วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรนำในการสร้างหลักประกันความมั่นคงของรัฐ และปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อความผาสุกของประชาชนด้วยการพัฒนากองทัพให้มีศักยภาพ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และการบริหารจัดการสมัยใหม่ พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย 1. รักษาเอกราชและความมั่นคงของรัฐ 2. ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ 3. รักษาผลประโยชน์ของชาติ 4. พัฒนาประเทศ ช่วยเหลือประชาชนและแก้ไขปัญหาสำคัญของชาติในด้านต่างๆ หน่วยงานในสังกัด
สถานที่ติดต่อ ถนนสนามไชยกรุงเทพฯ 10200 โทร. 02-226-31200 โทรสาร 02-225- 5118 www.opsd.mod.go.th อำนาจหน้าที่ กระทรวงกลาโหมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ สนับสนุนการพัฒนาประเทศ และราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงกลาโหม |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ไม่มีข้อมูล
|
ไม่มีข้อมูล |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของหน่วยมีความรู้ ความเข้าใจไม่เพียงพอในการปฏิบัติงานตามตำแหน่ง และมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกำลังพล ทำให้การปฏิบัติงานขาดความต่อเนื่องรวมทั้งขาดความรู้ ความเข้าใจ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องในด้านการเงิน การบัญชีและการพัสดุที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา |
จัดฝึกอบรมให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องด้านการเงิน การบัญชีและการพัสดุ พร้อมทั้งจัดทำคู่มือด้านการปฏิบัติงานด้านการเงินการบัญชี และการพัสดุเพื่อเป็นแนวทางการศึกษาเบื้องต้นให้กับเจ้าหน้าที่ที่มีการปรับเปลี่ยนหมุนเวียนกำลังพล |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
การประเมินผลการควบคุมภายในเป็นไปตามวิธีการที่กำหนด ระบบควบคุมภายในมีความเพียงพอและสามารถ บรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน |
ควรให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอต่อไป |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
จากการสอบทานสรุปผลคะแนนของผลการประเมินการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ของหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงฯพบว่า ระดับคะแนนของผลการประเมินอยู่ในระดับที่สูงกว่าเป้าหมาย | กระทรวงกลาโหมควรรักษามาตรฐานของการจัดทำรายงานและการเตรียมข้อมูลประกอบ การประเมินผลที่จัดทำได้ในระดับดีอยู่แล้วให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้ความสำคัญกับคำชี้แจงการปฏิบัติงานปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคต่างๆ ของการปฏิบัติ |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1. รายงานผลการดำเนินงานทางการเงิน บางส่วนมีข้อคลาดเคลื่อนจากการเชื่อมโยงข้อมูล กับระบบ GFMIS จากการปรับปรุงการบัญชีและ การจัดทำรายงานการเงิน เป็นต้น 2. การดำเนินงานโครงการ/งานไม่เป็นไปตามสัญญาจัดซื้อ/จัดจ้าง เช่น การดำเนินงานจริง ไม่เป็นไปตามงวดงานที่กำหนดไว้ ส่งผลให้การเบิกจ่ายล่าช้า |
1.ส่วนราชการที่มีข้อคลาดเคลื่อนรายงานทางการเงิน ควรดำเนินการปรับปรุงการลงบัญชีและแสดงรายละเอียดประกอบทางการเงินและการลงบัญชีให้ถูกต้องทุกรายการ 2.เร่งรัดการดำเนินการและเบิกจ่ายงบประมาณโดยเฉพาะโครงการ/งานที่มีงวดงานและระยะเวลาส่งมอบภายในปีงบประมาณให้เป็นไป ตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ ผลการดำเนินงานล่าช้า สืบเนื่องจากปัญหาฐานะการเงินและการขาดสภาพคล่องทางการเงินของผู้รับจ้าง มีข้อจำกัดในการสร้าง ที่พักคนงานภายในและการเข้าออกของแรงงานโดยเฉพาะแรงงานที่เป็นชาวต่างชาติ ปัญหาด้านการขนส่งวัสดุและอุปกรณ์การก่อสร้างของผู้รับจ้าง เนื่องจากในห้วงเวลาที่ก่อสร้างได้เกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศ |
เพื่อให้แผนการดำเนินงานโครงการสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนได้มากยิ่งขึ้น ในโอกาสต่อไปเห็นควรให้พิจารณาจัดทำแผนการดำเนินงานรายไตรมาส |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ การดำเนินงานล่าช้ากว่าแผนการดำเนินงาน ส่งผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณด้วยเช่นกัน สาเหตุมาจากการดำเนินการของบริษัทคู่สัญญา |
ควรติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานและแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ เพื่อไม่ให้ส่งผลต่อการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมไม่เป็นไปตามเป้าหมายตามมติคณะรัฐมนตรีกำหนด หากมีความจำเป็นและพิจารณาแล้วเห็นว่าโครงการ/งานใดไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนด ให้เสนอปรับแผนการดำเนินงานและแผนการใช้จ่ายเงินไปยังส่วนราชการที่เกี่ยวข้องล่วงหน้า |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1. มีความล่าช้าในการซ่อมฟื้นฟูฯอุปกรณ์ในหลายรายการที่ยังไม่แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาในใบสั่งจ้าง 2. งบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอที่จะซ่อม คืนสภาพได้ทุกเครื่องยนต์หรือทุกแบบที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย และงบประมาณในการซ่อมเครื่องยนต์บางส่วนเดิมที่ได้รับก่อนประสบอุทกภัยเหลือจ่าย |
1. กรมช่างอากาศ ควรเร่งรัดให้มีการดำเนินการซ่อมฟื้นฟู ฯ ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว 2. ค.ต.ป.ประจำกระทรวงกลาโหม พิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐบาลควรสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมให้กระทรวงกลาโหม โดยให้กองทัพอากาศจัดทำโครงการซ่อมฟื้นฟูหรือจัดหาทดแทนเครื่องยนต์ ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในปี 2554 ในส่วนที่ยังไม่ได้ดำเนินการซ่อมฟื้นฟู ฯ ทั้งนี้เพื่อให้กองทัพอากาศ มีเครื่องยนต์เครื่องบินเพียงพอสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจต่อไป 3. สำหรับงบประมาณในการซ่อมเครื่องยนต์บางส่วนเดิมที่ได้รับก่อนประสบอุทกภัยเหลือจ่าย เห็นควรให้กองทัพอากาศ โดยกรมช่างอากาศประสานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงรหัสงบประมาณจากรหัสการซ่อม (ค่าใช้สอย) เป็นรหัสการจัดหาครุภัณฑ์ (พัสดุ) เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายได้ตามความจำเป็นต่อไป |