ขอพาทุกท่านไปพัฒนาขีดความสามารถในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยเทคนิค CoP หรือ Communities of Practice
กับการบรรยายหัวข้อ "Facilitating
Effective CoP"
|
วิทยากรที่มาให้ความรู้ในครั้งนี้
คือ คุณสมใจ เนียมหอม จากฝ่ายพยาบาล
โรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นหน่วยงาน
ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของนำการจัดการความรู้
(Knowledge Management - KM) ไปใช้ในการปรับปรุงองค์กร
และได้เข้าร่วมโครงการนำร่องในเรื่องของการจัดการความรู้
ที่สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติจัดทำขึ้น
คุณสมใจซึ่งเป็นหนึ่งในทีมงานจัดการความรู้ของโรงพยาบาลศิริราช
ได้มาแลก
เปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดการความรู้ของโรงพยาบาลศิริราชโดยเฉพาะการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้โดยใช้เทคนิค Communities of Practice หรือ CoP
ซึ่งเป็นเครื่องมือในการดึง
ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลออกมา
เพื่อแลกเปลี่ยนและทำให้เกิด เป็นแนวทางในการทำงาน
ที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพงาน |
ความรู้นั้นมีอยู่มากมายหลายที่
ทั้งในตำรา ห้องสมุด คอมพิวเตอร์ ฯลฯ แต่สิ่งที่องค์กรต่าง ๆ
กำลังให้ความสำคัญ
และนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นและมีคุณค่าในการจัดการความรู้ คือ
ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลหรือผู้ปฏิบัติงาน (Tacit Knowledge)
ที่จะต้องถ่ายทอดออกมาเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit) เช่น ตำรา
คู่มือ ระบบ ฯลฯ
เพื่อที่บุคลากรในองค์กรสามารถนำ
ความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
ทั้งนี้
สิ่งสำคัญประการหนึ่งในการจัดการความรู้ก็คือ จะต้องรู้จักวัฒธรรมขององค์กร
ว่าคนในองค์กรชอบศึกษา
หาความรู้ด้วยวิธีการใด
และเริ่มจัดกิจกรรมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยวิธีการนั้น
เพื่อให้เหมาะสมกับคนในองค์กรก่อนที่จะ
พัฒนาไปสู่วิธีการอื่น ๆ ต่อไป
ซึ่ง องค์ประกอบที่ทำให้เกิดความรู้แบ่งได้เป็น 4 วิธีการ
ได้แก่
1.
การพบปะพูดคุย
2.
ผ่านเครื่องมือสื่อสาร
3.
การค้นคว้าหาความรู้จากเอกสาร
4.
การศึกษาข้อมูลจากฐานข้อมูล
สำหรับ
Communities of Practice หรือ CoP เป็นเทคนิคหนึ่งในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในในองค์กร
โดยเป็น
เครือข่ายอย่างไม่เป็นทางการที่เกิดขึ้นจากความต้องการของสมาชิก ในการที่จะทำให้งานมีประสิทธิผลมากขึ้น
หรือมีความเข้าใจงานลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดย CoP นั้น
จะมีโครงสร้างที่แตกต่างจากโครงสร้างของหน่วยงาน ที่สำคัญคือ
เน้นการเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ร่วมกัน ได้ทำงานร่วมกันกับคนที่รู้จัก
มากกว่าที่จะเป็นการรายงานตามสายงานในหน่วยงาน
ลักษณะที่สำคัญของ CoP
ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ
1. เป็นกลุ่มคนที่มารวมกลุ่มกันโดยมีความสนใจ
หรือแรงปรารถนาร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (มี Domain) โดย
เข้าใจเป็นอย่างดีว่าอะไรเป็นประเด็นที่ต้องพูดคุยกัน
และมีวิธีการคิดและเข้าถึงปัญหาคล้าย ๆ กัน ทั้งนี้
