ประเด็น
|
|
1. คำนิยาม
|
- แก้ไขนิยามคำว่า “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการของแต่ละองค์การมหาชน เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจและการดำเนินการของคณะกรรมการใน แต่ละองค์การมหาชน |
2. อำนาจของคณะรัฐมนตรี
|
- กำหนดให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาว่ากิจการอันเป็นบริการ
สาธารณะใดที่สมควรจะจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน โดยข้อเสนอแนะของคณะกรรมการพัฒนา และส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) - เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดและกำหนดระเบียบแบบแผนในกรณีที่มีปัญหาการซ้ำซ้อนหรือขัดแย้ง ในการดำเนินกิจการขององค์การมหาชนกับการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือการดำเนิน งานของหน่วยงานอื่นของรัฐตามกฎหมาย โดย กพม. เป็นผู้เสนอ |
3. องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.)
|
- กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) ประกอบด้วย ประธานกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง 4 คน (เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี และ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และให้เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นกรรมการและ เลขานุการ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ เช่น (1) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบ ในการจัดตั้ง การรวมหรือการยุบเลิกองค์การมหาชน (2) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดนโยบาย แนวทางและหลักเกณฑ์กลางที่เกี่ยวกับการจัดตั้ง การรวม การยุบเลิก การบริหารและพัฒนา และการประเมินผลขององค์การมหาชน เป็นต้น |
4. หลักเกณฑ์และอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการ ในองค์การมหาชน
|
- กำหนดให้คณะกรรมการในแต่ละองค์การมหาชนมีจำนวนตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
จัดตั้ง แต่ต้องไม่เกิน 11 คน โดยกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องไม่เป็นข้าราชการซึ่งมี ตำแหน่ง หรือเงินเดือน พนักงานหรือลูกจ้างของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เว้นแต่เป็นผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ - กำหนดให้การดำรงตำแหน่งกรรมการในองค์การมหาชนเกินกว่า 3 แห่งไม่ได้
(ให้นับรวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งและการได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน ในตำแหน่งกรรมการด้วย) โดยไม่รวมถึงการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่ได้รับการมอบหมาย ให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน - ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการในแต่ละองค์การมหาชน เพื่อให้การปฏิบัติงาน เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน |
5. หลักเกณฑ์เกี่ยวกับผู้อำนวยการในองค์การมหาชน
|
- กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้อำนวยการขององค์การมหาชนไว้ในกฎหมาย
แม่บท เพื่อให้มีลักษณะสอดคล้องและเหมือนกัน - กำหนดให้การพ้นจากตำแหน่งตามวาระเมื่ออายุครบ 65 ปีบริบูรณ์เป็นการพ้นจากตำแหน่ง
ตามกำหนดเวลาในสัญญาจ้าง - แก้ไขอำนาจบังคับบัญชาของผู้อำนวยการ โดยให้มีอำนาจบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่และลูกจ้าง ขององค์การมหาชนทุกตำแหน่ง เว้นตำแหน่งผู้ตรวจสอบภายในให้ขึ้นตรงต่อคณะกรรมการ ตรวจสอบและ คณะกรรมการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด |
6. การเร่งรัดให้องค์การมหาชนดำเนินการเสนอแก้ไข พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งองค์การมหาชน
|
- กำหนดให้องค์การมหาชนทุกแห่งดำเนินการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา แก้ไขเพิ่มเติม พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งองค์การมหาชนให้สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติ ฉบับนี้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัติ นี้ใช้บังคับ |