สรุปกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
ปี 2550
องสถาบันอุดมศึกษา

            เมื่อวันที่  1  สิงหาคมที่ผ่านมาได้นำเสนอ      กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ  ของส่วนราชการ    ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2550 ที่ได้มีการประชุมชี้แจงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2549 กันไปแล้ว ซึ่งในวันเดียวกันนั้น  นอกจากจะมี
การชี้แจงกรอบการประเมินฯ ของส่วนราชการแล้ว ก็ยังมีการประชุมชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของสถาบัน
อุดมศึกษา  ประึจำปีงบประมาณ  พ.ศ.  2550  ด้วย  ซึ่งการประชุมดังกล่าว  จัดขึ้น  ณ  ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมรามา-
การ์เด้นท์

           การประชุมชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษาประจำ
ปีงบประมาณ  2550  ที่สำนักงาน ก.พ.ร.  โดยภารกิจการติดตามและประเมินผลการพัฒนา
ระบบราชการ  จัดขึ้นเมื่อวันที่  27  กรกฎาคม  2549  ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมรามา-
การ์เด้น   นั้น  เริ่มขึ้นในช่วงเช้า     โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมค่อนข้างเนืองแน่นกว่า  500  คน ซึ่งการประชุมเริ่มด้วยการกล่าวเปิดงานของ รองเลขาธิการ ก.พ.ร. พรพิมล รัตนพิทักษ์ จากนั้น  ผอ.ดารัตน์ บริพันธกุล ผู้อำนวยการภารกิจการติดตามและประเมินผลการพัฒนา
ระบบราชการ ขึ้นชี้แจงแนวทางการจัดทำคำรับรองและการประเมินผลฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550

           ตามด้วย  ดร.อรพินท์  สพโชคชัย  กรรมการ ก.พ.ร.  ขึ้นชี้แจงความเป็นมา   และบรรยายถึงกระบวนทัศน์ ในการ
ประเมินผลระบบการปฏิบัติราชการ   ประจำปีงบประมาณ 2550  และ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมหวัง  พิธิยานุวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา  (องค์การมหาชน)  หรือ  สมศ.    ขึ้นชี้แจงกรอบการ
ประเมินผลฯ เป็นท่านสุดท้ายของช่วงเช้า ส่วนช่วงบ่ายเป็นการตอบข้อซักถามระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมกับวิทยากร


กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ


            ผอ.ดารัตน์  บริพันธุกล  ชี้แจงถึงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการที่ยังคงยึดในมิติทั้ง  4  มิติ น้ำหนักรวมเป็น
ร้อยละ 100 แยกเป็น

มิติที่ 1
มิติด้านประสิทธิผล
มิติที่ 2
มิติด้านคุณภาพ
มิติที่ 3
มิติด้านประสิทธิภาพ
ของการปฏิบัติราชการ
มิติที่ 4
มิติด้านการบริหารจัดการ
และการพัฒนาองค์กร
ร้อยละ 55
ร้อยละ 15
ร้อยละ 10

ร้อยละ 20

       ประเมินผลสำเร็จตาม
แผนปฏิบัติราชการ และผล
สำเร็จตามพันธกิจหลัก

       ประเมินคุณภาพ
การให้บริการ, การประกัน
คุณภาพ และการปฏิบัติตาม
จรรยาบรรณวิชาชีพคณาจารย์

       ประเมินประสิทธิภาพของ
การบริหารงบประมาณ,ประสิทธิ
ภาพของการใช้พลังงาน,
การลดระยะเวลาการให้บริการ
และการจัดทำต้นทุนต่อหน่วย

       ประเมินความสำเร็จของ
การบริหารจัดการ, การจัดการ
ความรู้,   การพัฒนาบุคลากร, การจัดการสารสนเทศ
และการเรียนรู้

            ทั้งนี้  มีการกำหนดระยะเวลาและรายละเอียดตามขั้นตอนการเจรจาข้อตกลงและจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ
ดังนี้

          1. ภายในวันที่  25  สิงหาคม  2549   สถาบันอุดมศึกษาทบทวนความเหมาะสมของแผนปฏิบัติราชการ/แผนยุทธ-
ศาสตร์  เพื่อให้มีตัวชี้วัดความสำเร็จของการบรรลุเป้าประสงค์ตามยุทธศาสตร์ที่ครบถ้วน      สมบูรณ์สอดคล้องในรูป ของ
มาตรฐานของสถาบันอุดมศึกษา   และอัตลักษณ์ของสถาบัน  (Standard-based higher education)  และเตรียมข้อมูลไว้
สำหรับประกอบการเจรจา