จะต้องกำหนดเรื่อง หรือ Domain ให้ชัดเจน
เพื่อให้คนในกลุ่มร่วมกันคิดวิเคราะห์ในเรื่องดังกล่าว
ซึ่งในแต่ละองค์กรอาจมี CoP ได้หลาย Domain
และผู้ที่จะ |
กำหนด Domain
ในระดับองค์กรนั้น ควรจะเป็นผู้บริหารระดับสูง
ของหน่วยงาน
โดยพิจารณาจากวิสัยทัศน์ พันธกิจ และบทบาทหน้าที่
ขององค์กร
ซึ่งในการกำหนด Domain นั้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ
ความรู้ที่จำเป็นต่อองค์กร
และสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานรู้สึกว่าตนเองขาด
และต้องการพัฒนา
2. มีการปฏิสัมพันธ์และสร้างความสัมพันธ์ (เป็น
Community)
ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการแก้ไขปัญหาและตอบคำถามและมีการเชื่อม
โยงกันข้ามทีมและหน่วยงาน หรือองค์กร
3. มีการแลกเปลี่ยนและพัฒนาความรู้ร่วมกัน (ต้อง
Practice) ต้องเป็นนักปฏิบัติ
เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติมาแลกเปลี่ยนข้อมูล เคล็ดลับ
แนวทางแก้ปัญหา และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ
รวมทั้งมีการสร้าง
เครื่องมือ ฐานข้อมูลความรู้
และแนวทางปฏิบัติ
หัวใจสำคัญของการจัดการความรู้ด้วยเทคนิค
CoP คือ
การที่เรา
รู้สึกว่าสมาชิกในกลุ่มเป็นเพื่อนที่ต้องช่วยเหลือกัน มีอะไรดี ๆ ก็ต้อง
บอกกัน และต้องการให้เพื่อนรู้เหมือนเราทำงานให้ได้ผลดีเหมือนเรา รวมทั้ง ต้องการพัฒนาองค์ความรู้ของเรื่องที่เราสนใจร่วมกัน
เพื่อยกระดับกลุ่ม
หรือชุมชนของเรา |
|
ดังนั้น
CoP
จึงเป็นการสร้างและใช้ความรู้ในการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยการเรียนรู้ที่ได้จาก
การแลกเปลี่ยนระหว่างสมาชิก เพื่อทำให้เกิดความรู้ใหม่ที่นำกลับไปใช้ในการทำงานได้ และเมื่อนำกลับไปใช้ แล้วก็นำ
ความรู้ที่ได้จากการนำไปใช้ในงานกลับมาวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนกันซึ่งจะทำให้เราได้พัฒนาตนเองทั้งการพัฒนาความคิด
ทักษะ และความรู้ในการปฏิบัติงานของตนเองและทำให้การปฏิบัติงานมีการพัฒนาที่ดีขึ้นส่งผลให้ผลการปฏิบัติงานที่เกิด
กับผู้รับบริการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วงจรการเรียนรู้ของสมาชิก CoP เริ่มจากการจัดเวทีให้สมาชิกได้พบปะพูดคุยกัน (CoP
meeting) เพื่อให้ทราบถึง
เทคนิคต่าง ๆ และปัญหาอุปสรรคที่พบในการปฏิบัติงาน แล้วนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานของตน
จากนั้น
ก็นำความรู้ที่ได้นำไปใช้ กลับมาพูดคุยกันในเวทีสมาชิก CoP เพื่อให้ทราบถึงปัญหาอุปสรรค และประโยชน์ของการนำ
ความรู้
ดังกล่าวไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง
เพื่อพัฒนาความรู้นั้นต่อไป
|
เมื่อผ่านเวทีของการพบปะพูดคุยระหว่างสมาชิก
ซึ่งเป็น
เวทีจริงแล้ว ก็สร้างเวทีเสมือนเพื่อให้บุคลากรอื่น ๆ ในองค์กร
ได้รับทราบความรู้ที่ได้จากเวทีสมาชิก CoP
เพื่อนำไปประยุกต์
ใช้ในงานของตน รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากร
ในองค์กรได้แสวงหาความรู้ใหม่
ๆ ที่แตกต่างจากงานของตน
นอกจากนี้ยังเป็นช่องทางให้บุคลากร ในองค์กรได้นำประสบ-
การณ์ของตนเข้าไปแลกเปลี่ยน เรียนรู้
ในเวทีเสมือนนั้นอีกด้วย
ซึ่งตัวอย่างของเวทีเสมือนก็คือ การจัดทำ KM Website นั่นเอง |
