ส่วนราชการ / กรมควบคุมมลพิษ
กรมควบคุมมลพิษ
ประจำปีงบประมาณ
ข้อมูลทั่วไป
วิสัยทัศน์
ควบคุมมลพิษ สิ่งแวดล้อมดี เพื่อประชาชน อย่างมีส่วนร่วม
(Pollution Control, for good environment for the people by public participation)
พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย
1. กำหนดนโยบาย วางแผน และผลักดันยุทธศาสตร์การจัดการมลพิษของประเทศไปสู่การปฏิบัติ
2. พัฒนามาตรฐาน มาตรการ และเกณฑ์ปฏิบัติในการควบคุมมลพิษที่เหมาะสมกับสถานการณ์
3. พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการควบคุมมลพิษ รวมทั้งประสานความร่วมมือ และดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
4. กำกับ ดูแล ให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐาน มาตรการควบคุมมลพิษ และรายงานสาธารณะ
เป้าประสงค์หลัก
ป้องกันและควบคุมมลพิษให้อยู่ในระดับมาตรฐาน ควบคู่ไปกับการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วยทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพและใช้เทคโนโลยีทันสมัยแบบเชิงรุก
ค่านิยมและวัฒนธรรมของส่วนราชการ
มุ่งมั่นทำงานด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม เป็นทีม เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
(We are dedicated to working with transparency, equity, teamwork for the benefit of the people)
อำนาจหน้าที่
มีภารกิจเกี่ยวกับการกำกับ ดูแล อำนวยการ ประสานงาน ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการฟื้นฟู คุ้มครองและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. เสนอความเห็นเพื่อจัดทำนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านการควบคุมมลพิษ
2. เสนอแนะการกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด
3. จัดทำแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมและมาตรการในการควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากภาวะมลพิษ
4. ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและจัดทำรายงานสถานการณ์มลพิษ
5. พัฒนาระบบ รูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมสำหรับระบบต่างๆเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการ กากของเสีย สารอันตราย คุณภาพน้ำ อากาศ ระดับเสียงและความสั่นสะเทือน
6. ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการฟื้นฟูหรือระงับเหตุที่อาจเป็นอันตรายจากมลพิษในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนมลพิษและประเมินความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม
7. ให้ความช่วยเหลือและคำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการจัดการมลพิษ
8. ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศในด้านการจัดการมลพิษ
9. ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องราวร้องทุกข์ด้านมลพิษ
10. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติด้านการควบคุมมลพิษและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
11. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
นโยบายและทิศทางการบริหารงานของกรมควบคุมมลพิษ
1. นโยบายด้านบริหาร เพื่อพัฒนาบุคลากรให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลง
1) ปรับโครงสร้างการบริหารภายใน
2) พัฒนาสมรรถนะของบุคคลากร
3) ปรับปรุงกลไกการสื่อสารภายในองค์กร
4) สร้างบรรยากาศองค์กรเพื่อบูรณาการงานกับชีวิต และสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน
5) บริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
6) สร้างพันธมิตรและเครือข่ายในการทำงาน
2. นโยบายด้านบริการ เพื่อมุ่งสู่ประชาชน
1) พัฒนาระบบการให้บริการประชาชนด้านข้อมูลข่าวสาร
2) พัฒนาระบบและเพิ่มศักยภาพการเผชิญเหตุ
3) พัฒนาระบบการรับเรื่องร้องเรียน
4) บังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาคและเป็นธรรมภายใต้มาตรฐานเดียว
3. นโยบายด้านวิชาการ เพื่อเร่งแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่วิกฤต
1) แก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าภาคเหนือ
2) ส่งเสริมและบังคับใช้กฎหมายตามมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
3) แก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่มาบตาพุด
4) แก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่เดิมซึ่งยังคงค้าง ได้แก่ การปนเปื้อนสารตะกั่วบริเวณห้วยคลิตี้ โครงการจัดการน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษจังหวัดสมุทรปราการ พื้นที่ฝังกลบขยะอุตสาหกรรมในจังหวัดสระบุรี การปนเปื้อนสารแคดเมียมในลุ่มน้ำแม่ตาว
5) เตรียมการรองรับปัญหาในพื้นที่สำคัญ เช่น การขยายพื้นที่เฟส 2 ของสนามบินสุวรรณภูมิเขตอุตสาหกรรมใหม่
6) เตรียมการรองรับปัญหาในพื้นที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนมลพิษ
7) การจัดทำฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศ เพื่อรองรับงานต่าง ๆ
8) เพิ่มศักยภาพและควบคุมคุณภาพการวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการ
9) ผลักดันแนวคิดเรื่อง 3Rs ให้ไปสู่การปฏิบัติ
10) ผลักดันการจัดการน้ำเสียชุมชน
11) เตรียมการและผลักดันโครงการรองรับแผนงานสำคัญระดับชาติ เช่น การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
12) พัฒนากฎหมายด้านการป้องกันและควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม
13) พัฒนาระบบศูนย์เตือนภัยสิ่งแวดล้อม