที่เราต้องการมองเห็นคืออะไร ณ วันนี้เองที่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและการปฏิรูประบบราชการ เกิดขึ้นมา ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากแค่ความคิดของใครบางคน แต่สิ่งที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดการปฏิรูป และการสร้างประสิทธิภาพในภาครัฐให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศใดในโลก ก็คือ Public Demand หรือความคาดหวังและความต้องการของประชาชนที่แตกต่างที่แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งเป็นผลมากจาก สิ่งที่องค์กรเอกชนทำ ทำให้ประชาชนเกิดความคาดหวังอย่างใหม่ขึ้น ซึ่งประชาชนหรือลูกค้าของภาค เอกชนนั้น ก็คือเป็นผู้บริการของภาครัฐด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้น เมื่อความต้องการ และความคาดหวังของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป โจทย์ของภาครัฐก็ควรจะต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย
|
หากการสร้างคุณค่า (Value Creation) ในภาคเอกชนหมายถึงการสร้างผลตอบแทนอย่างสินทรัพย์ ์และทุนให้มากที่สุด สำหรับภาครัฐแล้ว การสร้างคุณค่าก็คือ การสร้างประโยชน์์ให้สูงสุดจาก งบประมาณ และในขณะเดียวกันในปัจจุบันซึ่งเป็นยุค Knowledge Economy การสร้างคุณค่าคงจะ ไม่ได้เป็นการมองในเชิงของสินทรัพย์ที่จับต้องได้เพียงเท่านั้น แต่อยู่บนองค์ความรู้ ศักยภาพของ บุคลากร และประสิทธิภาพของกระบวนการที่เราทำ รวมทั้งเทคโนโลยีที่สร้างเสริมประสิทธิภาพต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานให้เพิ่มมากขึ้นด้วย
|
ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เป็นความจริง ดังนั้น ในการมอง Performance Anatomy คงไม่แตกต่างกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นในเชิงของภาวะผู้นำ (Leadership)ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องสร้างศักยภาพของผู้นำ ที่สามารถนำองค์กรไปสู่การ เปลี่ยนแปลงได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างคนได้
|
การสร้างบุคลากรนั้น จำเป็นจะต้องสร้างบุคลากรที่ตอบโจทย์เป้าหมายและกลยุทธ์ขององค์กร อย่างแท้จริง และ ณ วันนี้ ทุก ๆ องค์กรของภาครัฐได้มีการทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change) ซึ่งเป็นการตอบโจทย์ว่า ในการที่จะให้แต่ละองค์กรของ ภาครัฐบรรลุซึ่งผลสำเร็จ และเป้าหมายของกลยุทธ์และยุทธศาสตร์ที่ตั้งไว้นั้น บุคลากรในองค์กรของเราต้องมีคุณลักษณะและ ความสามารถอะไรบ้าง ซึ่ง ดร.นิธินาถได้ฝากประเด็นนี้ไว้กับผู้บริหารของภาครัฐในทุกหน่วยงาน เพื่อช่วยสนับสนุนทีมที่จัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง ให้สามารถนำแนวคความคิดดี ๆ เหล่านั้นไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง เพื่อที่วันข้างหน้าทุกองค์กรจะมีบุคลากรที่มีีคุณสมบัติิตรง
ตามความต้องการ ภายใต้เป้าหมายและกลยุทธ์ที่องค์กรได้วางไว้
|
การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ สร้างความแตกต่าง สร้างประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน นับว่าเป็นปัจจัยที่ช่วยสร้าง ความเข้มแข็งให้องค์กร ดังนั้น องค์กรที่มีขีด สมรรถนะสูงจะต้อง มองว่าวิธีใดที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนทำให้องค์กรสามารถ พัฒนาตนเอง ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
นอกจากนั้น ในเรื่องของ Performance Management นั้น การบริหารการปฏิบัติและการบริหารผลลัพธ์ของการดำเนินงาน ทั้งหลาย หากองค์กรไม่มุ่งผลสำเร็จ มุ่งผลสัมฤทธิ์ ก็คงจะไม่ สามารถมองเห็นเป้าหมายที่แท้จริง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การวัดผลและ การประเมินผลไม่ได้วัดเพียงแค่ว่าองค์กรอยู่ตรงไหน แต่ยังประเมินเพื่อหาจุดและประเด็นที่จะทำให้องค์กรดีขึ้นอีกด้วย |
|
|
องค์ประกอบสุดท้ายคือ การมุ่งไปสู่การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในสิ่งใหม่ ซึ่งในความหมายของ คำว่า Innovation นั้น ไม่ได้เป็นเรื่องของนวัตกรรมที่จะต้องแปลก และแตกต่าง แต่จริง ๆ แล้วมี ีความหมายของการเปลี่ยนแปลงแฝงอยู่ในนั้นเป็นสาระสำคัญ เพราะฉะนั้น องค์กรทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชนจำเป็นต้องมุ่งไปสู่แนวคิดใหม่ และการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อสร้างการพัฒนา อย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง และนี่คือหัวใจขององค์กรที่เป็น High Performance Organization ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน |
และสำหรับภาครัฐแล้ว ความมุ่งมั่นของผู้บริหารในการนำพาองค์กรไปสู่การเป็น High Performance
Government นอกจากจะทำให้องค์กรภาครัฐมีขีดสมรรถสูงแล้ว นั่นหมายถึงความมั่นคงแข็งแรง และ
โอกาสดี ๆ ที่ประชาชนจะได้รับต่อไปด้วย
|
|
เลขาธิการ ก.พ.ร. มอบของที่ระลึกพร้อมถ่ายภาพร่วมกับวิทยากรทั้ง 2 ท่าน
เวทีนวัตกรรม 2548 (Part II) ต่อ >>>
|