ส่วนราชการ / สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ประจำปีงบประมาณ
ข้อมูลทั่วไป
วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านการบริหาร วิชาการ บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่เป็นธรรม ครอบคลุม มีมาตรฐานเพื่อคนไทยสุขภาพดี
พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย
1. ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำข้อมูล เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบาย เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของกระทรวง
2. พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารของกระทรวง
3. แปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการ
4. จัดสรรและบริหารทรัพยากรของกระทรวง เพื่อให้เกิดการประหยัด คุ้มค่า และสมประโยชน์
5. กำกับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผล รวมทั้งประสานการปฏิบัติราชการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง
6. กำกับ ดูแล และประสานการบริหารจัดการและการให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
7. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
8. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้ในการบริหารงานและการบริการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง
9. ดูแลงานประชาสัมพันธ์ ความร่วมมือระหว่างประเทศ และดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายและพัฒนาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย
10. ผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ รวมทั้งศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านระบบบริการสุขภาพ และด้านการพยาบาลแก่องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เป้าประสงค์หลัก
1. ประชาชนในพื้นที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง และมีปัญหาสุขภาพที่เกิดจากภาระโรค ภัยคุกคาม และความรุนแรงลดลง
2. ประชาชนในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีปัญหาความรุนแรงด้านสุขภาพได้รับบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาเฉพาะของพื้นที่
3. ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบุคลากรผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐาน
4. ประชาชน ผู้เสพ และผู้ติดยาเสพติด ได้รับการบำบัดรักษาฟื้นฟูได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ค่านิยมและวัฒนธรรมของส่วนราชการ
ค่านิยม
จิตอาสา ทำงานเป็นทีม โปร่งใส ใฝ่รู้ เป็นแบบอย่างสุขภาพ
วัฒนธรรม
1. จิตอาสา (Public Mind) : พร้อมจะสละเวลา แรงกาย และสติปัญญา เพื่อให้เกิดประโยชน์สู่สังคมสุขภาวะและความมีสุขภาพดีของประชาชน
2. ทำงานเป็นทีม(Team work) : การทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข โดยมีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายเดียวกัน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลอย่างเต็มที่
3. โปร่งใส(Transparency) : กลไกการทำงานขององค์กรที่สุจริต เปิดเผย มีช่องทางและข้อมูลข่าวสารให้สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ ภายใต้กรอบของกฎหมาย
4. ใฝ่รู้(Enthusiasm) : มีพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ค้นคว้า พัฒนาตนและงานที่รับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
5. แบบอย่างสุขภาพดี (Health Idol) : พฤติกรรมที่สร้างแรงบันดาลใจให้เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตนด้านสุขภาพ เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การพักผ่อน การป้องกันโรค การลดหรือเลิกสิ่งที่บั่นทอนสุขภาพร่างกาย อนามัยสิ่งแวดล้อม ฯลฯ