ส่วนราชการ / กระทรวงมหาดไทย

กระทรวงมหาดไทย
Ministry of Interior
ประจำปีงบประมาณ

ข้อมูลทั่วไป

วิสัยทัศน์
เป็นกระทรวงหลักในการบริหารจัดการและบูรณาการทุกภาคส่วน เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขประชาชน
พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย
1. กำกับดูแล จัดระบบการบริหารการปกครองส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่ การปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. รักษาความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงภายใน และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับต่างประเทศ
3. อำนวยความเป็นธรรมและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในระดับพื้นที่
4. ส่งเสริมการพัฒนาเมือง โครงสร้างกายภาพ การใช้ประโยชน์ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
6. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7. ให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพและจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานเพื่อการบริหารและพัฒนาประเทศ

หน่วยงานในสังกัด
  • สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
  • กรมการปกครอง
  • กรมการพัฒนาชุมชน
  • กรมที่ดิน
  • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • กรมโยธาธิการและผังเมือง
  • กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น

สถานที่ติดต่อ
ที่อยู่ถนนอัษฎางค์ แขวงราชบพิธ พระนคร กรุงเทพฯ
โทร. 0-2222-1141 ถึง 55   โทรสาร 0-2226-4371
http://www.moi.go.th/
webmaster@moi.go.th

อำนาจหน้าที่
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 หมวด 13 กระทรวงมหาดไทย มาตรา 30 กำหนดไว้ว่า “กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การอำนวยความเป็นธรรมของสังคม การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง การพัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่ การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายใน กิจการสาธารณภัย และการพัฒนาเมือง และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย”

คำรับรองการปฏิบัติราชการ

หมายเหตุ :

ข้อมูลปี 2557

http://www.opdc.go.th/uploads/files/result_peform/2557/government_57/M57_Ministry.pdf

รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ

รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (รอบ 12 เดือน) ของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงมหาดไทย

ผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ตามประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ดังนี้

1. การสอบทานกรณีปกติ

          1.1 การตรวจราชการ
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ
รายงานการตรวจราชการเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจราชการ พ.ศ. 2548 มีความครอบคลุมสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลประเด็นยุทธศาสตร์และภารกิจของกระทรวง
มหาดไทย  
ผู้บริหารของกระทรวงมหาดไทยควรใช้กลไกของการตรวจราชการผลักดันการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและของกระทรวง โดยเพิ่มบทบาทของผู้ตรวจราชการและจัดให้มีระบบการตรวจราชการ การรายงานผล และการติดตามผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบให้เข้มแข็งขึ้น 
          1.2 การตรวจสอบภายใน
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

1.ดำเนินการตรวจสอบและรายงานผลได้ครบถ้วนตามแผนที่กำหนดไว้ ผลการประเมินตนเองในภาพรวมของกระทรวงอยู่ในระดับดีมาก

2. พบปัญหาอุปสรรคต่อความสำเร็จของหน่วยตรวจสอบภายใน ได้แก่ 

        - มีเจ้าหน้าที่ไม่ครบถ้วนตามกรอบอัตรา กำลัง

        - เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในที่ปฏิบัติงานจนชำนาญการแล้วย้ายหรือโอนไปปฏิบัติงานในสายงานอื่น

        - มีเจ้าหน้าที่ที่ยังไม่มีประสบการณ์มาปฏิบัติหน้าที่

   1.หน่วยงานตรวจสอบภายในในสังกัดกระทรวงมหาดไทยควรพัฒนาตนเอง  สร้างเสริมประสบการณ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยตรวจสอบภายในอื่น ๆ เพื่อให้งานตรวจสอบเข้มแข็งยิ่งขึ้น

   2. หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ควรพิจารณาจัดสรรอัตรากำลังและงบประมาณให้เพียงพอและเหมาะ  เพื่อให้การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร

          1.3 การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ
ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ได้ถือปฏิบัติตามระเบียบ ค.ต.ป. ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 และแนวทางการจัดวางระบบการควบคุมภายในและการประเมินผลการควบคุมภายในที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด

ตามคู่มือการสอบทานของ ค.ต.ป เป็นการสอบทานเรื่อง การควบคุมภายในเป็นหลัก ซึ่งเห็นว่าเรื่องดังกล่าว ส่วนราชการต้องปฏิบัติอยู่แล้วตามระเบียบของ คตง.  แต่การปรับปรุงคู่มือนั้น  การสอบทานในเรื่องการบริหารความเสี่ยงของส่วนราชการจะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการเพิ่มขึ้น

          1.4 การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

1. มิติการประเมินประสิทธิผล มีตัวชี้วัดที่มีผลการดำเนินงานส่วนใหญ่สูงกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนด

2. มิติการประเมินคุณภาพ ตัวชี้วัดความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้กำหนดนโยบาย ไม่สามารถแสดงผลการดำเนินงานได้ เนื่องจากต้องรอผลการประเมินจากผู้ประเมินอิสระภายนอก

3. มิติการประเมินประสิทธิภาพ ตัวชี้วัดร้อยละของอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน/ภาพรวมของกรม ส่วนใหญ่มีผลการดำเนินงานต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด เนื่องจากการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่าย ทำให้การเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามแผน

4. มิติด้านการพัฒนาองค์การ มีความครบถ้วน ครอบคลุมรายงานผลการปฏิบัติราชการ ฐานข้อมูลที่ใช้ประเมินมีความเป็นปัจจุบันสอดคล้องกับสูตรคำนวณและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

1.ในรายงานผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ควรให้ความสำคัญกับคำชี้แจงการปฏิบัติงาน ปัจจัยสนับสนุน อุปสรรคในการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะ

2. ผู้บริหารของกระทรวงฯ ควรให้ความสำคัญและผลักดันให้สร้างจิตสำนึกในการปฏิบัติราชการโดยมุ่งเน้นผลลัพธ์มากกว่าการทำงานให้สำเร็จตามแผน รวมทั้งควรกำหนดเปรียบเทียบ Benchmark ขีดสมรรถนะและผลสัมฤทธิ์ขององค์การกับองค์การอื่น เพื่อสร้างแรงกระตุ้นในการขับเคลื่อนองค์การ

3. ควรให้ความสำคัญในการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน
          1.5 รายงานการเงิน
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

     1.สาเหตุที่แต่ละกรมมีผลการเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามเป้าหมายการเบิกจ่ายที่รัฐบาลกำหนด เนื่องจากแต่ละกรมได้รับแจ้งงบประมาณในการดำเนินงานล่าช้า

     2. การบันทึกข้อมูลในระบบ GFMIS ผิดพลาด ประกอบกับไม่มีการตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว

     3. มีบัญชีพักสินทรัพย์ค้างในระบบ GFMIS เป็นจำนวนมาก สาเหตุมาจากหน่วยเบิกจ่าย ไม่สามารถหาเอกสารหลักฐานประกอบเพื่อการล้างบัญชีพักสินทรัพย์ได้

     4. ความล่าช้าในการจัดทำรายงานการเงิน ส่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและกรมบัญชีกลางเนื่องจาก หน่วยเบิกจ่ายภายใต้สังกัดบางแห่งไม่ได้บันทึกรายการบัญชีให้ครบถ้วนถูกต้อง เป็นปัจจุบัน

     5. บุคลากรด้านการเงินมีจำกัด โยกย้ายบ่อย และเปลี่ยนสายงานไปปฏิบัติงานในตำแหน่งอื่น ทำให้ขาดการสอนงาน และการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง

   1.เห็นควรประสานให้ทุกหน่วยเบิกจ่ายเรียกรายงานทางการเงิน เพื่อตรวจสอบข้อมูลนำเข้าว่าถูกต้องตรงกับเอกสารหลักฐานต่าง ๆ

