ส่วนราชการ / กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
ประจำปีงบประมาณ
ข้อมูลทั่วไป
วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรฐานความรู้ (Knowledge Based) และศูนย์กลางในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย
หน้าที่ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2551
1. ส่งเสริม สนับสนุนและกำกับการอนุรักษ์พลังงาน
2. วิจัย ค้นคว้าและพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
3. กำหนดระเบียบมาตรฐาน และเผยแพร่ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต การแปรรูป การส่งการใช้ และการอนุรักษ์พลังงาน
4. ติดตามประเมินผลการพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
5. ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวง หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
- หน้าที่ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550) กำหนดให้กรมมีหน้าที่ในการกำกับ ดูแล อำนวยความสะดวกให้โรงงาน/อาคารขนาดใหญ่ที่กำหนดให้เป็นโรงงานควบคุม/อาคารควบคุม ตามพระราชกฤษฎีกา สามารถปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการส่งเสริม การอนุรักษ์พลังงาน พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และประกาศกระทรวงได้อย่างครบถ้วนและมีประสทธิภาพ
- หน้าที่ตามพระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน พ.ศ. 2535
1. สำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ทดลอง และตรวจสอบเกี่ยวกับพลังงานในด้านแหล่งพลังงาน การผลิต การแปรรูป การส่ง และการใช้
2. ศึกษา วางแผน และวางโครงการเกี่ยวกับพลังงานและกิจการที่เกี่ยวข้อง
3. ค้นคว้าและพัฒนา สาธิต และก่อให้เกิดโครงการริเริ่มเกี่ยวกับการผลิต การแปรรูป การส่ง การใช้ และการอนุรักษ์แหล่งพลังงาน
4. ออกแบบ สร้าง และบำรุงรักษาแหล่งผลิต แหล่งแปรรูป ระบบส่ง และระบบใช้พลังงาน
5. กำหนดระเบียบและมาตรฐานเกี่ยวกับการผลิต การแปรรูป การส่ง การใช้ และการอนุรักษ์แหล่งพลังงาน ตลอดจนควบคุมและกำกับดูแลให้เป็นไปตามระเบียบและมาตรฐานนั้น
6. กำหนดอัตราค่าตอบแทนสำหรับการใช้พลังงานที่ดำเนินการโดยกรม
7. จัดให้มี ควบคุม สร้าง ซื้อ ขาย เช่า ให้เช่า โอน หรือรับโอนแหล่งผลิต แหล่งแปรรูป ระบบส่ง และระบบจำหน่ายพลังงาน และออกใบอนุญาตผลิตหรือขยายการผลิตพลังงาน
8. ถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่งเสริม ฝึกอบรม เผยแพร่เกี่ยวกับการผลิต การแปรรูป การส่ง การใช้และการอนุรักษ์แหล่งพลังงาน ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการประสานความร่วมมือในกิจการที่เกี่ยวข้อง
- หน้าที่ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550
1. แจ้งความเห็นต่อคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานตามที่ขอมากรณีที่การปลูกสร้างอาคาร หรือการตั้งโรงงานเพื่อประกอบกิจการพลังงานต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (มาตรา48)
2. จัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบกิจการพลังงานให้แก่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (มาตรา 155)
เป้าประสงค์หลัก
1. เพื่อให้มีการลดการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อให้มีการใช้พลังงานทดแทน
ค่านิยมและวัฒนธรรมของส่วนราชการ
เจ้าหน้าที่ พพ. ต้องถือปฏิบัติค่านิยมสร้างสรรค์สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ 5 ประการ ได้แก่
1. กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
2. ซื่อสัตย์และมีความรับผิดชอบ
3. โปร่งใส ตรวจสอบได้
4. ไม่เลือกปฏิบัติ
5. มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
นอกจากนี้ ต้องถือปฏิบัติค่านิยมของกระทรวงพลังงาน คือ Double C-T ได้แก่ C-Citizen Center มุ่งประชาชนเป็นศูนย์กลาง T-Teamwork and Result Oriented ทำงานเป็นทีมโดยมุ่งผลสำเร็จของงาน C-Can do Attitude มีทัศนคติว่าสามารถปฏิบัติพันธกิจได้ และ T-Think out of the box กล้าคิดนอกกรอบ และค่านิยมของ พพ. คือ DEDE ได้แก่ Dynamic บุคลากรมีศักยภาพทำงานรวดเร็ว Energize บุคลากรมีความมุ่งมั่น ร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติงาน Decisiveness เชื่อมั่นกล้าตัดสินใจบนพื้นฐานองค์ความรู้ Effectiveness การทำงานโดยมุ่งให้เกิดประสิทธิผล
อำนาจหน้าที่
1. สำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ทดลอง และตรวจสอบเกี่ยวกับพลังงานในด้านแหล่งพลังงาน การผลิต การแปรรูป การส่ง และการใช้
2. ศึกษา วางแผน และวางโครงการเกี่ยวกับพลังงานและกิจการที่เกี่ยวข้อง
3. ค้นคว้าและพัฒนา สาธิต และก่อให้เกิดโครงการริเริ่มเกี่ยวกับการผลิต การแปรรูป การส่ง การใช้ และการอนุรักษ์แหล่งพลังงาน
4. ออกแบบ สร้าง และบำรุงรักษาแหล่งผลิต แหล่งแปรรูป ระบบส่ง และระบบใช้พลังงาน
5
. กำหนดระเบียบและมาตรฐานเกี่ยวกับการผลิต การแปรรูป การส่ง การใช้ และการอนุรักษ์แหล่งพลังงาน ตลอดจนควบคุมและกำกับดูแลให้เป็นไปตามระเบียบและมาตรฐานนั้น
6. กำหนดอัตราค่าตอบแทนสำหรับการใช้พลังงานที่ดำเนินการโดยกรม 7. จัดให้มี ควบคุม สร้าง ซื้อ ขาย เช่า ให้เช่า โอน หรือรับโอนแหล่งผลิต แหล่งแปรรูป ระบบส่ง และระบบจำหน่ายพลังงาน และออกใบอนุญาตผลิตหรือขยายการผลิตพลังงาน
7. ถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่งเสริม ฝึกอบรม เผยแพร่เกี่ยวกับการผลิต การแปรรูป การส่ง การใช้และการอนุรักษ์แหล่งพลังงาน ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการประสานความร่วมมือในกิจการที่เกี่ยวข้อง
หน้าที่ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550
1. แจ้งความเห็นต่อคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานตามที่ขอมากรณีที่การปลูกสร้างอาคาร หรือการตั้งโรงงานเพื่อประกอบกิจการพลังงานต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (มาตรา48)
2. จัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบกิจการพลังงานให้แก่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (มาตรา 155)