สรุปกรอบการประิเมินผลการปฏิบัติราชการ ปี 2550

ของกลุ่มจังหวัด/จังหวัด


             หลังจากที่ได้รายงานข่าวเกี่ยวกับกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ของส่วน
ราชการ   และสถาบันอุดมศึกษากันไปแล้ว  ยังมีหน่วยงานของรัฐอีก 2 กลุ่ม   ที่จะต้องจัดทำคำรับรองและมีการประเมินผล
การปฏิบัติราชการด้วยเช่นกัน นั่นคือ กลุ่มจังหวัด/จังหวัด  และองค์การมหาชน ซึ่ง OPDC News จะนำกรอบการประเมินผล
การปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 มารายงานให้ทราบด้วยเช่นกัน

             โดยในวันนี้  OPDC  News     ขอนำเสนอ ร่างกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ    ประจำ ปีงบประมาณ  พ.ศ. 2550       สำหรับกลุ่มจังหวัด/
จังหวัด
  ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร.  ได้จัดให้มีการเจรจา
ความเหมาะสมของตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และเกณฑ์
การให้คะแนนของจังหวัด    ตามแผนปฏิบัติราชการ
กลุ่มจังหวัดและจังหวัด   กันไปแล้ว เมื่อวันที่ 2 - 4
สิงหาคม 2549  ณ โรงแรมปริ๊นซ์ พาเลซ มหานาค กรุงเทพมหานคร


              สำหรับกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ของกลุ่มจังหวัด/จังหวัดนั้น
แบ่งออกเป็น 4 มิติเช่นเดียวกับส่วนราชการ คือ

มิติที่ 1
มิติด้านประสิทธิผล
ตามแผนปฏิบัติราชการ
มิติที่ 2
มิติด้านคุณภาพ
การให้บริการ
มิติที่ 3
มิติด้านประสิทธิภาพ
ของการปฏิบัติราชการ
มิติที่ 4
มิติด้านการ
พัฒนาองค์กร
ร้อยละ 50
ร้อยละ 15
ร้อยละ 10

ร้อยละ 25

      ผลสำเร็จตาม
         แผนปฏิบัติราชการ

      ความพึงพอใจของ
         ผู้รับบริการ

      การมีส่วนร่วมของ
         ประชาชน

      ความโปร่งใสในการ
         ปฏิบัติราชการ

      การบริหาร
         งบประมาณ

      ประสิทธิภาพของ
         การใช้พลังงาน

      การลดระยะเวลา
         การให้บริการ

      การจัดทำต้นทุน
         ต่อหน่วย

      การจัดการความรู้

      การจัดการทุน
         ด้านมนุษย์

      การจัดการสารสนเทศ

      การบริหารจัดการ
         องค์การ


           ทั้งนี้ โดยมีรายละเอียดของตัวชี้วัดในแต่ละมิติ ตามร่างกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 สำหรับกลุ่มจังหวัด/จังหวัด ดังนี้

           ร่างกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 สำหรับกลุ่มจังหวัด/จังหวัด

ประเด็นการประเมินผล
การปฏิบัติราชการ
ตัวชี้วัด
น้ำหนัก
(ร้อยละ)

มิติที่ 1 มิติด้านประสิทธิผลตามแผนปฏิบัติราชการ

50

- ผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติ
  ราชการ

1. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมาย
    ตามแผนปฏิบัติราชการกลุ่มจังหวัด

2. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมาย
    ตามแผนปฏิบัติราชการของจังหวัด

    แบ่งเป็น

    ก. ตัวชี้วัดภาคบังคับ

    2.1 ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด

    2.2 ร้อยละที่ลดลงของจำนวนครัวเรือนยากจนที่มีรายได้
          ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ.
          (หาก ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จังหวัดใดไม่มีจำนวนครัวเรือน
          ยากจนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ.ให้นำน้ำหนักไปเพิ่มให้ตัวชี้วัด 2.1
)

    2.3 ระดับความสำเร็จ/ความคุ้มค่า ของแผนงาน/โครงการตาม
          ประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด

    ข. ตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการจังหวัด

3. การพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต ความปลอดภัย ทรัพยากร ธรรมชาติ
    และสิ่งแวดล้อม

     3.1 ร้อยละของหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งที่เอาชนะยาเสพติด

     3.2 ระดับความสำเร็จในการป้องกันและปราบปรามการเกิดอาชญากรรม

     3.3 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนงานด้านความมั่นคง
           ชายแดน
           (กรณีต่อไปนี้ให้นำน้ำหนักไปเพิ่มให้กับตัวชี้วัดที่ 3.2
            1) กรณีจังหวัดที่ติดชายแดนซึ่งมีตัวชี้วัดนี้ปรากฎอยู่ในแผนปฎิบัติ
                ราชการจังหวัดแล้ว
            2) กรณีจังหวัดที่ไม่ติดชายแดน)

     3.4 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากร
           ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

     3.5 ร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของอาหารสด ตลาดสด ร้านอาหาร
           และแผงลอย ที่ผ่านมาตรฐานด้านสาธารณสุข

     3.6 ระดับความสำเร็จของการรักษาความปลอดภัยโดยเน้นการลด
           อุบัติเหตุจราจรทางบก

20
 

15
 





2

2
 

 

2


 

9


15

2




1.5

1.5
   
4


3


3

มิติที่ 2 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ
15

- ความพึงพอใจของผู้รับบริการ

  

- การมีส่วนร่วมของประชาชน
 

- ความโปร่งใสในการปฏิบัติ
   ราชการ

4.1. ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ

4.2 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการจัดตั้งศูนย์บริการร่วม

5. ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ
    แสดงความคิดเห็น และร่วมติดตามตรวจสอบผลการปฏิบัติราชการ

6.1 ระดับความสำเร็จในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ

6.2 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการป้องกัน
      และปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ

5

4

3
 

1

2

มิติที่ 3 มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ
10

- การบริหารงบประมาณ
 

- ประสิทธิภาพ
  ของการใช้พลังงาน

- การลดระยะเวลาการให้บริการ

7. ร้อยละของอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณโครงการตามแผน
    ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด

8. ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการประหยัดพลังงาน
    ของจังหวัด

9.1 ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการลดรอบระยะเวลา
       ของขั้นตอนการปฏิบัติราชการ ของจังหวัด

9.2 ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการดำเนินการ
       ตามข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง ด้านกระบวนงาน

3
 

2

3

2

มิติที่ 4 มิติด้านการพัฒนาองค์กร
25

- การจัดการความรู้


- การจัดการทุนด้านมนุษย์

 


 

- การจัดการสารสนเทศ
 

- การบริหารจัดการองค์การ

ตัวชี้วัดเลือก
- การบริหารความเสี่ยง

10. ระดับความสำเร็จของการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุน
      ประเด็นยุทธศาสตร์

11.1 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล

11.2 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรตามข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง

11.3 ระดับความสำเร็จของการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายของ
        ระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล

12. ระดับคุณภาพของการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ
      ของส่วนราชการ

13. ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ


14. ระดับความสำเร็จของการจัดทำระบบบริหารความเสี่ยง
      (หากไม่เลือกตัวชี้วัดนี้ ให้นำน้ำหนักไปไว้ที่ตัวชี้วัดที่ 11.2 ร้อยละ 1
       และ ตัวชี้วัดที่ 11.3 ร้อยละ 1 และ หากส่วนราชการเลือกตัวชี้วัดตัวนี้
       เมื่อปี 2549 และยังคงเลือกในปี 2550 ให้รักษาสถานภาพ (Maintain)
       ต่อไป)

5


2

2

3
 

6
 

5


2

รวม
100