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การจัดการความรู้ภายในองค์กรสัมฤทธิ์ผล จะต้องสร้างวัฒนธรรมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ทั้งในเวทีจริง และเวทีเสมือนด้วย รวมทั้งฝึกทักษะที่จำเป็นให้กับบุคลากรในองค์กร เช่น ความสามารถทางด้าน IT
ความสามารถด้านการเขียน การจดบันทึก เป็นต้น และที่สำคัญ การนำเทคนิค CoP
ไปใช้ในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
และเกิดประสิทธิผลนั้น
หัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงานจะต้องสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ โดยการเปิดรับความคิด
ใหม่ ๆ
ที่แตกต่างจากความคิดของตน
หรือแนวทางปฏิบัติแบบเดิม
บุคคลหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในเวทีสมาชิกของ CoP ก็คือ Facilitator
ซึ่งจะเป็นผู้ที่คอยอำนวยความสะดวก
และส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนั้น Facilitator จึงต้องฝึกเทคนิคและทักษะด้านการอ่านและการฟังโดยฟังแบบ
ไม่มีอคติ คิดพิจารณาก่อนแล้วค่อยตัดสินใจ ปล่อยวาง
อย่ารับรู้ความรู้สึกของคำพูดที่แสดงอารมณ์
นอกจากนี้
Facilitator ยังจะต้องสามารถสร้างขุมทรัพย์ความรู้โดยรู้ว่ากลุ่ม
ต้องการการพัฒนาหรืออยากรู้ในเรื่องใด เพื่อนำมาระบุเป็นประเด็นปัญหา
หรือ
ประเด็นที่จะใช้ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใน Cop meeting แล้วเปิด
โอกาสให้สมาชิกได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยเน้นจากความสำเร็จมากกว่า
ปัญหาอุปสรรค
เพราะเมื่อเริ่มต้นการพูดคุยด้วยเรื่องราวที่ประสบความสำเร็จแล้ว
บรรยากาศในการพูดคุยจะเกิดความชื่นชมยินดี มีความสุข และยินดีที่จะพูดคุย
แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน และเมื่อได้ข้อมูลความรู้แล้ว
ก็นำมาสรุปเป็นแนวคิด
หรือหลักการสำคัญ หรือขุมทรัพย์ความรู้
โดยเน้นในประเด็นที่สามารถนำไปใช้ได้
เพื่อให้สมาชิกได้นำขุมทรัพย์ความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ต่อไป |
|
ในเวทีของการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้นั้น
Facilitator ยังจะต้องมีทักษะในการจัดการกับสมาชิก
โดยคอยสังเกต
พฤติกรรมของสมาชิก หากเริ่มไม่สนใจหรือเบื่อหน่าย
ก็ต้องมีวิธีการทำให้สมาชิกกลับมาให้ความสนใจกับเรื่องที่คุยกันอยู่
รวมทั้งมีความสามารถในการควบคุมเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ
ได้
หลังจากได้รับฟังทฤษฎี รวมทั้งประสบการณ์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากร ของโรงพยาบาลศิริราช
จากคุณสมใจแล้ว ผู้เข้าร่วมกิจกรรม Home Office Day
ในครั้งนี้ก็ได้ฝึกการใช้เทคนิค CoP ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย
โดยการแบ่งกลุ่ม และให้แต่ละกลุ่มกำหนดตัว คุณอำนวย หรือผู้ทำหน้าที่เป็น Facilitator และ คุณลิขิต
หรือผู้
ประมวลความรู้ (Historian) และกำหนด Domain หรือเรื่องที่จะคุย
จากนั้น
ให้ค้นหาประเด็นที่สมาชิกในกลุ่มต้องการทราบว่า อะไรคือ Critical Issue สำหรับกลุ่ม โดยระบุลักษณะ
ของปัญหาหรือประเด็นให้ชัดเจน
ทั้งความยากลำบากในการดำเนินการ ผลลัพธ์ที่ยังไม่เป็นที่พึงพอใจ
และกรอบมาตรฐาน
ต่าง ๆ แล้วตั้งคำถามแบบเจาะลึก ทั้งคำถามเชิงกระบวนการ
(ทำอย่างไร?) คำถามเพื่อค้นหาบริบท (ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?)
