วิสัยทัศน์ มุ่งสู่การขนส่งที่ยั่งยืน พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย พัฒนาระบบ กลไก และบุคลากร รวมทั้ง วางแนวนโยบายการพัฒนา กำกับดูแล และบูรณาการการขนส่งและการจราจร ให้มีอย่างเพียงพอ มีประสิทธิภาพ ทั่วถึง คุ้มค่า และเป็นธรรม เป้าประสงค์หลัก 1. เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่งของภูมิภาค 2. ระบบโลจิสติกส์ขนส่งมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 3. การเดินทาง การขนส่ง และการจราจรมีความปลอดภัย 4. โครงสร้างพื้นฐานและระบบการขนส่งครอบคลุมพื้นที่เศรษฐกิจชุมชนอย่างทั่วถึง พอเพียง และประชาชนสามารถเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนเพิ่มขึ้น 5. การบริหารจัดการระบบการขนส่งและจราจรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานในสังกัด
สถานที่ติดต่อ 38 ถนนราชดำเนินนอก แขวงโสมนัส ป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100 โทร. 02-283-3000 โทรสาร 02-281-3959 http://www.mot.go.th/ mot@mot.go.th อำนาจหน้าที่ กระทรวงคมนาคมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการขนส่ง ธุรกิจการขนส่ง และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดฯ • ประเด็นยุทธศาสตร์ 1. การเชื่อมโยงโครงข่ายระบบขนส่งภายในประเทศและพัฒนาจุดเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 2. การพัฒนาระบบโลจิสติกส์การขนส่ง 3. การพัฒนาระบบการขนส่งให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย 4. การพัฒนาการให้บริการระบบการขนส่งเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต 5. การบริหารจัดการระบบการขนส่งและจราจรอย่างมีประสิทธิภาพ |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1. ผู้ตรวจราชการกรมรายงานการตรวจติดตามโครงการบางโครงการไม่มีการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของโครงการและไม่มีการประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของการดำเนินงาน 2. หน่วยรับตรวจบางหน่วยไม่ได้รายงานผลดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจราชการในบางประเด็น |
1. กรณีโครงการอยู่ระหว่างดำเนินการตามแผนงาน ผู้ตรวจราชการควรมีการประเมิน ผลลัพธ์ที่ได้เช่น เทียบผลงานกับแผนงาน 2. ส่วนราชการควรสั่งการให้มีการปรับปรุงแก้ไขตามรายงานผลการตรวจราชการและควรกำหนดระยะเวลาในการติดตามผลการตรวจสอบ |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ทุกหน่วยงานมีการประเมินความเสี่ยงเพื่อวางแผนการตรวจสอบประจำปี แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกกิจกรรมด้วยข้อจำกัดของบุคลากรและระยะเวลาที่ตรวจสอบ | ส่วนราชการควรให้ความสำคัญกับการตรวจสอบภายใน สนับสนุนเพิ่มเติมกรอบอัตรากำลังของ ผู้ตรวจสอบภายในส่วนราชการในสังกัดกระทรวงคมนาคมให้เหมาะสมสอดคล้องกับภารกิจ หน้าที่ ความรับผิดชอบ รวมทั้งสนับสนุนในเรื่องความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญและการกำหนดตำแหน่งนักวิชาการตรวจสอบภายในตามที่สำนักงาน ก.พ.กำหนด |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1.การประเมินผลการดำเนินงานด้านการควบคุมภายในพบว่า ทุกส่วนราชการระดับกรมและกระทรวงมีผลการประเมินตามเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับดีมาก 2.การจัดทำรายงานการควบคุมภายในของสำนักงานปลัดกระทรวง กรมการขนส่งทางบก และกระทรวงคมนาคม (ภาพรวม) ส่งให้ ค.ต.ป. ประจำกระทรวง ไม่ตรงตามกำหนดเวลา |
ส่วนราชการควรให้ความสำคัญกับระบบการควบคุมภายในโดยจัดส่งเอกสารหลักฐานรายงานการควบคุมภายในภายในกำหนดระยะเวลา |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1. รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองของกระทรวง บางตัวชี้วัดขาดความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานอ้างอิงประกอบรายงาน 2. รายงานผลการปฏิบัติตามคำรับรองฯ บางตัวชี้วัดข้อมูลที่จัดเก็บได้กับข้อมูลในรายงานผลไม่ถูกต้องตรงกัน 3. รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองฯ ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติราชการไม่ได้ระบุปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคต่อการดำเนินงาน |
