ส่วนราชการ / สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
ประจำปีงบประมาณ
ข้อมูลทั่วไป
วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และการบริหารจัดการแบบบูรณาการเพื่อการสนับสนุนส่งเสริมให้อุตสาหกรรมของประเทศเข้มแข็ง
พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย
เป็นการกล่าวถึงสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ และความสัมพันธ์ที่สำคัญกับประชาชนผู้รับบริการ ส่วนราชการอื่น และประชาชนโดยรวม
เป้าประสงค์หลัก
1. นโยบายและยุทธศาสตร์การดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ชัดเจนที่มีการนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างสัมฤทธิ์ผลในทุกระดับ
2. มีระบบการติดตามผลการดำเนินงานด้านยุทธศาสตร์และแผนงาน/โครงการที่ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการกำกับการปฏิบัติงานและทบทวนยุทธศาสตร์องค์กรต่อไป
3. พัฒนาบทบาทของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดให้เป็นแกนหลักในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมในระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด
4. เพิ่มบทบาทของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดในการกำกับดูแล ส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาค
5. ชุมชนมีส่วนร่วมและมีความเข้าใจเกี่ยวกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อลดการต่อต้านการประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่
6. อุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมสีเขียวมากขึ้น
7. เพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการให้บริการให้เป็นที่พึงพอใจของผู้รับบริการ
8. พัฒนาบุคลากรและสร้างระบบการจัดการองค์ความรู้เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)และสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society)
9. ประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อลดกระแสการต่อต้านการประกอบการอุตสาหกรรม
ค่านิยมและวัฒนธรรมของส่วนราชการ
รับผิดชอบในหน้าที่ เสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ มีความซื่อสัตย์สุจริต จิตอาสาบริการ
อำนาจหน้าที่
1. ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำข้อมูลเพื่อเสนอแนะรัฐมนตรี สำหรับใช้ในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย
และผลสัมฤทธิ์ของกระทรวง
2. พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารของกระทรวง
3. แปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนปฏิบัติงาน
4. จัดสรรและบริหารทรัพยากรของกระทรวง เพื่อให้เกิดการประหยัด คุ้มค่า และสมประโยชน์
5. กำกับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผล รวมทั้งประสานการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัด กระทรวง
6. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารงานและการบริการของหน่วยงานใน สังกัดกระทรวง
7. ประสานการบริหารราชการและปฏิบัติงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงในต่างประเทศ
8. กำกับ ดูแล และส่งเสริมการประกอบกิจการอุตสาหกรรมในส่วนภูมิภาคให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน กฎหมายว่าด้วยแร่ กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมแร่ดีบุก กฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนเครื่องจักร และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง