มติคณะรัฐมนตรีวันอังคารที่ 4 กรกฎาคม
2549
ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ก.พ.ร.
การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 4 กรกฎาคม
2549 ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ตึกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหลังใหม่
ทำเนียบรัฐบาล ได้พิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานของสำนักงาน ก.พ.ร.
จำนวน 7 เรื่อง ดังนี้
เรื่องที่ 3
ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเบี้ยประชุม และประโยชน์ตอบแทนอื่น
ของประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ
และอนุกรรมการ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
. |
คณะรัฐมนตรีพิจารณา
ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานกรรมการ
รองประธานกรรมการ กรรมการ และอนุกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และมีมติให้สำนักงาน ก.พ.ร.
พิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นของคณะกรรมการองค์การมหาชน
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547
โดยกำหนดให้องค์การมหาชนที่อยู่ในประเภทหรือกลุ่มเดียวกัน
ควรมีอัตราเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นเพียงอัตราเดียว
แล้วให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยด่วนภายในสองสัปดาห์
พร้อมกับร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานกรรมการ
รองประธานกรรมการ กรรมการ และอนุกรรมการ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
เรื่องที่ 5
การดำเนินงานของสำนักงานกำกับระบบ GFMIS
และโครงการเร่งด่วน |
คณะรัฐมนตรีอนุมัติการจัดตั้งสำนักงานกำกับระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์
(GFMIS) เป็นหน่วยงานบริการรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit -
SDU) การต่อสัญญาจ้าง ดำเนินการกับ บมจ.ธนาคารกรุงไทย
และการดำเนินการส่วนขยายที่เป็นโครงการเร่งด่วน
ตามมติคณะกรรมการกำกับระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์
ครั้งที่ 1/2549 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2549
ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ
และสำนักงาน ก.พ.ร.
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
เรื่องที่ 7
แผนปรับโครงสร้างสินค้าข้าว |
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการแผนปรับโครงสร้างสินค้าข้าว
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
สำหรับงบประมาณเพื่อใช้ดำเนินงานตามแผนปรับโครงสร้างข้าว ปี 2549 จำนวน
291.229 ล้านบาท
ให้เจียดจ่ายจากงบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตามลำดับความจำเป็นของแต่ละแผนงานไปก่อน
โดยแผนปรับโครงสร้างสินค้าข้าว
มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1.
วัตถุประสงค์ 1.1
เพื่อให้มีกรอบทิศทางการพัฒนาข้าวในระยะยาวอย่างชัดเจน 1.2
เพื่อพัฒนาการผลิตข้าว และผลิตภัณฑ์ข้าว 1.3
เพื่อให้ชาวนามีรายได้และความเป็นอยู่ดีขึ้น 1.4
เพื่อสนับสนุนการส่งออกข้าวและผลิตภัณฑ์ให้ขยายตัวมากขึ้น
2.
แนวทางการดำเนินงาน ประกอบด้วย 4
ยุทธศาสตร์
2.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 วิจัยและพัฒนาข้าว
2.2
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาการผลิตข้าว
2.3
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาชาวนา
2.4 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างมูลค่าเพิ่ม
3.
มาตรการสนับสนุน ประกอบด้วย 5
มาตรการ
3.1
มาตรการกำหนดเขตการปลูกข้าวตามกลุ่มพันธุ์
3.2 มาตรการผลักดันให้มีการใช้มาตรฐานการซื้อขายข้าวเปลือก
3.3 มาตรการจูงใจให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการผลิตข้าวให้ได้มาตรฐาน Q
ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
3.4 มาตรการจัดตั้งองค์กรที่รับผิดชอบเรื่องข้าวอย่างครบวงจร
3.5
มาตรการจัดตั้งคณะเจรจาข้อกีดกันทางการค้าและสร้างพันธมิตรทางการค้า
โดยมีพื้นที่ดำเนินการ
76 จังหวัด ระยะเวลาดำเนินการ เมษายน 2549 ถึงกันยายน 2551 หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมการข้าว
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่องที่ 10
ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มพิเศษ สำหรับผู้บริหารและเงินรางวัลสำหรับส่วนราชการและจังหวัด
พ.ศ.
. |
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ
ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้บริหาร
และเงินรางวัลสำหรับส่วนราชการและจังหวัด พ.ศ.
.
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
โดยร่างระเบียบฯ
ดังกล่าวมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1.
