วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรหลักในการสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ปลูกฝังค่านิยมอันดีงาม บนพื้นฐานคุณธรรม นำสังคมอยู่เย็นเป็นสุข พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย 1. ทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ และสนองงานสำคัญของสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ให้มีการสืบทอดและพัฒนาอย่างยั่งยืน 2. ปลูกฝังค่านิยมและส่งเสริมวิถีชีวิตที่ดีงาม 3. นำมิติทางวัฒนธรรมมาเพิ่มคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม 4. บริหารจัดการองค์ความรู้และมรดกศิลปวัฒนธรรมให้เกิดประโยชน์แก่สังคมไทยและสังคมโลก เป้าประสงค์หลัก 1. ธำรงไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม - แต่ละท้องถิ่นสามารถรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง - มีกิจกรรมระดับชาติที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 2. ประชากรโดยส่วนรวม มีคุณภาพ มีความสามารถ มีความเข้าใจในรากฐานทางวัฒนธรรมของตน และนำมาใช้ในการดำรงชีวิต - ประชาชน มีจิตสำนึกและดำรงชีวิตตามรากฐานทางวัฒนธรรมของตนและรู้เท่าทันโลก - มีเว็บไซต์ เผยแผ่ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมสู่เด็ก เยาวชน และประชาชน - แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมทั้งระดับชาติ และชุมชนท้องถิ่น ได้รับการพัฒนาและส่งเสริม - มีพิพิธภัณฑ์ชนชาติไทย หอศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย หอสมุดแห่งชาติแห่งใหม่ 3. สังคมมีความสมานฉันท์ ดำรงไว้ซึ่งคุณธรรม และสามารถพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานวัฒนธรรม อยู่ร่วมในสังคมโลกอย่างมีศักด์ศรี - ประชาชนทุกกลุ่มมีโอกาสร่วมกิจกรรมทางด้านศาสนา ศิลปะ และ วัฒนธรรม เพื่อสร้างความสมานฉันท์ และเอื้ออาทรต่อกัน - มีศูนย์วัฒนธรรมที่ได้มาตรฐาน สำหรับบริการกิจกรรมทางวัฒนธรรมรูปแบบต่างๆ อย่างหลากหลาย - มีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นทุกภาคต่างๆ และเชื่อมโยงสู่ประเทศใกล้เคียง - ภูมิปัญญาไทยเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ 4. สถาบันทางสังคม เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน สถาบันทางศาสนา ฯลฯ มีความเข้มแข็งทำหน้าที่เป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนา - เกิดเครือข่ายทางวัฒนธรรมที่กระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ - มีระบบฐานข้อมูลทางด้านสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ สำหรับบริหารจัดการการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมและให้บริการองค์ความรู้แก่ ประชาชน หน่วยงานในสังกัด
สถานที่ติดต่อ ที่อยู่เลขที่ 666 ถนนบรมราชชนนี บางพลัด กรุงเทพฯ 10700 โทร. 0 2-422 -8888 โทรสาร http://www.m-culture.go.th/ webmaster@m-culture.go.th อำนาจหน้าที่ เกี่ยวกับศิลปะ ศาสนา และวัฒนธรรมและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงวัฒนธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
หน่วยงานที่รับผิดชอบประสบปัญหาบุคลากรไม่เพียงพอต่อภารกิจที่มีอยู่จำนวนมากกระจายอยู่ทั่วประเทศ รวมทั้งมีการสับเปลี่ยนโยกย้ายบุคลากรในแต่ละหน่วยงาน ทำให้การสั่งสมประสบการณ์ และทักษะของบุคลากรขาดความต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน |
การตรวจราชการจำเป็นต้องมีการนิเทศงาน เพื่อจัดให้มีกระบวนการติดตามผลงาน ชี้แจงแนวทางปฏิบัติ เสนอแนะ อบรม ฝึกสอน สังเกตการณ์ กระตุ้น แก้ไข และส่งเสริมให้ผู้รับการนิเทศ(หน่วยรับการตรวจ) |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1. การตรวจสอบยังไม่ครอบคลุมทุกด้านส่วนใหญ่จะเน้นการตรวจสอบด้านการเงิน ด้านการดำเนินงาน ด้านการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบ 2. การรายงานผลการตรวจสอบภายในยังเน้นเนื้อหาสาระในเรื่องการปฏิบัติงาน การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ การรายงานผลการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการ ยังไม่เด่นชัด 3. อัตรากำลังของผู้ปฏิบัติงานที่ไม่เพียงพอ ไม่ได้รับจัดสรรบุคลากรเพิ่ม และผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้ ความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบ |
