กรอบการประิเมินผลการปฏิบัติงาน ปี 2550

ขององค์การมหาชน

  


           OPDC News ก็ขอนำเสนอรายละเอียดของ กรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์การมหาชน ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2550
กันต่อค่ะ

          ทั้งนี้  กรอบการประเมินผลฯ    ขององค์การมหาชนนั้น  ยังคงแบ่งเป็น  4  มิติ    เช่นเดียวกับส่วนราชการ    จังหวัด และสถาบันอุดมศึกษา แต่จะแตกต่างกันในรายละเอียด เนื่องจากองค์การมหาชนแต่ละแหน่งนั้นมีกรอบการดำเนินงาน และ
วัตถุประสงค์การดำเนินงานที่แตกต่างกัน      การประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์การมหาชนจึงกำหนดเพียงกรอบกว้าง ๆ โดยรายละเอียดของตัวชี้วัด    และน้ำหนักในแต่ละมิตินั้นก็จะแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน   แต่ก็ยังมี
ตัวชี้วัดบางตัวที่เป็นตัวชี้วัดร่วมเพื่อใช้ประเมินผลกับทุกองค์การมหาชน

                                                                                   

          สำหรับรายละเอียดของกรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติงานขององค์การมหาชน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 นั้น มีดังนี้

กรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติงานขององค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550

ประเด็นการประเมินผล
การปฏิบัติงาน
ตัวชี้วัด
น้ำหนัก
(ร้อยละ)

มิติที่ 1 ด้านประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน

X

• การจัดทำแผนยุทธศาสตร์
   กำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมาย
   ระดับองค์กร

ด้านการเงิน
•
การสร้างประสิทธิผลทางการเงิน

ด้านที่ไม่ใช่การเงิน
•
การพัฒนาการปฏิบัติงานตามเป้าหมาย
   ผลผลิต
• การดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล
• การบริหารผลกระทบต่อทรัพยากร
   สิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจ และสังคม

ตัวชี้วัดและน้ำหนักขึ้นกับวัตุประสงค์การดำเนินงาน
ตามยุทธศาสตร์และพันธกิจของแต่ละองค์การมหาชน

มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการ
X

• การสนองความพึงพอใจต่อผู้รับบริการ

ตัวชี้วัดและน้ำหนักขึ้นกับวัตถุประสงค์การดำเนินงาน
ตามยุทธศาตร์และพันธกิจ ของแต่ละองค์การมหาชน

โดยมีตัวชี้วัดร่วมที่ประเมินผลทุกองค์การ ได้แก่
1. ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ


 

  
10

มิติที่ 3 ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน
X

• การสร้างประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน

ตัวชี้วัดและน้ำหนักขึ้นกับวัตุประสงค์การดำเนินงาน
ตามยุทธศาสตร์และพันธกิจของแต่ละองค์การมหาชน

 

มิติที่ 4 ด้านการกำกับดูแลกิจการ และการพัฒนาองค์กร
X

• การกำกับดูแลกิจการ
 

• การพัฒนาองค์กร

ตัวชี้วัดและน้ำหนักขึ้นกับวัตถุประสงค์การดำเนินงาน
ตามยุทธศาตร์และพันธกิจ ของแต่ละองค์การมหาชน

โดยมีตัวชี้วัดร่วมที่ประเมินผลทุกองค์การ ได้แก่
1. ระดับการพัฒนาด้านการกำกับดูแลกิจการ



 
 
10

รวม
100

หมายเหตุ   X  หมายถึง น้ำหนักที่เกิดจากการเจรจาข้อตกลงฯ ระหว่างคณะกรรมการเจรจาฯ และองค์การมหาชน


          ทั้งนี้ ตัวชี้วัดและน้ำหนักของแต่ละตัวชี้วัด  ขององค์การมหาชนจะแตกต่างกันไปในแต่ละหน่วยงาน   โดยขึ้นอยู่กับ
วัตถุประสงค์ฺการดำเนินงานตามยุทธศาตร์และพันธกิจของแต่ละองค์การมหาชน ดังนั้น  กรอบการประเมินผลฯ ขององค์การ
มหาชนจึงไม่ได้มีการกำหนดตัวชี้วัดที่แน่นอนตายตัวเหมือนกับส่วนราชการ  กลุ่มจังหวัด/จังหวัด     และสถาบันอุดมศึกษา อย่างไรก็ตาม องค์การมหาชนจะมีตัวชี้วัดร่วมที่ใช้ประเมินผลในทุกองค์การมหาชน อยู่ 2 ตัวชี้วัด คือ

           มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการ
           
ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ (น้ำหนักร้อยละ 10)

           มิติที่ 4 ด้านการกำกับดูแลกิจการ และการพัฒนาองค์กร
           ระดับการพัฒนาด้านการกำกับดูแลกิจการ (น้ำหนักร้อยละ 10)

มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการ
ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ (น้ำหนักร้อยละ 10)

           สำหรับตัวชี้วัด  "ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ"   ซึ่งเป็นตัวชี้วัดร่วมในมิติที่ 2  ที่ใช้ประเมินในทุก
องค์กรมหาชน      จะพิจารณาจากผลสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการขององค์การมหาชน       โดยประเด็นการสำรวจ
จะประกอบด้วยประเด็นสำคัญ ๆ คือ
           1) ความพึงพอใจด้านกระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการ
           2) ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ
           3) ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก

           โดยองค์การมหาชนสามารถเสนองานบริการที่จะนำมาประเมินผลได้ จำนวนอย่างน้อย 3 งานบริการซึ่งจะต้องเป็น
งานที่เป็นภารกิจหลัก ในกรณีที่ไม่สามารถเสนองานบริการได้ 3 งานบริการ  องค์การมหาชนจะต้องจัดทำคำอธิบายเหตุผล
ให้สำนักงาน ก.พ.ร. นำเสนอคณะกรรมการพิจารณาตามความเหมาะสม

                                                                      
มิติที่ 4 ด้านการกำกับดูแลกิจการ และการพัฒนาองค์กร
ระดับการพัฒนาด้านการกำกับดูแลกิจการ (น้ำหนักร้อยละ 10)

           ในการกำกับดูแลกิจการขององค์กรตามหลักสากลนั้น   จะดำเนินการโดยผ่าน    คณะกรรมการขององค์การมหาชน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการผลักดันการกำหนดนโยบาย แผนงานและกลยุทธ์ในการดำเนินงาน เพื่อให้ฝ่ายบริหารและพนักงาน มีการดำเนินงานตามนโยบาย      และเป้าหมายขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ภายใต้ระบบการทำงานที่ดี และมีระบบตรวจสอบการทำงานตามภารกิจขององค์กร     ตลอดจนจัดให้มีติดตามและประเมินผลการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงการทำงานและพัฒนาการทำงานที่ดียิ่งขึ้น  ดังนั้น  บทบาทของคณะกรรมการในการกำกับดูแลที่ดี จึงส่งผลต่อ
การดำเนินงานขององค์กรโดยตรง

           นอกจากนี้  รายงานทางการเงิน    การเปิดเผยสารสนเทศและความโปร่งใสนั้น    ก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการ แสดงถึงความรับผิดชอบในการทำงานขององค์กรต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย  ตลอดจนแสดงถึงความโปร่งใสที่พร้อมให้ผู้ มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย สามารถร่วมตรวจสอบการทำงานขององค์กรได้

           ดังนั้น หลักเกณฑ์ในการประเมินของตัวชี้วัด "ระดับการพัฒนาด้านการกำกับดูแลกิจการ" นี้ จึงประกอบด้วย 4 ส่วน
หลัีก ดังนี้

หัวข้อที่ใช้ในการประเมิน
น้ำหนัก (ร้อยละ)

1.1 บทบาทของคณะกรรมการองค์การมหาชน
       1.1.1 การมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทาง ยุทธศาสตร์
                 และนโยบายขององค์กร
       1.1.2 การดูแลติดตามผลการดำเนินงาน
       1.1.3 การประชุมของคณะกรรมการ


10
 
10
30
1.2 รายงานทางการเงิน
10
1.3 การเปิดเผยสารสนเทศและความโปร่งใส
10
1.4 การดำเนินการอื่น ๆ ทางด้านการกำกับดูแลกิจการ
30
รวม
100

           สำหรับการดำเนินการอื่น ๆ ทางด้านการกำกับดูแลกิจการนั้น แบ่งออกเป็น 3 กิจกรรม คือ

           1. คณะกรรมการควรมีการติดตามความเพียงพอของระบบงานที่สำคัญ (น้ำหนักร้อยละ 10) ได้แก่
                1) การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน
                2) การบริหารจัดการสารสนเทศ
                3) การบริหารทรัพยากรบุคคล

           2. คณะกรรมการมีการประเมินผลงานผู้บริหารสูงสุด

           3. องค์กรควรกำหนดผู้รับผิดชอบโดยตรงด้านการบริหารความเสี่ยงและมีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยง