ส่วนราชการ / กระทรวงพาณิชย์

กระทรวงพาณิชย์
Ministry of Commerce
ประจำปีงบประมาณ

ข้อมูลทั่วไป

วิสัยทัศน์
เศรษฐกิจการค้าของประเทศมีความก้าวหน้าอย่างมั่นคง เป็นธรรม ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อความอยู่ดีมีสุขของคนทั้งประเทศ
พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย
พันธกิจ 1 การเสริมสร้างขีดความสามารถให้ผู้ประกอบการและวิสาหกิจ บนฐานขององค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และทุนวัฒนธรรม โดยคำนึงถึงมิติด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสังคม
พันธกิจ 2 การสร้างความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจในภูมิภาคเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนและเป็นฐานไปสู่เวทีโลก
พันธกิจ 3 การยกระดับประเทศเข้าสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่า โดยการใช้นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการสร้างคุณค่าร่วมกับสังคม
พันธกิจ 4 การสร้างสภาพแวดล้อมภายในประเทศที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจได้อย่างเป็นธรรม
พันธกิจ 5 การส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการค้าให้เป็นปัจจัยเกื้อหนุนในการลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ และ สร้างสรรค์มูลค่าให้กับผู้ประกอบการ

เป้าประสงค์หลัก
1.ประชาชนมีความอยู่ดีมีสุข (wellbeing)
2.ผู้ประกอบการมีความสามารถในการแข่งขันสูงและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง
3.เศรษฐกิจการค้ามีความก้าวหน้าบนพื้นฐานของความสมดุลทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม
4.ประเทศยกระดับจากประเทศรายได้ปานกลางเข้าสู่ประเทศที่มีศักยภาพสูง (high performance country)

หน่วยงานในสังกัด
  • สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
  • กรมการค้าต่างประเทศ
  • กรมการค้าภายใน
  • กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
  • กรมทรัพย์สินทางปัญญา
  • กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

สถานที่ติดต่อ
ที่อยู่44/100 หมู่ 1 ถนนนนทบุรี 1 เมือง นนทบุรี 11000 เบอร์โทร0 2-507- 7000, 0 2-507- 8000 Fax 0 2-547- 5210 www.moc.go.th
โทร. 02-507-7000 , 02-507   โทรสาร 02-507-5209-10
http://www.moc.go.th/
webmaster@moc.go.th

อำนาจหน้าที่
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการค้า ธุรกิจบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพาณิชย์

คำรับรองการปฏิบัติราชการ

หมายเหตุ :

ข้อมูลปี 2557

http://www.opdc.go.th/uploads/files/result_peform/2557/government_57/L57_Ministry.pdf

รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ

รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (รอบ 12 เดือน) ของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงพาณิชย์

ผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ตามประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ดังนี้

1. การสอบทานกรณีปกติ

          1.1 การตรวจราชการ
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ได้ตรวจติดตามการดำเนินโครงการครบถ้วนตามแผนการตรวจราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ทั้งนี้  โครงการที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ เป็นกิจกรรมที่มีการจัดจ้างบุคคลภายนอกดำเนินการ 

สำนักตรวจราชการ ควรจัดทำคู่มือ หรือ รายการหัวข้อที่ต้องปฏิบัติในการตรวจราชการ (Checklist)  โดยนำแนวทางการตรวจราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และรวบรวมข้อมูลจากการประชุมของผู้ตรวจราชการมาเป็นกรอบในการจัดทำคู่มือ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นองค์ความรู้และแนวทางปฏิบัติงานของผู้ตรวจราชการที่จะเข้ารับตำแหน่งใหม่ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้สนับสนุนการตรวจราชการต่อไป

          1.2 การตรวจสอบภายใน
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

การปฏิบัติงานของหน่วยตรวจสอบภายในของบางกรมปฎิบัติไม่ครอบคลุมเรื่องการตรวจสอบระบบสารสนเทศ เนื่องจากบุคลากรมีการโยกย้ายและเป็นข้าราชการใหม่ ทำให้มีทักษะในการตรวจสอบด้านนี้ไม่เพียงพอ

 

   1. กระทรวงพาณิชย์ โดยสำนักตรวจสอบภายใน สำนักงานปลัดกระทรวง ควรจัดทำแผนงาน/โครงการอบรมพัฒนาความรู้ให้แก่หน่วยตรวจสอบภายใน และส่วนราชการในสังกัดกระทรวงพาณิชย์

   2. กรม ควรส่งเสริมหน่วยตรวจสอบภายในให้มีอัตรากำลังที่ครบถ้วนและเพียงพอ โดยให้มีความรู้ที่หลากหลาย
          1.3 การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

1. ภาพรวมการควบคุมภายใน (แบบ ปอ.3) ของส่วนราชการ ยังไม่ครอบคลุมภารกิจหลักหรือยุทธศาสตร์ของกรม      

2. บางส่วนราชการกำหนดผู้รับผิดชอบไม่ชัดเจน เช่น ระบุเป็นหน่วยงานหลายหน่วยรับผิดชอบร่วมกัน และระบุหน่วยงานหลัก/หน่วยสนับสนุน ร่วมกัน เป็นต้น

3. บางส่วนราชการกำหนดความเสี่ยงที่มีอยู่เป็นความเสี่ยงเก่าจากงวดก่อน ๆ (ที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้) แต่มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมวิธีการควบคุมเพื่อลดความเสี่ยง

1. ส่วนราชการควรนำกระบวนงานที่เป็นภารกิจหลักหรืองานยุทธศาสตร์ของกรม บรรจุไว้ในแผนการปรับปรุงการควบคุมภายใน (แบบ ปอ.3) ของกรม และระบุผู้รับผิดชอบ (ผู้อำนวยการกอง/สำนัก) ให้ชัดเจน

2. ส่วนราชการควรมีการวิเคราะห์ และประเมินความเสี่ยงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อกำหนดมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสม
          1.4 การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

1. รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการส่วนใหญ่มีความครบถ้วน สมบูรณ์ มีความเป็นปัจจุบัน และสอดคล้องกับสูตรคำนวณ โดยมีบางตัวชี้วัดของบางส่วนราชการที่มีผลการคำนวณ/การดำเนินงาน  แต่ไม่ได้แสดงวิธีการหาค่าคำนวณ 

2. บางตัวชี้วัดต้องรอผลการประเมินจากหน่วยงานภายนอก เช่น ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าว ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ

3. ผลการดำเนินการตัวชี้วัดสำคัญต่ำกว่าค่าเป้าหมาย เช่น ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกของไทย ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกข้าว อันดับของประเทศไทยตามรายงานผลการวิจัย เรื่อง Doing Business ของธนาคารโลก ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ  และร้อยละการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายภาพรวม  เป็นต้น

1. ส่วนราชการควรจัดทำรายงานผลการปฏิบัติราชการฯ ให้ครบถ้วน  สมบูรณ์  ใช้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน  และแสดงวิธีการคำนวณตามสูตร รวมทั้งปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป

2. ผู้รับผิดชอบตัวชี้วัด ควรมีการรายงานผลความก้าวหน้าการดำเนินงาน  และปัญหาอุปสรรคเป็นระยะๆ เพื่อให้ผู้บริหารรับทราบและแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที

 

          1.5 รายงานการเงิน
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

   1. รายงานการเงินของบางกรม มีบางรายการแสดงผลสะสมยกมาจากงวดก่อนคลาดเคลื่อน

   2. รายการบัญชีส่วนใหญ่ในรายงานผลการดำเนินงานทางด้านการเงินของกระทรวงจากระบบ GFMIS แสดงตัวเลขแตกต่างจากรายงานผลการดำเนินงานทางด้านการเงินระดับกรมรวมกัน เนื่องจากส่วนราชการเรียกข้อมูลจากระบบ GFMIS เพื่อจัดทำงบการเงินระดับกระทรวง และระดับกรม อยู่ในช่วงเวลาแตกต่างกัน

   3. การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในภาพรวม เบิกจ่ายได้ร้อยละ 82.98  ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายตามมติคณะรัฐมนตรีกำหนดไว้ที่ร้อยละ 93.00

 

   1. กรมควรเพิ่มอัตรากำลัง เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องใบสำคัญที่รอการตรวจสอบของหน่วยงานในต่างประเทศ เพื่อสามารถตรวจสอบใบสำคัญให้ถูกต้องตามระเบียบราชการ และเป็นปัจจุบัน