1.ควรจัดให้มีการฝึกอบรม พัฒนา ผู้ตรวจสอบภายใน ในด้านความรู้ความสามารถในงานตรวจสอบระบบงานตรวจสอบและประเมินผลในระดับที่สูงขึ้น ได้แก่ ระบบงานการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง ผลสัมฤทธิ์ของงานเชิงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความคุ้มค่า ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ คุณค่าที่เกิดขึ้นเสริมสร้างพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติ 2.ผู้บริหารควรให้โอกาสผู้ตรวจสอบภายในเข้าพบปะหารือร่วมกันแก้ปัญหาและพัฒนางานตามที่ได้ตรวจสอบพบ โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นทุกปีในการดำเนินงาน
|
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
จุดอ่อนและความเสี่ยงสำคัญของภาพรวมกระทรวงและหน่วยงานระดับกรมทุกหน่วยงานเป็นเรื่องบุคลากรไม่เพียงพอและมีความจำเป็นต้องพัฒนาทักษะ ความรู้ความชำนาญของบุคลากรที่ปฏิบัติงานเฉพาะด้าน |
1.ผู้บริหารส่วนราชการระดับกรมควรให้ความสำคัญด้านบุคลากร การให้ความรู้และพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่องและจริงจัง 2. ส่วนราชการระดับกรมและหน่วยงานย่อยควรมุ่งเน้นพิจารณาทบทวนโครงการ/กิจกรรมที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จหรือยังไม่ได้ดำเนินการให้มากยิ่งขึ้น |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ตัวชี้วัดระดับกระทรวงที่กำหนด ไม่สะท้อนการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันระหว่างส่วนราชการภายในกระทรวง สาเหตุอาจเนื่องจากการกำหนดตัวชี้วัดของส่วนราชการต่างๆในกระทรวง เป็นการพิจารณาโครงการหรือกิจกรรมหลักตามบทบาทภารกิจที่แตกต่างกันของส่วนราชการต่างๆ จึงมิได้เชื่อมโยงเชิงบูรณาการร่วมกันตามกรอบหรือแนวทางของยุทธศาสตร์กระทรวง |
การบูรณาการงานของกระทรวง (ที่มีส่วนราชการที่แตกต่างกันในสังกัด) ควรมีการประชุมหารือและมีข้อยุติร่วมกันในการกำหนดตัวชี้วัดของแต่ละส่วนราชการ และร่วมกันเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ของกระทรวงให้เป็นระบบและจริงจังมากขึ้น
|
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1. การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของปีงบประมาณ พ.ศ.2555 พบว่า ภาพรวมกระทรวงวัฒนธรรมสามารถเบิกจ่ายได้ 77.02% ต่ำกว่าเป้าหมายที่มติคณะรัฐมนตรีกำหนดไว้ (93%) 2. หน่วยงานระดับกรม ได้ดำเนินการปรับปรุงข้อผิดพลาดของรายการบัญชีตามแนวทางของกรมบัญชีกลางอย่างต่อเนื่อง |
1. ควรกำกับดูแลเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้มีการตรวจสอบข้อมูลการเงินในระบบ GFMISโดยสม่ำเสมอในทุกกระบวนการปฏิบัติงานแต่ละระบบเพื่อจะสามารถแก้ไขข้อคลาดเคลื่อนได้ง่ายหากพบภายในงวดนั้นๆ 2. ควรกำชับและติดตามให้มีการจัดทำบัญชีด้วยมือให้เป็นปัจจุบัน |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ การบริหารงบประมาณ ส่วนใหญ่เป็นไปตามแผนและระยะเวลาในการดำเนินงาน แต่มีประเด็นในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานในภาพรวมยังไม่ชัดเจน |
โครงการลานบุญ ลานปัญญาควรรื้อฟื้นวัฒนธรรมประชาธิปไตยของคนไทยสมัยเก่ากลับคืนมา ให้วัดเป็นศูนย์กลางในการประชุมปรึกษาหารือปัญหาบ้านเมือง ปัญหาสังคม รวมทั้งปัญหาอื่นๆ โดยเชิญผู้รู้ ผู้นำท้องถิ่นมาร่วมกัน คิดและหาทางแก้ไข ทำจนเป็นวัฒนธรรมประชาธิปไตย และช่วยกันพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของบ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุข โดยการนำทุน 6 ประการ ที่สภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำหนดมาเป็นหลักในการพัฒนา |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ การดำเนินงานของผู้รับจ้างปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง คิดเป็นปริมาณงาน 30% ของปริมาณงาน แต่ยังไม่สามารถส่งมอบงานและเบิกจ่ายเงินได้ตามแผนปฏิบัติการ |
ผู้บริหารที่มีหน้าที่รับผิดชอบโครงการฯ ควรกำกับและเร่งรัดการดำเนินงานของหน่วยงานโดยให้มีการติดตามความก้าวหน้าระหว่างงวดงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานและวัตถุประสงค์ที่วางไว้ |