ส่วนราชการ / สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
ประจำปีงบประมาณ
ข้อมูลทั่วไป
วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรที่ได้รับการยอบรับเชื่อมั่นและศรัทธาในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย
1. ตรวจสอบและไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
2. สร้างค่านิยมต่อต้านการทุจริตและปฏิบัติการเชิงรุกด้านการป้องกัน
3. สร้างและส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
4. พัฒนากลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
5. พัฒนาระบบบริหาร บุคลากรและองค์ความรู้ด้านต่างๆรวมถึงมาตรฐานการปฏิบัติงานมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรม
เป้าประสงค์หลัก
1) ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ ให้ความรู้ ปลูกจิตสำนึก ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และสร้างวินัยแก่
ทุกภาคส่วน
2) สร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังให้มีความเข้มแข็ง
3) สร้างมาตรการคุ้มครองผู้ให้ความร่วมมือกับภาครัฐให้มีความปลอดภัย
4) พัฒนาและบังคับใช้กฎหมายการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้มีประสิทธิภาพ
5) พัฒนากลไกในการทำงาน และสร้างระบบการข่าวให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล
6) พัฒนาระบบและกระบวนการในการทำงาน
7) พัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศให้สมารถใช้ในการบริหารและตัดสินใจ
8) การสร้างขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากร
9) การสร้างบุคลากรที่เป็นมืออาชีพ
10) การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นหนึ่งเดียว
ค่านิยมและวัฒนธรรมของส่วนราชการ
1. เชิดชูคุณธรรม
2. ต่อต้านการทุจริต
3. เป็นมิตรกับคนดี
4. สุจริต โปร่งใส
5. ทำงานเป็นทีม
สถานที่ติดต่อ
ที่อยู่ 99 หมู่ 4 อาคารซอฟต์แวร์พาร์ค ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
โทร. 02-502-6786 และ 02-502-6804 กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ โทร. 02-502-6671 02-502-6008 โทรสาร -
http://www.pacc.go.th
อำนาจหน้าที่
ด้านการป้องกันการทุจริตในภาครัฐ คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีอำนาจหน้าที่
1) เสนอนโยบาย มาตรการ และแผนพัฒนาการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐต่อคณะรัฐมนตรี
2) เสนอแนะให้คำปรึกษาต่อคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมายข้อบังคับ และมาตรการ ต่าง ๆ เพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
3) เสนอแนะต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการกำหนดตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งต้องยื่นแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ด้านการปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีอำนาจหน้าที่
1) ไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลเกี่ยวกับการกระทำการทุจริตในภาครัฐของของรัฐ
2) ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งความเห็นส่งพนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดีอาญาต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ
3) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย
4) ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๕๕ ได้มีกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติโดยมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีที่ดูแลนโยบายการบริหารจัดการที่ดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงทุกกระทรวงเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นกรรมการ และเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เป็นกรรมการและเลขานุการ