ปรับปรุงและเพิ่มเติมคำนิยาม ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ
เงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้บริหาร และ
เงินรางวัลสำหรับส่วนราชการและจังหวัด จากระเบียบเดิมให้เหมาะสม
ชัดเจนยิ่งขึ้น
เพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามกฎหมายของข้าราชการแต่ละประเภทที่ได้รับการปรับโครงสร้างส่วนราชการใหม่
พร้อมทั้งยกเลิกการจ่ายเงินรางวัลให้กับพนักงานของรัฐในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
เนื่องจากปัจจุบันได้เปลี่ยนสถานะเป็นข้าราชการทั้งหมดแล้ว
|
2.
ยกเลิกหลักเกณฑ์การจ่ายเงินรางวัลสำหรับผู้บริหารที่เดิมกำหนดให้จ่ายเฉพาะผู้บริหาร
ของกลุ่มท้าทายและกลุ่มนำร่อง
โดยกำหนดให้ผู้บริหารทุกส่วนราชการที่ได้ทำข้อตกลงว่าด้วย
การปฏิบัติราชการมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษตามหลักเกณฑ์และอัตราที่ ก.พ.ร. กำหนด ทั้งนี้
ได้นำหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มพิเศษกำหนดเป็นบัญชีแนบท้ายระเบียบ
เพื่อความสะดวกในการ
แก้ไขปรับปรุง หาก ก.พ.ร. จะมีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ให้เหมาะสมในโอกาสต่อไป
3.
นำหลักเกณฑ์และวิธีการเบิกจ่ายที่เดิมกำหนดไว้เป็นหนังสือกระทรวงการคลังมากำหนด
ไว้ในระเบียบ
เพื่อให้ส่วนราชการมีความสะดวกในการค้นคว้า อ้างอิง
พร้อมทั้งปรับปรุงถ้อยคำให้เหมาะสมยิ่งขึ้น |
เรื่องที่ 11
การเพิ่มความคล่องตัวในการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. 2549 |
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการเพิ่มความคล่องตัวในการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
โดยให้ผ่อนคลายการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ พ.ศ. 2549
ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน
และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในสังกัดการบังคับบัญชา
หรือการกำกับดูแลของฝ่ายบริหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
หรือกฎหมายจัดตั้งหน่วยงานดังกล่าว ดังนี้
1.
สำหรับรัฐวิสาหกิจ
การจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท
ซึ่งต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ พ.ศ. 2549
ก็ให้รัฐวิสาหกิจดำเนินการตามนั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น
หรือมีปัญหาอุปสรรค ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ตามระเบียบฯ ดังกล่าวได้
จึงผ่อนผันให้หัวหน้ารัฐวิสาหกิจใช้ดุลพินิจดำเนินการจัดซื้อหรือจัดจ้างตามระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการพัสดุของรัฐวิสาหกิจนั้น
ๆ ได้ ทั้งนี้ ต้องชี้แจงเหตุผล ความจำเป็น หรือปัญหาอุปสรรค
ดังกล่าวไว้ในรายงานขอซื้อหรือขอจ้าง ตามที่ระเบียบกำหนด
2.
การแต่งตั้งคณะกรรมการประกวดราคาตามโครงการ
การคัดเลือกผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดวัน
เวลาและสถานที่เสนอราคา
|
(1)
สำหรับรัฐวิสาหกิจ การจัดหาพัสดุที่มีวงเงินไม่เกิน 300 ล้านบาท
ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้น
ที่จะพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการประกวดราคาตามโครงการ
การคัดเลือกให้ผู้บริหารตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดวัน
เวลาและสถานที่เสนอราคา
โดยการคัดเลือกผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์และการกำหนดสถานที่เสนอราคา
จะต้องคัดเลือกและกำหนดจาก
รายชื่อที่กรมบัญชีกลางได้ประกาศขึ้นทะเบียนไว้แล้วเท่านั้น
(2)
สำหรับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์การมหาชน
และหน่วยงานอื่นของรัฐฯ การจัดหาพัสดุที่มีวงเงินไม่เกิน 50
ล้านบาท ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าหน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุ
ที่จะพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการประกวดราคาตามโครงการ
การคัดเลือกผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดวัน
เวลาและสถานที่เสนอราคา
โดยการคัดเลือกผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์และการกำหนดสถานที่เสนอราคา
จะต้องคัดเลือกและกำหนดจากรายชื่อที่กรมบัญชีกลาง
ได้ประกาศขึ้นทะเบียนไว้แล้วเท่านั้น |
3.
