ในขณะที่การปฏิบัติราชการตามคำรับรองฯ ปี 2549
กำลังเข้าสู่โค้งสุดท้าย สำนักงาน ก.พ.ร. ก็ได้เตรียมพร้อม
ในการจัดทำคำรับรองและการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 แล้ว
โดยเมื่อสัปดาห์์ที่ผ่านมา
สำนักงาน
ก.พ.ร. โดยภารกิจการติดตามและประเมินผลการพัฒนาระบบราชการ
ได้จัดการประชุมชี้แจงกรอบการประเมินผล
การปฏิบัติราชการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
ของส่วนราชการและสถาบันอุดมศึกษา เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ
กับส่วนราชการต่าง ๆ แล้ว
สำหรับการประชุมชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ของส่วนราชการ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27
กรกฎาคม 2549 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 4 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์
กรุงเทพฯ โดยมี รองเลขาธิการ ก.พ.ร. พรพิมล
รัตนพิทักษ์
เป็นประธานชี้แจงวัตถุประสงค์ และทิศทางการประเมินผลการปฏิบัติราชการฯ ของส่วน
ราชการ จากนั้นเป็นการชี้แจงกรอบและแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ของส่วน
ราชการ โดยผู้ที่มาชี้แจงในครั้งนี้
ได้แก่ ผอ.ดารัตน์ บริพันธกุล ผู้อำนวยการภารกิจการติดตามและประเมินผลการพัฒนา
ระบบราชการ ร่วมด้วยที่ปรึกษาจากบริษัท
ไทยเรตติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (บริษัททริส)
สำหรับกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ในปีงบประมาณ พ.ศ.
2550 ของส่วนราชการ นั้น ยังคงแบ่งออก
เป็น 4
มิติเหมือนในปีที่ผ่านมา โดยมีน้ำหนักที่แตกต่างกันในแต่ละมิติ
ดังนี้
มิติที่
1 มิติด้านประสิทธิผล ตามแผนปฏิบัติราชการ |
มิติที่
2 มิติด้านคุณภาพ การให้บริการ |
มิติที่
3 มิติด้านประสิทธิภาพ ของการปฏิบัติราชการ |
มิติที่ 4
มิติด้านการ พัฒนาองค์กร |
ร้อยละ 50 |
ร้อยละ 15 |
ร้อยละ 10 |
ร้อยละ 25 |
แสดงผลงานที่บรรลุ
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของ
แผนปฏิบัติราชการ ตามที่ได้รับ
งบประมาณ มาดำเนินการเพื่อ ให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชน
- ผลสำเร็จตาม
แผนปฏิบัติราชการ
- ผลสำเร็จตามพันธกิจ
ของส่วนราชการระดับ กรมหรือเทียบเท่า |
แสดงการให้ความสำคัญ
กับผู้รับบริการ ในการบริการ
ที่มีคุณภาพสร้าง ความพึง
พอใจแก่ผู้รับบริการ
- ความพึงพอใจของ
ผู้รับบริการ
- การมีส่วนร่วมของ
ประชาชน
- ความโปร่งใสในการ
ปฏิบัติราชการ |
แสดงความสามารถ
ในการปฏิบัติราชการ
เช่น การลดรอบระยะเวลา การให้
บริการ
การบริหารงบประมาณ
การประหยัดพลังงาน เป็นต้น
- การบริหารงบประมาณ
- ประสิทธิภาพของ
การใช้พลังงาน
- การลดระยะเวลา
การให้บริการ
- การจัดทำต้นทุน
ต่อหน่วย |
แสดงความสามารถ
ในการบริหารการเปลี่ยนแปลง
ขององค์กร และการพัฒนา
บุคลากร เพื่อสร้างความพร้อม
ในการสนับสนุนแผนปฏิบัติ
ราชการ
- การจัดการความรู้
- การจัดการทุนด้านมนุษย์
- การบริหารจัดการ
สารสนเทศ
- การพัฒนากฎหมาย
- การบริหารจัดการองค์การ
- การบริหารความเสี่ยง
|
โดยในแต่ละมิตินั้น
จะประกอบด้วยตัวชี้วัดต่าง ๆ เพื่อใช้วัดผลการปฏิบัติงาน
ซึ่งมีทั้งตัวชี้วัดภาคบังคับ และตัวชี้วัด
เลือก ดังนี้
กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
ประเด็นการประเมินผล การปฏิบัติราชการ |
ตัวชี้วัด |
น้ำหนัก (ร้อยละ) |
มิติที่ 1
มิติด้านประสิทธิผล |
50 |
- ผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติราชการ
-
ผลสำเร็จตามพันธกิจของส่วน
ราชการระดับกรมหรือเทียบเท่่า |
1.
ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมาย ตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง
2.
ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมาย
ตามแผนปฏิบัติราชการของกลุ่มภารกิจ (หากไม่มีกลุ่มภารกิจ
ให้นำน้ำหนักไปรวมไว้ที่ระดับกระทรวง)
3.
ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมาย
ตามแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ระดับกรมหรือเทียบเท่า
4.
ตัวชี้วัดตามภารกิจหลักของหน่วยงานที่ไม่ปรากฏในแผนปฏิบัติ
ราชการของส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า
(หากภารกิจหลักปรากฏในแผนปฏิบัติราชการ
หรืออยู่ในมิติอื่นแล้ว
ให้นำน้ำหนักไปรวมในตัวชี้วัดที่ 3) |
|
มิติที่ 2
มิติด้านคุณภาพการให้บริการ |
15 |
- ความพึงพอใจของผู้รับบริการ
- การมีส่วนร่วมของประชาชน
- ความโปร่งใสในการปฏิบัติ
ราชการ |
5. ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ
(ให้ส่วนราชการระบุงานให้บริการยุทธศาสตร์และภารกิจหลัก)
6.
ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ในการแสดงความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบผล
การปฏิบัติราชการ
7.1 ระดับความสำเร็จในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ
7.2
ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบ
|
|
มิติที่ 3
มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ |
10 |
- การบริหารงบประมาณ
- ประสิทธิภาพของการใช้
พลังงาน
- การลดระยะเวลาการให้บริการ
ตัวชี้วัดเลือก -
การจัดทำต้นทุนต่อหน่วย |
8.
ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของ
อัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน
9.
ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการประหยัดพลังงาน
10.1
ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการลดรอบ
ระยะเวลาของขั้นตอนการปฏิบัติราชการ ของส่วนราชการ
10.2
ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการดำเนินการ
ตามข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง ด้านกระบวนงาน
11. ระดับความสำเร็จของการจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต
(หากไม่เลือกตัวชี้วัดนี้
ให้นำน้ำหนักไปไว้ที่ตัวชี้วัดที่ 9 เท่ากับ 1 ตัว
ชี้วัด 10.1 เท่ากับ 0.5
และตัวชี้วัดที่ 10.2 เท่ากับ 0.5
และหาก
ส่วนราชการ เลือกตัวชี้วัดนี้เมื่อปี
พ.ศ.2549 และยังคงเลือกในปี
พ.ศ.2550
ให้รักษาสถานภาพ
(Maintain) ต่อไป)
|
|
มิติที่ 4
มิติด้านการพัฒนาองค์กร |
25 |
- การจัดการความรู้
- การจัดการทุนด้านมนุษย์
- การจัดการสารสนเทศ
- การพัฒนากฎหมาย
- การบริหารจัดการองค์การ
ตัวชี้วัดเลือก -
การบริหารความเสี่ยง |
12.
ระดับความสำเร็จของการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็น
ยุทธศาสตร์
13.1
ระดับความสำเร็จในการพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล
13.2
ระดับความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรตามข้อเสนอ
การเปลี่ยนแปลง
13.3
ระดับความสำเร็จของการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายของ
ระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล
14.
ระดับคุณภาพของการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ
ของส่วนราชการ
15.1
ระดับความสำเร็จของการจัดทำแผนพัฒนากฎหมาย
ของส่วนราชการ
15.2
ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของการดำเนินงาน
ตามแผนพัฒนากฎหมาย ของส่วนราชการ
16.
ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
17.
ระดับความสำเร็จของการจัดทำระบบบริหารความเสี่ยง
(หากไม่เลือกตัวชี้วัดนี้
ให้นำน้ำหนักไปไว้ที่ตัวชี้วัดที่ 13.2 ร้อยละ
1
ตัวชี้วัดที่
13.3 ร้อยละ 1 และหากส่วนราชการเลือกตัวชี้วัดนี้เมื่อ ปี พ.ศ. 2549
และยังคงเลือกในปี พ.ศ.2550 ให้รักษาสถานภาพ (Maintain)
ต่อไป)
|
|
รวม |
100 |
ทั้งนี้
ตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ในปีงบประมาณ พ.ศ.
2550 นั้น ส่วนใหญ่จะยังคง
เหมือนเดิม โดยมีการเพิ่มเติมบางตัวชี้วัด
และมีการปรับเปลี่ยนในบางตัวชี้วัดที่เคยเป็นตัวชี้วัดเลือกเมื่อปี 2549 โดยปรับ
เปลี่ยนมาเป็นตัวชี้วัดบังคับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 สำหรับตัวชี้วัดฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ที่เพิ่มเติม
และปรับเปลี่ยน
มีดังนี้
|
|
ตัวชี้วัดเพิ่มเติม |
ั มิติที่ 2
มิติด้านคุณภาพการให้บริการ
ตัวชี้วัดที่
7.1 ระดับความสำเร็จในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ
(น้ำหนักร้อยละ
3)
มิติที่ 3
มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ
ตัวชี้วัดที่
10.2
ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการดำเนินการตามข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง
ด้านกระบวนงาน (น้ำหน้กร้อยละ 1.5)
มิติที่ 4
มิติด้านการพัฒนาองค์กร
ตัวชี้วัดที่
13.1 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล
(น้ำหนักร้อยละ 2)
ตัวชี้วัดที่มีการปรับเปลี่ยนจากตัวชี้วัดเลือกมาเป็นตัวชี้วัดบังคับ
มิติที่ 4
มิติด้านการพัฒนาองค์กร
ตัวชี้วัดที่
13.3
ระดับความสำเร็จของการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายของระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล
(น้ำหนักร้อยละ
2)
ตัวชี้วัดที่
16. ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
(น้ำหนักร้อยละ 5)
ทั้งนี้
เมื่อชี้แจงกรอบการประเมินผลฯ ดังกล่าวให้ส่วนราชการทราบแล้ว
ในช่วงเดือนสิงหาคมนี้
จะเป็นเป็นช่วงของ
การเจรจาความเหมาะสมของตัวชี้วัด เป้าหมาย น้ำหนัก และเกณฑ์การให้คะแนนตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
ของ
กระทรวง/กลุ่มภารกิจ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
สำหรับรายละเอียดของกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ของส่วนราชการ
แบบฟอร์มการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ รวมทั้งรายละเอียดและเกณฑ์การประเมินผลของแต่ละตัวชี้วัดนั้น
สามารถเข้าไปดูรายละเอียดและ Download
ข้อมูลได้ในหน้าข่าวประชาสัมพันธ์ ทางเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.พ.ร.
ที่ http://www.opdc.go.th/