   2. กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ควรกำหนดนโยบายการบัญชีหรือ วิธีการปรับปรุงบัญชีในระบบ GFMIS เพื่อให้ได้บทสรุปเกี่ยวกับรายการคลาดเคลื่อนของสินทรัพย์ ซึ่งเป็นผลสะสมยกมาจากงวดก่อนๆ

   3. กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ควรแจ้งให้กรม(ฐานะผู้จัดทำงบการเงินระดับกรม) และสำนักงานปลัดกระทรวง (ฐานะผู้จัดทำงบการเงินระดับกระทรวง) ได้ทราบช่วงเวลาในการเรียกข้อมูลทางบัญชีในระบบ GFMIS ให้อยู่บนฐานข้อมูลเดียวกัน

2. การสอบทานกรณีพิเศษ

          1. โครงการพัฒนาโลจิสติกส์การค้าของกระทรวงพาณิชย์
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ

         จากการสอบทานการดำเนินโครงการพัฒนาโลจิสติกส์การค้าของกระทรวงพาณิชย์ จำนวน 12 โครงการ พบว่า โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จตามแผน  จำนวน 9 โครงการ 

1.กรมต่างๆ ควรมีการบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน

2. ควรส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์สินค้าเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำ เพื่อช่วยลดการสูญเสีย ประหยัดค่าขนส่ง และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า

3.ในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจ ควรประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกลุ่มอาเซียน หรือศึกษาข้อมูลของประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน  เพื่อกำหนดให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

4. การจัดทำแผนงาน/โครงการ  ควรพิจารณา กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้รอบคอบ วางแผนการดำเนินงานให้ชัดเจน  ดำเนินการตามแผนภายในวงเงินงบประมาณที่ได้รับอย่างมีประสิทธิภาพ  และติดตามประเมินผลเพื่อการปรับปรุงการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

5. การนำผู้ประกอบการไปเจรจาการค้า และการจัดงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ หน่วยงานรับผิดชอบควรมีการจัดเตรียมข้อมูลลูกค้า/ตลาดเป้าหมาย และมีการประชุมเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการ  
          2. โครงการส่งเสริมตลาดสินค้าอินทรีย์
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ จากการสอบทาน พบว่า สามารถดำเนินโครงการได้ตามแผน 

1.หน่วยงานรับผิดชอบ ควรมีการจัดทำฐานข้อมูลของผู้เข้าร่วมโครงการ  เช่น ข้อมูลรายได้ของผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อใช้ประกอบการประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินโครงการให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม

2.  การกำหนดระยะเวลาการจัดกิจกรรม ควรกำหนดให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย

3.การจัดคณะไปเจรจาขยายตลาดฯ ควรพิจารณาประเทศที่มีศักยภาพ ประชาชนให้ความสำคัญด้านสุขภาพและมีรายได้สูง
          3. โครงการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ 

จากการสอบทาน พบว่าทุกโครงการดำเนินการแล้วเสร็จตามแผน

1.  การจัดอบรม/สัมมนา เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป ควรขยายกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น  โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัดที่อยู่ตามแนวชายแดน

2.  การออกประกาศ กฎ ระเบียบต่างๆ  ควรคำนึงถึงมาตรฐานด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคมีความเป็นมาตรฐานสากล หรือมาตรฐานของอาเซียน ไม่เป็นข้อกีดกันทางการค้า และไม่เพิ่มภาระให้ผู้ประกอบการมากเกินความจำเป็น

3.  กระทรวงพาณิชย์ ควรมีบทบาทในการประสานเชื่อมโยงระหว่างหอการค้าประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน

4. การจัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้าในต่างประเทศ  ควรมีการรวบรวม ประเมิน และวิเคราะห์ผลการจัดงานฯ แต่ละครั้ง/ประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดงานฯ ครั้งต่อไป
          4. โครงการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ

ดำเนินการเสร็จสิ้นและได้เบิกจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว เป็นเงิน 99.30 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ99.30 ของงบประมาณที่ได้รับ  
ไม่มี