วิสัยทัศน์ เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนมีความมั่นคงด้านอาหาร เป็นฐานสร้างรายได้ให้แผ่นดิน พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย 1. ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2. ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่มีประสิทธิภาพ เสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังานอย่างเหมาะสมและยั่งยืน สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และมีมาตรฐานปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ 3. ส่งเสริมให้มีการจัดสรรทรัพยากรการผลิตทางการเกษตร และโครงสร้างพื้นฐานการเกษตรอย่างพอเพียง มีประสิทธิภาพยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 4. ส่งเสริมให้มีการวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตรที่เหมาะสม เป้าประสงค์หลัก ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร เป้าประสงค์ - เกษตรกรได้รับการพัฒนาศักยภาพให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยมีรายได้พอเพียงต่อการดำรงชีวิต และมีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมและมีคุณภาพชีวิตที่ดี - ดูแลและช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติธรรมชาติ - ฟื้นฟูเกษตรกรรายย่อยที่ได้รับการพักหนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาขีดความสามารถในการผลิต การจัดการสินค้าเกษตร และความมั่นคงอาหาร เป้าประสงค์ - เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพมาตรฐาน และเพียงพอต่อความต้องการ - มูลค่าสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น - อำนวยความสะดวกการค้าและการขนส่งทางการเกษตรเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาทรัพยากรการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ สมดุลและยั่งยืน เป้าประสงค์ - เพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ประมาณ 4.22 ล้านไร่ - เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของฐานทรัพยากรธรรมชาติด้านการประมงและบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน - ดำเนินการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรมและการพัฒนาที่ดินอย่างยั่งยืน หน่วยงานในสังกัด
สถานที่ติดต่อ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ 10200เบอร์โทร, โทร. 02-281-5884 โทรสาร 02-281-5955 http://www.moac.go.th webmaster@moac.go.th อำนาจหน้าที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเกษตรกรรม การจัดหาแหล่งน้ำและพัฒนาระบบชลประทาน ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ส่งเสริมและพัฒนาระบบสหกรณ์ รวมตลอดทั้งกระบวนการผลิตและสินค้าเกษตรกรรม และราชการอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1.โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี (ศูนย์ข้าวชุมชน) ปี 2555 การตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวง ได้ให้ข้อเสนอแนะแก่หน่วยรับตรวจเพื่อดำเนินการให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ และหน่วยรับตรวจได้มีการดำเนินการตามข้อเสนอแนะแล้ว 2. โครงการก่อสร้างแหล่งน้ำและระบบส่งน้ำ (โครงการขนาดเล็ก) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 การดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 เป็นช่วงระยะเวลาต่อเนื่องจากการเกิดปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ปลายปี 2554 จึงอาจทำให้การดำเนินงานช่วงแรกของหลายจังหวัดเกิดความล่าช้า |
ไม่มี |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานตามมาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายใน อยู่ในเกณฑ์ดี ถึงดีมาก เพิ่มขึ้นจากปีก่อน | ผู้ตรวจสอบภายในเป็นกลไกเครื่องมือช่วยผู้บริหารในการควบคุมและการกำกับดูแลองค์กรในภาครัฐ ดังนั้น หัวหน้าส่วนราชการจึงควรสนับสนุนอัตรากำลังและตำแหน่งให้สูงขึ้น |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1. ความเสี่ยงที่ส่วนราชการควรให้ความสำคัญ คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น สภาพภัยธรรมชาติ สถานการณ์ความไม่สงบ การให้ความร่วมมือของเกษตรกร เป็นต้น เนื่องจากเป็นความเสี่ยงที่ยากต่อการกำหนดกิจกรรมควบคุมที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 2. หลายส่วนราชการยังคงพบจุดอ่อนของการดำเนินงานในความเสี่ยงเดิมดังเช่นในปีที่ผ่านมา ได้แก่ ด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ |
1. ควรให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น เกษตรกร ผู้ประกอบการ หน่วยงานรัฐและเอกชน เป็นต้น เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงานจากทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง รวมทั้งพัฒนาระบบการกำกับติดตามการดำเนินงานให้มีความต่อเนื่องและสม่ำเสมอ 2. ควรสร้างความเข้าใจในการจัดทำรายงานการควบคุมภายในอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถดำเนินการจัดทำรายงานการควบคุมภายในได้อย่างครบถ้วน สมบูรณ์ต่อไป |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ค่าคะแนนภาพรวม ทุกส่วนราชการมีผลคะแนนโดยรวมของแต่ละส่วนราชการสูงกว่าเป้าหมาย | การกำหนดกรอบการสอบทานในแต่ละปี ควรพิจารณาความสอดคล้องกับกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1. ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม มีผลการเบิกจ่ายร้อยละ 86.49 ต่ำกว่าร้อยละ 93 (ตาม มติ ค.ร.ม.) 2. ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนในภาพรวม มีผลการเบิกจ่ายร้อยละ 77.47 สูงกว่าร้อยละ 72 (ตาม มติ ค.ร.ม.) |
1. ส่วนราชการควรติดตามเร่งรัด และพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินของส่วนราชการทันภายในปีงบประมาณ 2. กรมบัญชีกลางควรจัดอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ตรวจสอบภายในให้ทั่วถึงและต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในระบบ GFMIS ได้อย่างถูกต้อง และพัฒนาระบบ GFMIS ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ 1. งานล่าช้ากว่าแผน เพิ่มขึ้นจากการสอบทานระหว่างปี 2. การประชุมร่วมระหว่างบริษัทผู้รับจ้างและบริษัทที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง เพื่อปรับแผนยังไม่สามารถเร่งรัดงานได้ตามแผน |
1. กรมชลประทานควรเร่งรัดให้บริษัทผู้รับจ้างและบริษัทที่ปรึกษาประชุมเร่งรัดงานให้บ่อยขึ้นและปรับแผนงานให้เพื่อให้โครงการเสร็จทันกำหนด 2. กรมชลประทาน ควรสั่งการให้บริษัทผู้จ้างเพิ่มเครื่องจักรกล และเร่งรัดการทำงานให้ต่อเนื่อง |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ 1. คณะกรรมการบริหารและกำกับดูแลโครงการจัดระบบการปลูกข้าวมีการประชุม ค่อนข้างน้อย 2. การจัดเวทีชุมชน เพื่อยืนยันความต้องการปลูกพืชหลังนา และพืชปุ๋ยสด ค่อนข้างล่าช้าเนื่องจากต้องรองบประมาณ ส่งผลกระทบต่อการวางแผนการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชหลังนา 3. การกำหนดชนิดเมล็ดพันธุ์พืชหลังนาหลายชนิดส่งผลกระทบต่อการวางแผนการผลิตเมล็ดพันธุ์ เช่น เมล็ดพันธุ์ถั่วลิสง ข้าวโพดหวาน และข้าวโพดฝักอ่อน เนื่องจากเมล็ดพันธุ์พืชดังกล่าวไม่สามารถผลิตล่วงหน้าได้เป็นเวลานาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการงอกได้ |
1. ควรกำหนดให้มีคณะทำงานระดับพื้นที่ และมีการประชุมต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาในการดำเนินโครงการให้ทันท่วงที 2. ควรกำหนดให้มีการจัดเวทีชุมชนล่วงหน้าก่อนเริ่มปีงบประมาณ เพื่อจะได้วางแผนการปลูกข้าว และการปลูกพืชหลังนา โดยกำหนดชนิดพันธุ์พืชหลังนาให้น้อยชนิดลง 3. ควรให้การสนับสนุนโครงการโดยต่อเนื่อง และเสริมการตลาดเพื่อให้เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตจากการปลูกพืชเสริมได้อย่างยั่งยืน |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ การช่วยเหลือเป็นการช่วยเหลือเฉพาะด้านและเร่งด่วน |
1. ควรกำหนดแนวทางการช่วยเหลือไว้ในแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติของกระทรวงด้วย 2. ควรให้ศูนย์ข้าวชุมชนมีส่วนร่วมจัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าวในโอกาส ต่อไป |