            2. เพื่อให้การประสานงานรวดเร็วและทันตามกำหนด ให้สถาบันอุดมศึกษาส่งe-file
ไปยัง สมศ.  ภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2549 ที่ centeron4@yahoo.com  เพื่อ สมศ. จะได้
วิเคราะห์ความเหมาะสมของตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และเกณฑ์การให้คะแนนที่สถาบันฯ เสนอ และจัดทำเป็นเอกสารประกอบการเจรจา

          3. วันที่ 7 - 8 กันยายน 2549 เป็นการเจรจาความเหมาะสมของตัวชี้วัด
ค่าเป้าหมาย และเกณฑ์การให้คะแนน

            ในข่วงต่อมาของการประชุมชี้แจงฯ    เป็นการนำเสนอตารางเวลากำหนดการเจรจาความเหมาะสมของตัวชี้วัด
เป้าหมาย และเกณฑ์การให้คะแนนฯ ประจำปี 2549 ของสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ


ความเป็นมาและกระบวนทัศน์ในการประเมินผลระบบการปฏิบัติราชการ
ประจำปีงบประมาณ 2550


            
ดร.อรพินท์  สพโชคชัย กล่าวถึงความเป็นมา และบรรยายถึงกระบวนทัศน์ในการประเมินผลระบบการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ  2550  ว่า ที่นำสถาบันอุดมศึกษามาวัดผลร่วมด้วย    มาจากแนวคิดที่เรียกว่า  program  evaluation ซึ่งเป็นมิติใหม่   เพราะในหลายประเทศเริ่มมองว่า หากให้ความสำคัญกับ input หรือ process  แบบเดิม ๆ  อาจไม่เพียงพอ แต่ควรมองที่ผลที่จะได้รับออกมาด้วย ว่าเป็นอย่างไรบ้าง

             การประเมินผลนั้น   มีหลายแบบ จะทำแบบ  3 ปีก็ได้    แต่ที่เราวัดผลกันอยู่ทุกวันนี้ เป็นการประเมินผลแบบรายปี  โดยทำการตกลงกันก่อนตั้งแต่ต้นปี  ว่าจะทำอะไรกันบ้าง ซึ่งปี 2549 เป็นปีที่ 3 ของการปฏิบัติงานและประเมินผลแล้ว จึงต้องพิจารณาว่าสถาบันอุดมศึกษา
มีเป้าหมายอะไร  ทำได้ตามตัวชี้วัดในมิติต่าง ๆ  หรือไม่ แนวทางในการทำงานของสถาบันฯ เป็นอย่างไร ซึ่งการที่จะตอบคำถามเหล่านี้ได้   ต้องมองพื้นฐานของแต่ละสถาบันก่อน  ทั้งนี้ ไม่ได้เป็นการให้แต่ละสถาบันมาแข่งขันกัน แต่เป็นการแข่งขันกับตัวเอง

            อย่างไรก็ตาม  ดร.อรพินท์ อ้างอิงถึงการประเมินผลสถาบันอุดมศึกษาว่า  ครั้งนี้ได้มีการปรับตัวชี้วัดบางตัวที่ สมศ. ทำหน้าที่ประเมินอยู่แล้ว 5 ปี/ครั้ง มารวมอยู่ด้วย สถาบันอุดมศึกษาจึงเหมือนได้เตรียมพร้อมตรวจตัวชี้วัดที่มีอยู่ในแต่ละปี ก่อนที่จะพบกับการตรวจ 5 ปี ทำให้สามารถแก้ไขจุดบกพร่องได้

          ทั้งนี้ การใช้ระบบประเมินผลจะทำให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาสู่อนาคต   เป็นสถาบันที่มีศักยภาพ  คำนึงถึงอนาคต
ของนักศึกษาหลังจบการศึกษาแล้ว   ไม่ใช่เพียงแค่ได้งานทำ  แต่รวมไปถึง  นักศึกษาคนนั้น ๆ    เป็นคนที่ดีของหน่วยงาน คนดีของสังคม  เป็นคนคุณภาพ และถ้าสถาบันอุดมศึกษาจะทำให้ได้ คือ ต้องจัดกิจกรรมช่วยให้เด็กรู้จักว่าจบแล้วจะไปหา
งานทำที่ไหน   มีการสอนให้เขียน  Curriculum  Vitae       ในรูปแบบของ  CD  ซึ่งทำให้นักศึกษาจบมาแล้วไม่เคว้งขว้าง เช่นนี้เป็นต้น


กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2550


            ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์  ปิดท้ายการประชุมช่วงเช้าด้วยการ
ชี้แจงประเด็นสำคัญ ๆ   ในกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ   ของสถาบันอุดมศึกษา
ประจำปีงบประมาณ 2550  ซึ่งมีประเด็นสำคัญ ๆ  ที่เพิ่มเติมเข้าไปใน มิติที่ 1  และ มิติที่ 3 ดังนี้

          มิติที่ 1 มิติด้านประสิทธิผล:   นอกจากการวัดระดับความสำเร็จขอร้อยละเฉลี่ยถ่วง
น้ำหนัก ในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง สำนักงานคณะกรรมการ
การอุดมศึกษา   และแผนยุทธศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาแล้ว   ยังเน้นระดับความสำเร็จ
ของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก  ในการบรรลุมาตรฐานคุณภาพ สมศ.  ของสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่

                มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต   อาทิ จำนวนนักศึกษาหรือศิษย์เก่าที่ได้รับการประกาศเกียรติคุณยกย่องในด้าน
วิชาการ   วิชาชีพ   คุณธรรม   จริยธรรม   หรือรางวัลทางวิชาการ   หรือด้านอื่น ๆ   ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพบัณฑิตในระดับ
ชาติหรือนานาชาติ เป็นต้น

             มาตรฐานด้านการวิจัยและงานสร้างสรรค์   เช่น  ร้อยละของบทความวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง    (citation)    ใน refereed  journal      หรือในฐานข้อมูลระดับชาติหรือนานาชาติหรือผลงานสร้างสรรค์ที่สามารถนำไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์
เป็นทรัพย์สินทางปัญญาได้ เป็นต้น

             มาตรฐานด้านการบริการวิชาการ   อาทิ ร้อยละของอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นกรรมการวิทยานิพนธ์ภายนอกสถาบัน เป็นกรรมการวิชาการและกรรมการวิชาชีพในระดับชาติหรือ ระดับนานาชาติต่ออาจารย์ประจำ

              มาตรฐานด้านนี้ ศ.กิตติคุณ ดร.สมหวัง ยกตัวอย่างกรณี
ประเทศมาเลเซียที่ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ปรากฏว่า เหตุที่ทำให้มหาวิทยาลัยของมาเลเซียติดอันดับมหาวิทยาลัยโลก เพราะมาเลเซียเชิญบรรดานักวิชาการ             ผู้ทรงคุณวุฒิของ
มหาวิทยาลัยชื่อดังจากประเทศต่างๆ มาเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ จึงเป็นการ recall brand   ในตัวเมื่อนักวิชาการเหล่านั้นตอบแบบ
สอบถามถึงมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ

            สถาบันการศึกษาในประเทศไทย   สามารถปรับคุณภาพ กับมาตรฐานสถาบันการศึกษา    เพื่อให้ได้รับการยอมรับในระดับ
นานาชาติ     หรือได้รับการจัดอันดับเป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ

ของโลกที่เป็นที่ยอมรับ  เช่น  The  Higher  Education  Supplement  ของประเทศอังกฤษ  Maclean’s  Magazine  ของ Canada  Good  University  Guide  ของ  Australia U.S. News & World Report ของ U.S.A.  หรือ  Asia Week  ของ Hong Kong เป็นต้น

              มาตรฐานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เน้นการอนุรักษ์ พัฒนาและเสริมสร้างเอกลักษณ์ศิลปะ
และวัฒนธรรม

          อีกสิ่งหนึ่งที่เพิ่มมาอย่างมีนัยสำคัญสำหรับมิติที่ 1 นี้คือ ตัวชี้วัดความสำเร็จในการพัฒนาสถาบันสู่ระดับสากล

          มิติที่ 3 มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ : เน้นเรื่องประสิทธิภาพการใช้พลังงานมากเป็นพิเศษ

          สิ่งที่ ศ.กิตติคุณ ดร.สมหวัง     ฝากไว้สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องคือ การมีแผนปฏิบัติราชการที่ชัดเจน  มีแผนยุทธศาสตร์ และปฏิบัติตามนั้น เพราะที่พบจากการตรวจประเมินโดยมากเป็นแผนงบประมาณ

