วิสัยทัศน์ แรงงานมีศักยภาพสูงเพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ มีความมั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย 1. พัฒนากำลังแรงงานและผู้ประกอบการให้มีศักยภาพสูงและสอดคล้องต่อความต้องการของภาค เศรษฐกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลก 2. ส่งเสริมให้แรงงานมีความมั่นคงในการทำงาน มีหลักประกันและมีคุณภาพชีวิตที่ดี 3. พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรและบุคลากรด้านแรงงานให้มีประสิทธิภาพ เป้าประสงค์หลัก 1. การเสริมสร้างความสมดุลของตลาดแรงงาน และความยั่งยืนให้ภาคแรงงาน 2. การเพิ่มขีดความสามารถของกำลังแรงงานและผู้ประกอบการในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ 3. การบริหารจัดการด้านแรงงานระหว่างประเทศ 4. การเสริมสร้างความมั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กำลังแรงงาน 5. การพัฒนาการบริหารจัดการของกระทรวงแรงงานให้มีความเป็นเลิศ หน่วยงานในสังกัด
สถานที่ติดต่อ ที่อยู่ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0 2-245- 5801, 0 2-246 -1520, 0 2-232- 1002-4 โทรสาร Fax 0 2643 4457 http://www.mol.go.th/ webmaster@mol.go.th อำนาจหน้าที่ กระทรวงแรงงานมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหาร คุ้มครอง แรงงาน และพัฒนาฝีมือแรงงาน ส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงแรงงานหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงแรงงาน |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
การตรวจราชการโดยผู้ตรวจราชการ กระทรวงและผู้ตรวจราชการกรมเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจราชการ พ.ศ. 2548 |
นอกจากการตรวจราชการแบบบูรณาการแล้ว ควรกำหนดให้มีการประชุมรับการตรวจแบบบูรณาการภายในกระทรวงแรงงาน รวมทั้งเชิญอาสาสมัครแรงงานมาร่วมประชุมรับการตรวจราชการให้มากขึ้นกว่าเดิม |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1. การสอบทานรายงานผลการตรวจสอบด้านการเงิน การบัญชี การปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับ (Financial&Compliance) ข้อบกพร่องที่ตรวจพบส่วนใหญ่จะมีลักษณะเหมือนๆกัน สาเหตุประเด็นหนึ่งเนื่องจากเจ้าหน้าที่ขาดความรู้ความเข้าใจในระเบียบ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง 2. มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน ในภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ดีมาก |
1. ควรให้ส่วนราชการทำการฝึกอบรม ซักซ้อม
แนวทางการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องให้เจ้าหน้าที่ |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
มีการวางระบบการควบคุมภายใน และการจัดทำแผนปรับปรุงกิจกรรมการควบคุมภายในและมีการติดตามประเมินผลตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นด้นว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 โดยสรุปในการสอบทานเป็นไปตามระเบียบไม่พบข้อบกพร่องหรือข้อสังเกตที่มีนัยสำคัญ | ในส่วนที่มีแผนปรับปรุงกิจกรรมการควบคุมภายใน ควรกำหนดให้มีการติดตามการเฝ้าระวังและประเมินผลการควบคุมภายในอย่างสม่ำเสมอ |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1. ตัวชี้วัดในส่วนของการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรีตามกรอบ ASEAN Economic Community(AEC) ในปี 2558 (2015) พบว่า สามารถดำเนินการได้ โดยมีการปรับปรุงแผนและแก้ไขกฎ ระเบียบ และกฎหมายของกระทรวงแรงงานให้รองรับตามกรอบฯ ได้ในระดับหนึ่ง 2. ปัญหาการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน และการเบิกจ่ายเงิน/งบประมาณรายจ่ายภาพรวมหน่วยงานส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเบิกจ่ายได้ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหนด |
1.เห็นควรให้กำหนดเป็นตัวชี้วัดต่อเนื่อง เพื่อรองรับกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมมากขึ้น 2.ผู้บริหารควรให้ความสำคัญในการกำกับ ควบคุมและติดตามผลอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้รับทราบปัญหา อุปสรรค และหาทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคเหล่านั้นตั้งแต่ต้น |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
รายงานผลการดำเนินงานทางด้านการเงินของกระทรวงแรงงานมีความถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญ และพบว่าบางกรมยังมีบางรายการ (ส่วนน้อยเพียง หนึ่งถึงสองรายการเท่านั้น) คลาดเคลื่อน และอยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขปรับปรุงทางบัญชี |
ขอให้หน่วยงานดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องครบถ้วนต่อไป |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ หลังจากจบโครงการมีสถานประกอบการจำนวน4 แห่ง ปิดกิจการ แต่ยังมีสถานประกอบการอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการและปิดกิจการลงพร้อมกับเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรคงเหลือคืนคลังประมาณ 21% |
กรณีกำหนดหลักเกณฑ์จ่ายรายละ 2,000 บาท/เดือน เป็นเวลา 3 เดือนเท่ากันทุกพื้นที่ ทุกสถานประกอบการมีความเหมาะสมหรือไม่ ควรนำข้อมูลหลายๆด้านมาวิเคราะห์ หากรัฐมีมาตรการให้การช่วยเหลือที่มากกว่านี้สถานประกอบการจะยังคงอยู่ได้หรือไม่เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในโอกาสต่อไป |
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ เป็นโครงการที่ดีหากมีระยะเวลาทำงาน และการเตรียมแผนงานอย่างพอเพียง อย่างไรก็ตามพบว่า ได้รับงบประมาณล่าช้า |
กรณีที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จะสามารถพัฒนาเป็นฐานข้อมูลในการสร้างแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แห่งชาติต่อไป |