และคำถามเพื่อค้นหาปัจจัยเอื้อ (อะไรที่ทำให้ประสบความสำเร็จ?) โดย คุณอำนวย
จะคอยกระตุ้นให้สมาชิกได้ร่วมแสดง
ความคิดเห็น
และสร้างบรรยากาศในการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์
ทั้งนี้
เทคนิคที่ใช้ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้ผลคือการใช้สุนทรียสนทนา
(Dialogue) การเล่าเรื่อง (Story Telling) การพูดออกมาจากใจ เปิดกว้าง เป็นอิสระไม่ถูกกดทับด้วยความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และการตั้งคำถาม
อย่างสร้างสรรค์ (Appreciative Inquiry -
AI) โดยใช้องค์ประกอบ 4 D
ได้แก่
Discovery : การค้นพบ ตั้งคำถามเกี่ยวกับความดีเลิศ ความสำเร็จ ว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่
สิ่งที่จำเป็นคืออะไร
เกิดขึ้น
ได้อย่างไร
Dreaming : ฝันให้ไกล
ตั้งคำถามเกี่ยวกับความฝันต่อองค์กร
เป็นการจินตนาการถึงภาพฝันในอนาคตที่จะเกิดขึ้น
บนพื้นฐานของอดีตหรือประวัติศาสตร์
และนำเสนอใหม่อย่างท้าทายความเป็นไปได้
Designing : การออกแบบโครงสร้างและกระบวนการใหม่
การพัฒนาข้อเสนอในการจัดการองค์กร เพื่อให้ความฝัน
นั้นเกิดเป็นจริงได้
ทั้งในเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว
Destiny (Delivery) :
ไปให้ถึง เป็นขั้นตอนที่ต้องลงมือทำตามข้อเสนอมีการตั้งเกณฑ์พัฒนายุทธศาสตร์เชื่อมโยง
และระดมทรัพยากร
เพื่อทำให้ความฝันนั้นเกิดเป็นจริงขึ้นมา
และในระหว่างที่พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันนั้น คุณลิขิต จะทำหน้าที่จับประเด็น
และจดบันทึกย่อสาระ
สำคัญ
ที่เกิดขึ้นจากการแสดงความคิดเห็น หรือการพูดคุยของสมาชิกในกลุ่ม
โดยนำประเด็นที่มีความสำคัญมาขยาย
ในรายละเอียด
ซึ่งสามารถนำไปปรับเป็นเอกสาร หรือจัดทำเป็น VDO Clip หรือ Flow chart
เป็นต้น แล้วจัดเก็บเป็นระบบ
เพื่อนำไปใช้ใน
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อไป
หลังจากกิจกรรมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์แล้ว
ตัวแทน กลุ่มได้มานำเสนอแนวคิดที่ได้จากการพูดคุยกันในกลุ่ม
จากนั้น
ก็ได้มีการฝึกเทคนิคการทำ AAR (After Action Review) เพื่อทบทวนว่าจากการทำกิจกรรมในครั้งนี้ โดยการบอกเล่าว่า เป้าหมายของการเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้คืออะไร สิ่งใดที่บรรลุ
เป้าหมาย สิ่งใดที่ได้รับเกินความคาดหวัง
สิ่งใดที่ยังไม่บรรลุ
เป้าหมาย พร้อมทั้งระบุสาเหตุ รวมไปถึงสิ่งที่ต้องปรับปรุงพัฒนา
เปลี่ยนแปลง
และสิ่งที่จะกลับไปดำเนินการต่อ
คุณสมใจได้สรุปขั้นตอนในการสร้าง
CoP ของโรงพยาบาล
ศิริราชว่า เริ่มจากการกำหนดเรื่อง หรือ Domain
กลุ่มต่างๆ จากนั้น
ก็กำหนด Core Team ของแต่ละกลุ่ม
โดยเป็นผู้ที่เกี่ยวข้อง
หรือมี
ความสนใจในเรื่องนั้น ๆ พร้อมทั้งกำหนดตัวผู้ที่จะเป็น Facilitator Historian และ Admin.
ของกลุ่มนั้น ๆ และให้แต่ละกลุ่มดำเนิน
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเอง
สกัดความรู้ออกมา และนำมาถ่ายทอด
ต่อโดยทีมกลางจะไม่ไปชี้นำ แต่จะเป็นเพียงผู้ให้ความรู้ทางด้าน
เทคนิคสำหรับการเป็น Facilitator Historian และ Admin.
และ
เทคนิคในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รวมทั้งช่วยแก้ไขปัญหา
ในเชิงปฏิบัติ
โดยจัดประชุมเพื่อรับทราบปัญหา และหาแนวทาง
แก้ไขร่วมกัน |
|
|
ในช่วงสุดท้าย
คุณสมใจได้ฝากข้อคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับ
การจัดการความรู้ (Knowledge
Management) ว่า...
KM ไม่ทำ ไม่รู้
KM ไม่รู้ ต้องทำ
KM ยิ่งทำ ยิ่งรู้
|