          ทั้งนี้  การประเมินผลการปฏิบัติราชการของสถาบันการศึกษา    ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ.  2550   จะแบ่งสถาบัน
การศึกษาออกเป็น 4 กลุ่ม
ตามพันธกิจของสถาบัน ได้แก่

          กลุ่มที่ 1 กลุ่มสถาบันเน้นการผลิตบัณฑิตและวิจัย เป็นกลุ่มสถาบันที่ปฏิบัติพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา โดยเน้น
ด้านการผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษา   และวิจัยสร้างความรู้ใหม่เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการในทุกภารกิจ และเผยแพร่
ความรู้ไปสู่ผู้ใช้ทั้งระดับชาติและนานาชาติ โดยมุ่งสู่ความทันสมัย และสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล

          กลุ่มที่ 2 กลุ่มสถาบันเน้นการผลิตบัณฑิตและพัฒนาสังคม เป็นกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาที่ได้ปฏิบัติพันธกิจ     ของ
สถาบันอุดมศึกษาโดยการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีเป็นส่วนใหญ่        ผลิตบัณฑิตระดับสูงในบางสาขาวิชา  และเน้น
การพัฒนาสังคม โดยการประยุกต์ความรู้เพื่อบริการวิชาการ/วิชาชีพแก่สังคม

          กลุ่มที่ 3 กลุ่มสถาบันที่เน้นการผลิตบัณฑิตและพัฒนาศิลปะและวัฒนธรรม เป็นกลุ่มสถาบันที่ได้ปฏิบัติพันธกิจ
ของสถาบันอุดมศึกษา   โดยมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีเป็นส่วนใหญ่  ผลิตบัณฑิตระดับสูงในบางสาขาวิชา โดย
การประยุกต์ความรู้  เพื่อสร้างและพัฒนามาตรฐานศิลปะและวัฒนธรรม   รวมทั้งเผยแพร่องค์ความรู้ภูมิปัญญาไทยสู่สากล

          กลุ่มที่ 4 กลุ่มสถาบันเน้นการผลิตบัณฑิต เป็นกลุ่มสถาบันที่เน้นการสอนในระดับปริญญาตรี ประยุกต์ความรู้เพื่อใช้
ในการผลิตบัณฑิต เป็นกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาที่เน้นการผลิตและพัฒนาคนในด้านวิชาการ และวิชาชีพต่าง ๆ

          สำหรับ กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของสถาบันการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 นั้น จะมีน้ำหนักของตัวชี้วัดที่แตกต่างกันไปตามกลุ่มสถาบันการศึกษา ดังนี้

ประเด็นการประเมินผล
การปฏิบัติราชการ
ตัวชี้วัด
น้ำหนัก (ร้อยละ)
กลุ่มที่
1
กลุ่มที่
2, 3, 4

มิติที่ 1 มิติด้านประสิทธิผล

55
55

- ผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติ
  ราชการ

1. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุ
    เป้าหมาย ตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง

2. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุ
    เป้าหมาย ตามแผนปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะ
    กรรมการการอุดมศึกษา

3. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุ
    เป้าหมาย ตามแผนปฏิบัติราชการ / แผนยุทธศาสตร์ของ
    สถาบันอุดมศึกษา
    * ให้มีการเจรจาเฉพาะน้ำหนัก เป้าหมาย และเกณฑ์การให้
       คะแนน ในตัวชี้วัดที่สำคัญ โดยต้องไม่ซ้ำกับตัวชี้วัดอื่น ๆ
       ในคำรับรองการปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา
       ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550

     3.1 ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักใน
          การบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี
          งบประมาณ พ.ศ. 2550 ของสถาบันอุดมศึกษา
          ในส่วนของงบประมาณแผ่นดิน

     3.2 ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก
          ในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี
          งบประมาณ พ.ศ. 2550 ของสถาบันอุดมศึกษา
          ในส่วนของงบประมาณรายได้

5
 

5
 


15 
 
 
 


 

10
 

 

5

7.5
 

7.5
 


15 
 
 

 

 

10
 
 


5

- ผลสำเร็จตามพันธกิจหลัก

 

4. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุ
    มาตรฐานคุณภาพ สมศ. ของสถาบันอุดมศึกษา
     ** การกำหนดน้ำหนักของมาตรฐาน เป็นไปตามมติที่
          สภามหาวิทยาลัยแต่ละแห่งอนุมัติไว้ จะเจรจา
          เฉพาะน้ำหนักเป้าหมาย และเกณฑ์การให้คะแนน
          ของตัวชี้วัดในแต่ละมาตรฐาน

     4.1 มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต
            4.1.1 ร้อยละของบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ได้งานทำ
                    และประกอบอาชีพอิสระภายในระยะเวลา 1 ปี
            4.1.2 ร้อยละของบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ได้งานทำ
                    ตรงสาขาที่สำเร็จการศึกษา
            4.1.3 ระดับความพึงพอใจต่อบัณฑิตของผู้ใช้บัณฑิต
            4.1.4* จำนวนนักศึกษา หรือศิษย์เก่าที่ได้รับการ
                    ประกาศเกียรติคุณยกย่อง ในด้านวิชาการ
                    วิชาชีพ คุณธรรม จริยธรรม หรือรางวัล
                    ทางวิชาการในระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ
            4.1.5* ร้อยละของบทความวิทยานิพนธ์ปริญญาโท/
                    เอกที่ตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งในระดับชาติหรือระดับ
                    นานาชาติต่อจำนวนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท/
                    เอก

      4.2 มาตรฐานด้านการวิจัยและงานสร้างสรรค์
              4.2.1 ร้อยละของงานวิจัย และงานสร้างสรรค์ที่ตี
                      พิมพ์เผยแพร่ และ/หรือนำไปใช้ประโยชน์
                      ทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ
                      ต่ออาจารย์ประจำ           
              4.2.2 จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้าง-
                      สรรค์ จากภายในและภายนอกสถาบัน
                      ต่ออาจารย์ประจำ
              4.2.3 ร้อยละของอาจารย์ประจำที่ได้รับทุนทำวิจัย
                      หรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอก
                      สถาบันต่ออาจารย์ประจำ
              4.2.4* ร้อยละของบทความวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง
                      (Citation) ใน refereed journal หรือใน
                      ฐานข้อมูลระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ
                      ต่ออาจารย์ประจำ
              4.2.5* จำนวนผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่ได้รับ
                      การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา
                      หรืออนุสิทธิบัตร

      4.3 มาตรฐานด้านการบริการวิชาการ
              4.3.1 ร้อยละของกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการ
                      และวิชาชีพที่ตอบสนองความต้องการพัฒนา
                      และเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคมชุมชน
                      ประเทศชาติ และนานาชาติต่ออาจารย์ประจำ
              4.3.2 จำนวนชั่วโมงเฉลี่ยของอาจารย์ประจำที่ให้
                      บริการวิชาการและวิชาชีพที่ตอบสนอง
                      ความต้องการพัฒนาและเสริมสร้าง
                      ความเข้มแข็งของสังคมชุมชนประเทศชาติ
                      และนานาชาติต่ออาจารย์ประจำ
              4.3.3 ร้อยละของอาจารย์ที่เป็นที่ปรึกษา
                      เป็นกรรมการวิทยานิพนธ์ภายนอกสถาบัน
                      เป็นกรรมการวิชาการ และกรรมการ
                      วิชาชีพในระดับชาติหรือระดับ
                      นานาชาติ ต่ออาจารย์ประจำ
              4.3.4* จำนวนแหล่งให้บริการวิชาการและวิชาชีพ
                      ที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติหรือระดับ
                      นานาชาติ
              4.3.5* ระดับความสำเร็จและประสิทธิผลของการ
                      ให้บริการวิชาการและวิชาชีพตามพันธกิจ
                      ของสถาบัน

      4.4 มาตรฐานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
              4.4.1 ร้อยละของโครงการ/ กิจกรรมใน
                      การอนุรักษ์ พัฒนาและสร้างเสริม
                      เอกลักษณ์ ศิลปะ และวัฒนธรรม
                      ต่อจำนวนโครงการ/กิจกรรมทั้งหมด
              4.4.2 ร้อยละของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ/
                      กิจกรรมในการอนุรักษ์ พัฒนา
                      และสร้างเสริมเอกลักษณ์ ศิลปะ
                      และวัฒนธรรมต่อจำนวนนักศึกษาทั้งหมด
              4.4.3 ร้อยละของค่าใช้จ่ายและมูลค่าที่ใช้ใน
                      การอนุรักษ์ พัฒนาและสร้างเสริม
                      เอกลักษณ์ ศิลปะ และวัฒนธรรม
                      ต่องบดำเนินการ
              4.4.4* มีผลงาน หรือชิ้นงานการพัฒนาองค์
                      ความรู้และสร้างมาตรฐานศิลปะ
                      และวัฒนธรรม
              4.4.5* ระดับความสำเร็จและประสิทธิผลในการ
                      อนุรักษ์ พัฒนา และสร้างเสริมเอกลักษณ์
                      ศิลปะและวัฒนธรรม