1. ในการคัดเลือกโครงการโดยเฉพาะโครงการผูกพันงบประมาณ เพื่อมาจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ควรตรวจสอบผลการดำเนินงานของโครงการก่อน หากพบว่า โครงการมีผลการดำเนินงานแล้วเสร็จในปีที่ผ่านมา ก็ไม่ควรนำมาวัดผลการดำเนินงานในปีปัจจุบันหรือหากตรวจพบในระหว่างปีควรยกเลิกตัวชี้วัดและตัดน้ำหนักหรือถ่ายโอนน้ำหนักไปตัวชี้วัดอื่นแทน 2. สำหรับส่วนราชการควรให้ความสำคัญในการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรอง โดยจัดทำรายงานผลการปฏิบัติราชการให้ครบองค์ประกอบของแบบรายงานที่กำหนด และแนบเอกสารหลักฐานอ้างอิงไว้เป็นภาคผนวกของรายงาน พร้อมทั้งตรวจสอบการจัดทำรายงานให้มีความถูกต้องตรงกับข้อมูลที่จัดเก็บได้ |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1. พบสิ่งที่เป็นเหตุให้เชื่อว่ารายงานผลการดำเนินงานทางด้านการเงินของส่วนราชการไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่ควรในสาระสำคัญ เนื่องจาก - มีข้อจำกัดและข้อคลาดเคลื่อนของรายงานการเงินเกี่ยวกับการรับรู้สินทรัพย์และค่าใช้จ่ายจากบัญชีพักสินทรัพย์ของหน่วยงาน - บัญชีเจ้าหนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มียอดคงค้างจำนวนมาก - การบันทึกรายการปรับปรุงบัญชีย้อนหลังในระบบ GFMIS ในปีงบประมาณ 2554 หน่วยงานยังปรับปรุงรายการไม่ครบถ้วน 2. บางหน่วยงานผู้ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบทางการเงินและบัญชียังมีปัญหาในการปฏิบัติ เช่น มีการย้ายเจ้าหน้าที่ในตำแหน่งด้านการเงินทำให้เจ้าหน้าที่บางคนมีความรู้ความสามารถและทักษะงานด้านการเงินไม่เพียงพอ 3. การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2555 ของทุกส่วนราชการในสังกัดกระทรวงคมนาคมมีอัตราการเบิกจ่ายต่ำกว่าเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีมีมติไว้ สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากช่วงต้นปีงบประมาณหลายพื้นที่ประสพปัญหาอุทกภัยและการประกาศใช้งบประมาณที่ล่าช้า |
1. ส่วนราชการควรเร่งแก้ไขปรับปรุงรายการทางบัญชีที่ยังมีข้อคลาดเคลื่อนให้ถูกต้องตามหลักการบัญชีและหัวหน้าส่วนราชการติดตามผลการดำเนินการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้รายงานการเงินมีความถูกต้องและเชื่อถือได้ 2. ควรให้ความสำคัญกับ การแต่งตั้งบุคลากรด้านการเงินและบัญชีเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการปฏิบัติงานที่ต้องอาศัยความรู้และทักษะเฉพาะด้านการโอนย้ายปรับเปลี่ยนตำแหน่งอาจเป็นผลให้การปฏิบัติงานขาดความต่อเนื่องได้ 3. ส่วนราชการควรคัดเลือกโครงการที่มีความพร้อมในการดำเนินงานเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงานและบริหารสัญญาจ้างโดยกำกับดูแลให้ผู้รับจ้างส่งมอบงานให้เป็นไปตามงวดงานในสัญญา |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ โครงสร้างท่าเทียบเรือส่วนที่ยื่นจากฝั่งบางส่วนอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสนอ่อน – ป่าคลองใหญ่ - ป่าคลองมะขาม มีสภาพพื้นที่เป็นป่าชายเลน ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ ซึ่งหากจะดำเนินการก่อสร้างจะต้องขอใช้พื้นที่ การขอใช้พื้นที่ดังกล่าวจึงเป็นการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน จะต้องยื่นเรื่องเสนอต่อ ครม. เพื่อพิจารณาผ่อนผันยกเว้นเป็นการเฉพาะราย กรมเจ้าท่าจึงสั่งให้ผู้รับจ้างหยุดงานเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2554 และทำเรื่องเสนอ ครม. เพื่อพิจารณาผ่อนผัน |
การดำเนินโครงการที่มีพื้นที่โครงการทับซ้อนหรืออยู่ในเขตป่าสงวน กรมเจ้าท่าควรดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ก่อสร้างก่อนดำเนินการหากพบปัญหาควรดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จก่อนเริ่มดำเนินโครงการเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการก่อสร้างและส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของโครงการ |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ บางโครงการมีผลการดำเนินการล่าช้ากว่าแผนเนื่องจากระดับน้ำสูงเกินกว่าระดับน้ำที่ปฏิบัติงานได้และการดำเนินงานอยู่ในช่วงฤดูฝนและน้ำหลาก |
กรมเจ้าท่าเร่งรัดผู้รับจ้างดำเนินการขุดลอกให้แล้วเสร็จตามแผนโดยเร็ว การบำรุงรักษาลุ่มน้ำควรดำเนินการให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและ ในโอกาสต่อไปควรพิจารณาการจ้างเอกชนบำรุงรักษาในช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือจ้างดูแลบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ ผลการดำเนินงานล่าช้ากว่าแผน โดยโครงการพบปัญหาและอุปสรรค เช่น มี Riser Pole และ Cable กีดขวางการก่อสร้างและการขนส่งวัสดุเสาเข็มจากท่าเรือมาให้หน้างาน |
กรมทางหลวงชนบทเร่งรัดผู้รับจ้างแก้ไขปัญหา เพื่อให้โครงการก่อสร้างสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผน |