ส่วนราชการ / กรมสอบสวนคดีพิเศษ

กรมสอบสวนคดีพิเศษ
ประจำปีงบประมาณ

ข้อมูลทั่วไป

วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรชั้นนำด้านการสืบสวนสอบสวนที่มีมาตรฐานในระดับสากล และได้รับความเชื่อมั่นในการบังคับใช้กฎหมายด้วยความเป็นธรรม

เป้าประสงค์หลัก
เป้าประสงค์ที่ 1 การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างครอบคลุม ทั่วถึง และเป็นธรรม
เป้าประสงค์ที่ 2 ภัยคุกคามของประเทศในด้านคดีพิเศษลดลงอย่างเห็นได้ชัด
เป้าประสงค์ที่ 3 รัฐจะสามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นนิติรัฐ และเป็นไป
ตามหลักธรรมาภิบาล
เป้าประสงค์ที่ 4 ประชาชนจะได้รับการตัดสินและคุ้มครองอย่างเหมาะสมตามข้อกฎหมาย และเป็นธรรม
เป้าประสงค์ที่ 5 ฝ่ายตุลาการจะได้รับข้อมูลที่เหมาะสม และเป็นที่ประจักษ์
เป้าประสงค์ที่ 6 สามารถทำการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์ที่ 7 สามารถให้ข้อมูลที่สะท้อนถึงข้อเท็จจริง
เป้าประสงค์ที่ 8 เครือข่ายทั้งในและนอกประเทศจะได้รับการประสานงานอย่างครบถ้วน ทั่วถึง
และเอื้อต่อการปฏิบัติงาน
เป้าประสงค์ที่ 9 สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรวบรวมข้อมูล
ที่เอื้อต่อการสืบสวนสอบสวน
เป้าประสงค์ที่ 10 สามารถประสานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และเพิ่มศักยภาพ
ในการบังคับใช้กฎหมาย
เป้าประสงค์ที่ 11 สาธารณชนเชื่อมั่นในกรมสอบสวนคดีพิเศษ
เป้าประสงค์ที่ 12 สื่อมวลชนมีความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ และผลงานของกรมสอบสวนคดีพิเศษ
เป้าประสงค์ที่ 13 มีบุคลากรที่มีคุณภาพด้านการสืบสวนสอบสวน มีความรอบรู้เชี่ยวชาญในหลากหลายมิติ
เป้าประสงค์ที่ 14 มีกฎหมายที่เอื้อต่อการสืบสวนสอบสวนอย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์ที่ 15 มีเครื่องมือ ฐานข้อมูล และเทคโนโลยีที่ทันสมัย
เป้าประสงค์ที่ 16 มีระบบการพัฒนาองค์ความรู้ที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

เป้าประสงค์ที่ 17 มีระบบการบริหารจัดการที่เอื้อต่อการบริหารทรัพยากรบุคคล อันจะทำให้เกิด
การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ค่านิยมและวัฒนธรรมของส่วนราชการ
เกียรติศักดิ์ เชี่ยวชาญ ซึ่อสัตย์ (DSI)
D : Dignity
S: Specialist
I : Integrity

สถานที่ติดต่อ
ที่อยู่ 128 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง หลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทร. 0 2-975- 9800, 0 2-831- 9888 ext. 1106   โทรสาร Fax 0 2-975- 9801
http://www.dsi.go.th
webmaster@dsi.go.th

อำนาจหน้าที่
1. รับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2. ป้องกัน ปราบปราม สืบสวน และสอบสวนคดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการคดีพิเศษประกาศกำหนดหรือตามมติของคณะกรรมการคดีพิเศษ ตลอดจนปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาที่เป็นคดีพิเศษ
3. ศึกษา รวบรวม จัดระบบ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ และเพื่อป้องกัน ปราบปราม สืบสวน และสอบสวนคดีพิเศษ
4. จัดให้มีการศึกษา อบรม และพัฒนาระบบงานการสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษ การพัฒนาความรู้และการประเมินสมรรถภาพการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของกรม และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ หรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษหรือไม่
5. ดำเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมายและระเบียบที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมและงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
6. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

คำรับรองการปฏิบัติราชการ

หมายเหตุ :

ข้อมูลปี 2557

http://www.opdc.go.th/uploads/files/result_peform/2557/government_57/N57_07.pdf