28

25

น้ำหนักมาตรฐาน
เป็นไปตามมติ
สภาสถาบันแต่ละแห่ง

5. ความสำเร็จในการพัฒนาสถาบันสู่ระดับสากล

2

2
(ตัวชี้วัดเลือก)

มิติที่ 2 มิติด้านคุณภาพ
15
15

- คุณภาพการให้บริการ

6. ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ

8

8

- การประกันคุณภาพ

7. ระดับความสำเร็จของการประกันคุณภาพภายในที่ก่อให้เกิด
    การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

4

4

- การปฏิบัติตามจรรยาบรรณ
   วิชาชีพคณาจารย์

8. ระดับความสำเร็จของการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
    คณาจารย์ ของสถาบันอุดมศึกษา

3

3

มิติที่ 3 มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ
10
10

- การบริหารงบประมาณ

9. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของอัตรา
    การเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน

3

3

- ประสิทธิภาพของการใช้
   พลังงาน

10. ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการประหยัด
     พลังงาน

3

3

- การลดระยะเวลาการให้บริการ

11. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการลดรอบ
     ระยะเวลาของขั้นตอนการปฏิบัติราชการ
     ของสถาบันอุดมศึกษา

2

2

- การจัดทำต้นทุนต่อหน่วย

12. ระดับความสำเร็จของการจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต

2

2

มิติที่ 4 มิติด้านการบริหารจัดการและการพัฒนาองค์กร
20
20
- การบริหารจัดการ

13. ระดับคุณภาพของการกำกับดูแลของสภามหาวิทยาลัย/
     สถาบัน

14. ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามี
     ส่วนร่วม ในการแสดงความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบ
     ผลการปฏิบัติราชการ

2


2

2


2

- การจัดการความรู้
15. ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนการจัดการ
     ความรู้ เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์
2
2
- การพัฒนาบุคลากร
16. ระดับคุณภาพของการพัฒนาบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา
2
2
- การจัดการสารสนเทศ

17. ระดับคุณภาพของการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูล
     สารสนเทศ ของสถาบันอุดมศึกษา

18. ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบฐานข้อมูลอุดมศึกษา
     ด้านนักศึกษา บุคลากร และหลักสูตร

2
 

2

2
 

2

- การเรียนรู้

19. ร้อยละของหลักสูตรที่ได้มาตรฐานต่อหลักสูตรทั้งหมด

20. ร้อยละของอาจารย์ประจำที่มีวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
     ต่ออาจารย์ประจำ

21. ประสิทธิภาพของการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
      (Student Center)

22. ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ใช้ในระบบห้องสมุด คอมพิวเตอร์
      และศูนย์สารสนเทศต่อนักศึกษา

2

2
 

2
 

2

2

2
 

2
 

2

รวม
100
100

หมายเหตุ  * เป็นตัวบ่งชี้เฉพาะสถาบันตามจุดเน้นการปฏิบัติตามพันธกิจ


            สำหรับรายละเอียดของ       กรอบการประเมินผลการปฏิบัติ
ราชการ  ของสถาบันการศึกษา   ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ.  2550
แนวทางและปฏิทินการจัดคำรับรองการปฏิบัติราชการ    แบบฟอร์ม
การจัดทำคำรับรองฯ  แบบฟอร์มรายละเอียดตัวชี้วัด และแบบฟอร์ม
รายงานผล สามารถดูรายละเอียดและ  Download ข้อมูลได้ในหน้า
ข่าวประชาสัมพันธ์ในเว็บไซต์สำนักงาน ก.พ.ร. ที่ http://www.opdc.go.th/     โดยเข้าไปที่เรื่อง "หนังสือสำนักงาน ก.พ.ร. ที่ นร 1200/ว10 เรื่อง การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550"