สำหรับทุกหน่วยงาน
ในกรณีที่คัดเลือกเบื้องต้นเพื่อหาผู้มีสิทธิเสนอราคาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
พ.ศ. 2549 ข้อ 9(2) และ (3) แล้ว ปรากฏว่ามีผู้มีสิทธิเสนอราคารายเดียว
หรือมีผู้มีสิทธิเสนอราคาเพียงรายเดียวเมื่อถึงเวลาเริ่มการเสนอราคา
ตามระเบียบ ข้อ 10(1) โดยปกติให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานยกเลิก
แต่ถ้าคณะกรรมการประกวดราคาตามโครงการเห็นว่า
มีเหตุผลสมควรที่จะดำเนินการต่อไปโดยไม่ต้องยกเลิกการประกวดราคา
ก็ให้คณะกรรมการฯ
ต่อรองราคากับผู้มีสิทธิเสนอราคารายนั้นแล้วเสนอหัวหน้าหน่วยงานต่อไป
4.
การดำเนินการผ่อนคลายการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
พ.ศ. 2549 ตามข้อ 1-3
รวมทั้งการผ่อนคลายการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม
2549 ให้มีผลจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550
ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้กรมบัญชีกลางร่วมกับสำนักนายกรัฐมนตรี
พิจารณาศึกษาและเสนอแนะแนวทางแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ พ.ศ. 2549
ต่อไป
5.
ให้รัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ พ.ศ. 2549
โดยอนุโลม
6.
สำหรับฐานข้อมูลบุคคลภายนอก กระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลาง นำขึ้น
website (http://www.gprocurement.go.th/) ดังนั้น
หากหน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุประสงค์จะคัดเลือกรายชื่อที่เป็นคณะกรรมการประกวดราคาบุคคลภายนอก
สามารถเลือกรายชื่อจากเว็บไซต์ดังกล่าวได้
มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
|
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 128/2549
เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ดังนี้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
10 มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 15 และมาตรา 38
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
และที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งสุดท้ายโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545
นายกรัฐมนตรีจึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 440/2548
ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 507/2548
ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2548
และมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี
และให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
และกำกับดูแล ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ
ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 นิยาม
ในคำสั่งนี้
กำกับการบริหารราชการ หมายความว่า
กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดินของ
ส่วนราชการเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและนโยบายของคณะรัฐมนตรี
หรือนายกรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งให้ส่วนราชการ
ชี้แจงแสดงความคิดเห็นหรือรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการหรือการปฏิบัติงาน
สั่งสอบสวนข้อเท็จจริง
หรือสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
คณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน และคณะกรรมการอื่น
แทนนายกรัฐมนตรี ตลอดจนอนุมัติให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี
และอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2520
เกี่ยวกับการมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับการบริหารราชการแผ่นดิน
อนุญาตหรืออนุมัติเรื่องต่าง ๆ ของส่วนราชการในกำกับไปก่อนได้
แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ
สั่งและปฏิบัติราชการ หมายความว่า สั่ง อนุญาต
หรืออนุมัติให้ส่วนราชการหรือข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ
ปฏิบัติราชการหรือดำเนินการใด ๆ ได้ตามกฎหมาย ระเบียบ
หรือมติคณะรัฐมนตรี ในฐานะผู้บังคับบัญชา
รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง
กำกับดูแล หมายความว่า กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ
องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย
และให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน
หรือหน่วยงานของรัฐ นโยบายของรัฐบาล และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนการสั่งให้รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน
หรือหน่วยงานของรัฐชี้แจงแสดงความคิดเห็น ทำรายงาน
หรือยับยั้งการกระทำของรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน
หรือหน่วยงานของรัฐที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ
องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐ
นโยบายของรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
และสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการ
ส่วนที่ 2
1. รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก ชิดชัย
วรรณสถิตย์)
1.1
การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการ และสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.1.1
กำกับการบริหารราชการของส่วนราชการ ดังนี้
(1) กระทรวงกลาโหม
(2) กระทรวงมหาดไทย
(3) กระทรวงยุติธรรม 1.1.2
กำกับการบริหารราชการ และสั่งและปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
ดังนี้
(1) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
(2) สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
(3) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
1.2
การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานหรือประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ 1.2.1
สภาความมั่นคงแห่งชาติ 1.2.2
คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
1.2.3 คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ 1.2.4
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด 1.2.5
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน 1.2.6
คณะกรรมการคดีพิเศษ
|
1.3
การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง
ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.3.1 คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ
1.3.2
คณะกรรมการสนับสนุนระบบการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ
1.3.3
คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ
1.3.4
คณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการประปาแห่งชาติ
1.3.5
คณะกรรมการกองทุนลานกีฬาต้านยาเสพติด
1.3.6
คณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
1.3.7
คณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
1.3.8 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ชั้นสายสะพาย
|
1.4
การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ
และการสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ
1.5
กำกับดูแลและลงนามในเอกสารที่เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ 1.5.1
การขอพระราชทานอภัยโทษ 1.5.2
การขอแปลงสัญชาติเป็นไทย
1.6
ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 1.1 1.5
ยกเว้น 1.6.1
เรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย 1.6.2
การสถาปนาพระอิสริยยศ อิสริยศักดิ์ สมณศักดิ์ 1.6.3
การแต่งตั้ง ในกรณีการแต่งตั้งประธานศาลฎีกาประธานศาลปกครองสูงสุด