   2.เห็นควรประสานให้หน่วยเบิกจ่ายที่ไม่สามารถหาเอกสารหลักฐานประกอบการล้างบัญชีพักสินทรัพย์ ให้ใช้ใบสั่งซื้อสั่งจ้าง (PO) มาประกอบในการล้างบัญชีพักสินทรัพย์ได้

   3.เห็นควรแจ้งให้กรมกำชับหน่วยเบิกจ่ายภายใต้สังกัดทุกแห่งจัดทำบัญชี และรายงานการเงินให้ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และส่ง สตง.ภายในกำหนดเวลา

2. การสอบทานกรณีพิเศษ

          1. โครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของกรมการปกครองและในส่วนที่กรมการปกครองทำงานร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ

   ส่วนใหญ่มีการดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด อย่างไรก็ตามพบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ได้แก่

1.  เรื่องความเป็นเอกภาพของการดำเนินงาน งบประมาณ การบูรณาการใช้งบประมาณในการดำเนินงาน 

2.  งบประมาณล่าช้า 

3.  ผู้ผ่านการบำบัดแล้วยังกลับไปเสพเหมือนเดิม เพราะเกิดจากปัญหาสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม

4.  ผู้ปกครองยังไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการนำเยาวชนเข้ารับการบำบัด

5.  ขาดงบประมาณและอุปกรณ์ในการสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานไม่มีทีมงานกฎหมายเฉพาะมาดูแลเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดที่มีคดีความ

1.การบูรณาการดำเนินงานโครงการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดว่าหากโครงการเหล่านี้สามารถร้อยเชื่อมกันเองหรือร้อยเชื่อมกับโครงการที่เกี่ยวข้องที่มีการดำเนินการในจังหวัดได้ จะเกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์กับประชาชนได้มากขึ้น

2. หน่วยงานในพื้นที่เร่งดำเนินการตามโครงการและจัดทำเอกสารเบิกจ่ายงบประมาณมายังสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด โดยเร็ว

3. แผนการทำงานต้องมีการประเมินผลให้ประจักษ์ชัดเจน

4. ให้มีการติดตามประเมินผล ผู้เข้ารับการอบรมบำบัด อย่างสม่ำเสมอ และควรทำความเข้าใจกับผู้ที่จะเข้ามาบำบัด (ผู้เสพ) ให้ชัดเจนในทุกเรื่อง
          2. โครงการบูรณาการแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติและเร่งรัดช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัยของ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ

    ส่วนใหญ่มีการดำเนินกิจกรรมไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด มีความล่าช้าในการดำเนินงาน เนื่องจาก

1. งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรต่ำกว่างบประมาณที่ขออนุมัติมาก ผู้รับจ้างไม่สามารถดำเนินการได้

2. จังหวัดได้มีการขออนุมัติแก้ไขไปยังกระทรวงมหาดไทย ทำให้เกิดความล่าช้า

3. หน่วยงานดำเนินการไม่กล้าตัดสินใจจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ ทำให้เกิดความล่าช้า

4. สภาพปัญหา คือฝนตก วัสดุพื้นที่ก่อสร้างมีความชื้นสูงยังไม่สามารถบดอัดให้ได้ความแน่นตามมาตรฐาน

1. การดำเนินการโครงการในลักษณะนี้ในปีต่อไป ควรให้จังหวัดและหน่วยดำเนินการในจังหวัดประสานการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินโครงการโดยใกล้ชิด 

2. ควรมีการเร่งรัดให้มีการดำเนินงานโครงการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด

3. ผู้ว่าราชการจังหวัด ควรกำกับดูแลให้เป็นไปตามแผนงาน สัญญาที่กำหนด

4. ให้หน่วยงานกลาง ได้แก่ สบจ. เป็นพี่เลี้ยงในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด โดยให้จังหวัดรายงานข้อมูลผ่านระบบ PMOC FLOOD  ให้เป็นปัจจุบัน