จังหวัด / ชัยภูมิ

ชัยภูมิ
Chaiyaphum
ประจำปีงบประมาณ

ข้อมูลทั่วไป

วิสัยทัศน์
“เกษตรกรรมยั่งยืน อุตสาหกรรมก้าวหน้า แหล่งท่องเที่ยวชั้นนำ สังคมมีความสุข”
เป้าประสงค์หลัก
1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
2 รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
3 ประชาชนมีคุณภาพ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง
4 สภาพพื้นที่ป่าคงความอุดมสมบูรณ์และมีพื้นที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๔๐ ของพื้นที่จังหวัด

สถานที่ติดต่อ
สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ ชั้น ๒ ศาลากลางจังหวัดชัยภูมิ อำเภอเมืองจังหวัดชัยภูมิ ๓๖๐๐๐ โทร ๐-๔๔๘๑-๑๕๗๓ ติดต่อเว็บมาสเตอร์ Mail to web :chaiyaphum@moi.go.th
โทร.   โทรสาร



อำนาจหน้าที่
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถด้านการเกษตร
๑) เกษตรกรได้รับการจัดที่ดินทำกิน กระจายสิทธิ และการใช้ประโยชน์จากที่ดินที่เหมาะสม
๒) อนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มต้นทุน และบรรเทาปัญหาน้ำขาดแคลน และอุทกภัย
โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
๓) ภาคเกษตรกรรมเจริญเติบโตอย่างมั่นคง เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร มีความเข้มแข็งและ
มีคุณภาพชีวิตที่ดี
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาอุตสาหกรรม
๑) ภาคอุตสาหกรรมมีผลิตภาพการผลิตและมีประสิทธิภาพผลิตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
๒) ผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนสามารถดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารจัดการ
ที่เข้มแข็ง มีบรรษัทบาล และมีจำนวนเพิ่มขึ้น
๓) เพิ่มประสิทธิภาพแรงงานภาคอุตสาหกรรมให้ได้มาตรฐาน และสอดคล้องกับความต้องการ
ของตลาด
๔) แรงงานได้รับสวัสดิการ และการคุ้มครองตามสิทธิ มีความมั่นคงและปลอดภัยในการทำงานและ
การดำรงชีพ ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
๕) ผลิตภัณฑ์ชุมชนมีคุณภาพ มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ และสามารถจำหน่ายได้มาขึ้น
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓ การพัฒนาการท่องเที่ยว
๑) แหล่งท่องเที่ยวได้มาตรฐาน สามารถรองรับนักท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพและมีการบริหารจัดการ
ที่ยั่งยืน
๒) แหล่งท่องเที่ยวสามารถสร้างรายได้และมีการขยายตัวอย่างยั่งยืน
๓) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน
ให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาการศึกษาและสุขภาพที่มีคุณภาพ
๑) ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี เด็กและเยาวชนได้รับการพัฒนาทักษะ และมีการพัฒนาที่เหมาะสม
ตามวัย อยู่ในสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ มีหลักประกันความมั่นคงในการดำรงชีวิต
๒) ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกวัยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
ตั้งแต่ระดับปฐมวัย จนตลอดชีวิต มีศักยภาพในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพในท้องถิ่น
๓) สถานศึกษา และบุคลากรด้านการศึกษาได้รับการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสอดคล้องกับความ
ต้องการของท้องถิ่น
๔) ประชาชนมีสุขภาพอนามัยดี มีพฤติกรรม สุขภาพที่เหมาะสม สามารถควบคุมและลดปัจจัยเสี่ยง
ต่อโรคเรื้อรัง รวมทั้งมีระบบเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคเชิงรุก
๕) ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพอย่างครอบคลุม มีคุณภาพและเข้าถึงบริการการอย่างไม่เป็น
อุปสรรค
๖) การบริการและ การบริหารจัดการสาธารณสุขมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมและได้มาตรฐาน
๗) เด็ก เยาวชน และประชาชนได้ออกกำลังกายเล่นกีฬาเป็นประจำเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๕ การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
๑) เสริมสร้างความเข้าใจของประชาชนให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
๒) หน่วยงานภาครัฐสามารถอำนวยความสะดวกและให้บริการประชาชน รวมทั้งยกระดับคุณภาพ
มาตรฐานและธรรมาภิบาลเป็นที่ยอมรับของประชาชน
๓) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และทุกประเภทอย่างมีประสิทธิภาพ ป่าต้นน้ำ และ
ทรัพยากร ที่ดินได้รับการฟื้นฟูและอนุรักษ์
๔) ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ระบบราชการมีความโปร่งใส ระบบงานยุติธรรม
มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล

คำรับรองการปฏิบัติราชการ

หมายเหตุ :

ข้อมูลปี 2558

http://www.opdc.go.th/uploads/files/result_peform/2558/province_58/province_5814_1.pdf