ข้าราชการตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงและกรมเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศ
กงสุล และกรรมการ ที่มีตำแหน่งหน้าที่สำคัญ
1.6.4 การพระราชทานยศทหาร ตำรวจ ชั้นนายพล 1.6.5
การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่พระบรมวงศานุวงศ์ และการ
พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี 1.6.6
การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต หรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
และการประกาศใช้ความตกลงระหว่างประเทศ 1.6.7
เรื่องสำคัญที่เคยมีประเพณีปฏิบัติให้เสนอนายกรัฐมนตรีลงนาม
ส่วนที่ 3
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ
จึงรุ่งเรืองกิจ)
2.1
การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ดังนี้
2.1.1 กำกับการบริหารราชการของส่วนราชการ ดังนี้
(1) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ยกเว้นในส่วนที่เกี่ยวกับข้อ 3.4)
(2) กระทรวงคมนาคม
(3) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(4) กระทรวงพลังงาน
2.1.2 กำกับการบริหารราชการ และสั่งและปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
ดังนี้
-
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
2.2
การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับดูแลหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
- กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
2.3
การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานหรือประธานกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย
2.3.1 คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
2.3.2 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
2.3.3 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
2.3.4 คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
2.3.5 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
2.3.6 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
2.3.7 คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
2.4
การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
2.4.1 คณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนโครงการหลวง
2.4.2 คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
2.4.3 คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน
2.4.4 คณะกรรมการนโยบายและฟื้นฟูทะเลไทย
2.4.5 คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ
2.5
การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
และการสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
2.6
ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
และลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ
2.1 2.5 เว้นแต่กรณีที่ระบุยกเว้นในข้อ 1.6
ส่วนที่ 4
3. รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด
จาตุศรีพิทักษ์)
3.1
การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการของส่วนราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ดังนี้
3.1.1 กระทรวงการคลัง
3.1.2 กระทรวงพาณิชย์
3.1.3 กระทรวงอุตสาหกรรม
3.1.4 สำนักงบประมาณ
(ยกเว้นในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุมัติงบประมาณ)
3.1.5 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3.1.6 สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3.2
การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง
ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
3.2.1 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
3.2.2 คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ
|
3.3
การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง
ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
3.3.1 คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ
3.3.2 คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
3.3.3 คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร
3.3.4 คณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ
3.3.5 คณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ
3.3.6 คณะกรรมการนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน
3.3.7 คณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน
3.3.8 คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
3.4
การสั่งการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับภาพรวมทางเศรษฐกิจ
การปรับโครงสร้างการเกษตร รวมทั้งการตลาดสินค้าเกษตร |
3.5
ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
และลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ
3.1 3.4 เว้นแต่กรณีที่ระบุยกเว้นในข้อ 1.6
ส่วนที่ 5
4. รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์
ลิปตพัลลภ)
4.1
การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการ
และสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
4.1.1 กำกับการบริหารราชการของส่วนราชการ
ดังนี้
(1) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(2) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(3) กระทรวงแรงงาน
(4) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
(5) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
4.1.2 กำกับการบริหารราชการ และสั่งและปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
ดังนี้
(1) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
(2) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
4.2
การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ
ดังนี้
4.2.1 สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
4.2.2
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
4.3
การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
4.3.1 คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ
4.3.2 คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
4.3.3 คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ
4.3.4
คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.3.5 คณะกรรมการกฤษฎีกา
4.3.6 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
4.3.7 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
4.4
การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี/ระเบียบอื่น ๆ
ดังนี้
4.4.1 คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ
4.4.2 คณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย
4.4.3 คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
4.4.4
คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีและสถาบันครอบครัวแห่งชาติ
4.4.5 คณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
4.4.6 คณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ
4.4.7
คณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยสำนักนายกรัฐมนตรี
4.5
การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
4.6
การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา
และการสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
4.7
การมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทนในเรื่องที่เป็นงานประจำปกติของสำนักงานศาลยุติธรรม
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลปกครอง
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ที่จำเป็นต้องเสนอนายกรัฐมนตรีสั่งการตามกฎหมาย
หรือที่ต้องนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาตามกฎหมาย
4.8
ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
และลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ
4.1 4.7 เว้นแต่กรณีที่ระบุยกเว้นในข้อ 1.6
ส่วนที่ 6
5. รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์
เสถียรไทย)
5.1
การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการ
และสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
5.1.1 กำกับการบริหารราชการของส่วนราชการ ดังนี้
(1) กระทรวงการต่างประเทศ
(2) กระทรวงวัฒนธรรม
(3) กระทรวงศึกษาธิการ
5.1.2 กำกับการบริหารราชการ และสั่งและปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
ดังนี้
(1) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
(2) ราชบัณฑิตยสถาน
5.2
การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ
ดังนี้
5.2.1 สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
5.2.2 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
5.3
การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง
ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
5.3.1 สภาวิจัยแห่งชาติ
5.3.2 สภานายกลูกเสือแห่งชาติ
5.3.3 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์
5.4
การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยราชบัณฑิตยสถาน
5.5
การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
และการสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู
ซึ่งเรื่องอยู่ระหว่างการดำเนินการตามกฎหมาย
รวมทั้งการดำเนินคดีปกครองและลงนามมอบอำนาจให้พนักงานอัยการดำเนินคดีปกครอง
กรณีที่มีการฟ้องนายกรัฐมนตรีในการสั่งการตามกฎหมายดังกล่าว
5.6
ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
และลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ
5.1 5.5 เว้นแต่กรณีที่ระบุยกเว้นในข้อ 1.6
ส่วนที่ 7
6. รองนายกรัฐมนตรี (นายสุชัย
เจริญรัตนกุล)
6.1
การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ดังนี้
6.1.1 กำกับการบริหารราชการของส่วนราชการ ดังนี้
(1) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(2) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(3) กระทรวงสาธารณสุข
6.1.2 กำกับการบริหารราชการ และสั่งและปฏิบัติราชการของส่วนราชการต่าง
ๆ ดังนี้
- สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
6.2
การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง
ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
6.2.1 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
6.2.2 คณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
6.2.3 คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
6.3
การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง
ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
6.3.1 คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ
6.3.2 คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
6.3.3 คณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ
6.3.4 คณะกรรมการนโยบายเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
6.3.5 คณะกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ
6.3.6 คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
6.3.7
คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า
6.3.8 คณะกรรมการนโยบายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
6.4
การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยการขายตรงและตลาดแบบตรงและการสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
6.5
ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
และลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ
6.1 6.4 เว้นแต่กรณีที่ระบุยกเว้นในข้อ 1.6
ส่วนที่ 8
7. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ)
7.1
การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
ดังนี้
7.1.1 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
7.1.2 สำนักงบประมาณ
(ยกเว้นในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุมัติงบประมาณ)
7.1.3 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
7.1.4 กรมประชาสัมพันธ์
7.1.5 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
7.1.6 สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
|
7.2
การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
7.2.1 ประธานกรรมการในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
7.2.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
7.2.3 กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
7.3
การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
7.3.1
คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย
7.3.2 คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
7.3.3 คณะกรรมการพัฒนาการเมือง
7.3.4 คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ
7.3.5 คณะกรรมการจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดิน
7.3.6 คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ |
ส่วนที่ 9
8. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน
ชิดชอบ)
8.1
การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
ดังนี้
8.1.1 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
8.1.2 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
8.1.3 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
8.2
การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
- บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
8.3
การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับดูแลองค์การมหาชน ดังนี้
- สำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน
8.4
การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
- คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
ส่วนที่ 10
1.
ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในส่วนราชการใด เป็นประธาน
อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวงของส่วนราชการนั้นด้วย ยกเว้น
อ.ก.พ.สำนักนายกรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน
ชิดชอบ) เป็นประธาน
2.
รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับการบริหารราชการส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจองค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐ
ย่อมมีอำนาจให้ความเห็นชอบและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
หรือประกาศเกี่ยวกับเรื่องของหน่วยงานนั้น ๆ ดังนี้ 2.1
การแต่งตั้งบุคคลหรือกรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจนั้น 2.2
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ชาวต่างประเทศ
ยกเว้นเป็นเรื่องระดับผู้นำรัฐบาลหรือประมุขของรัฐต่างประเทศ 2.3
การให้ความเห็นชอบในการรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญตราจากต่างประเทศ 2.4
การประกาศภาพเครื่องหมายราชการ
3.
