หลังจากนั้น เข้าสู่กิจกรรม Workshop โดยผู้เข้าร่วมฟังบรรยายร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นเรื่อง แนวทางในการพัฒนา/ปรับใช้หลักธรรมาภิบาลในหน่วยงาน/ประเทศ อาทิ เช่น
1. ควรปรับใช้หลักธรรมาภิบาลในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับประเทศ โดยเริ่มต้นจากการสร้างความตระหนักให้แก่เด็กและเยาวชน
2. ผู้บริหารควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการสร้างภาวะผู้นำ
3. ควรปลูกจิตสำนึกมากกว่าสร้างตัวชี้วัด โดยเฉพาะจิตสำนึกเรื่องความรักชาติ ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะเริ่มต้นจากข้าราชการบรรจุใหม่
4. ควรสร้างเวที หรือเครื่องมือเพื่อช่วยข้าราชการในการผลักดันหลักธรรมาภิบาล
5. ควรจัดระบบให้ข้าราชการทำงานอย่างมีความสุข โดยสร้างและปรับกฎระเบียบให้ทันต่อเหตุการณ์ สามารถปรับใช้ได้จริงในปัจจุบัน
6. ควรปรับคำศัพท์เกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลให้เข้าใจได้ง่าย
7. ควรให้ความสำคัญกับผู้นำในการแสดงบทบาทเรื่องหลักธรรมาภิบาล
8. ควรให้ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐ
9. ควรให้ความสำคัญและสร้างจิตสำนึกเรื่องหลักธรรม ธรรมะมากขึ้น
10. เน้นการปฏิบัติมากกว่าหลักทฤษฎี
11. สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วแต่กฎหมายปรับให้สอดคล้องไม่ทัน หน่วยงานที่เกี่ยวกับกฎหมายควรปรับหรือออกกฎหมายที่ปรับใช้ได้จริง
12. ในการสร้างระบบธรรมาภิบาลนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องการกำกับควบคุมและบังคับใช้อย่างจริงจัง รวมทั้งการประเมินผลการทำงาน
13. ปัจจุบัน ปัญหาจากค่านิยมในสังคมที่เป็นวัตถุนิยม แม้ทำผิดแต่หากร่ำรวยและมีอำนาจ คนในสังคมก็ให้ความเคารพนับถือ สำนักงาน ก.พ.ร. ควรที่จะจัดระบบให้ข้าราชการที่เป็นข้าราชการน้ำดีได้มีโอกาสทำงานได้อย่างมีความสุข
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. เล็งเห็นถึงความสำคัญของหลักธรรมาภิบาล จึงจะมีการดำเนินการเพิ่มเนื้อหา 1 รายวิชา ในเรื่องดังกล่าวในช่วงเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้
กลุ่มสื่อสารฯ สลธ. / ข่าว & ภาพ
ภัทรพร (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มสื่อสาร ฯ / จัดทำ