ราชการที่รองนายกรัฐมนตรีได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้
หากรองนายกรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ
และอาจมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นส่วนรวม
หรือต้องสั่งการแก่หลายส่วนราชการ หรือหลายรัฐวิสาหกิจ
แต่บางส่วนมิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่กำกับการบริหารราชการของรองนายกรัฐมนตรีผู้หนึ่งผู้ใดโดยตรง
ให้นำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อวินิจฉัยสั่งการ เมื่อรองนายกรัฐมนตรี
หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้ว
ให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบทุกสามสิบวัน
4.
ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในคำสั่งนี้
พิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมในการยุบเลิกคณะกรรมการดังกล่าว
หากเห็นว่าหมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับภารกิจของหน่วยงานอื่น
หรืออาจยุบรวมคณะกรรมการชุดต่างๆ เข้าด้วยกัน
หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว
โดยการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
หรือจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นใหม่
โดยยึดหลักการมีผู้รับผิดชอบภารกิจอย่างชัดแจ้ง
การไม่ปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกัน
และการบูรณาการภารกิจให้เกิดการประสานและสอดคล้องรองรับกัน
แล้วเสนอผลการพิจารณาและข้อเสนอแนะ
ตลอดจนร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่ขอแก้ไขเพิ่มเติม
หรือจัดทำขึ้นใหม่ ต่อคณะรัฐมนตรีภายในสามสิบวัน
ในกรณีที่เห็นควรให้คงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้นๆ ไว้ตามเดิม
ให้รายงานเหตุผลและความจำเป็นภายในกำหนดเวลาดังกล่าวด้วยเช่นกัน
5.
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่มอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ให้รองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรียึดหลักการประสานราชการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้มีประสิทธิภาพและบังเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการและประชาชน
โดยคำนึงถึงนโยบายการพัฒนาระบบราชการ มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ
ในเชิงรับอย่างเป็นระบบ และการกำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในเชิงรุก
ด้วยการผลักดันนโยบายของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีให้เป็นรูปธรรม
เพื่อสร้างความมั่นคงแข็งแกร่งในทางเศรษฐกิจ
ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพประชากรในทางสังคม
และรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในทางการเมืองการปกครอง
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2549 เป็นต้นไป
การดำรงตำแหน่งเลขาธิการ
ก.พ.ร. |
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ขยายเวลาการดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ก.พ.ร. ของ
นายทศพร ศิริสัมพันธ์ ต่อไปอีก 1 ปี ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร.
เสนอ
ทั้งนี้
สำนักงาน ก.พ.ร. ชี้แจงว่า นายทศพร ศิริสัมพันธ์
ได้รับการแต่งตั้งให้รักษาราชการแทนเลขาธิการ ก.พ.ร. ในวันที่
19 ธันวาคม 2545 ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ก.พ.ร.
ในคราวการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2546
และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ
ก.พ.ร. (นักบริหาร 10 บส.) สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2546 โดยจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเป็นเวลาครบ 4
ปีในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ที่จะถึงนี้ ซึ่งเป็นไปตามหนังสือสำนักงาน
ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 7 ลงวันที่ 30 เมษายน 2540
ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสับเปลี่ยนหน้าที่ ย้าย
หรือโอนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 9 และระดับ 10
ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีลักษณะบริหารไว้ว่า
กรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งที่มีลักษณะบริหารปฏิบัติหน้าที่เดียวติดต่อกันเป็นเวลาครบ
4 ปีแล้ว
แต่ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเห็นว่ายังมีความจำเป็นไม่อาจสับเปลี่ยนหน้าที่
ย้าย หรือโอนไปปฏิบัติหน้าที่อื่นได้
ให้ผู้บังคับบัญชาขอต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นได้ครั้งละไม่เกิน
1 ปี และไม่เกิน 2 ครั้ง ประกอบกับ
คณะรัฐมนตรีได้มีมติในคราวการประชุม เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2549
ขอให้ทุกส่วนราชการเร่งพิจารณาและเสนอเรื่องการแต่งตั้ง
โยกย้ายข้าราชการระดับสูง
ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในวันอังคารแรกของเดือนสิงหาคม 2549 นี้
เนื่องจากต้องส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบ
อ่านต่อ คลิกที่นี่ |