เดินหน้า...จัดการความรู้ในระบบราชการไทย
เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2549 เวลา 20.40 -
21.40 น. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11
กรมประชาสัมพันธ์
ได้ออกอากาศรายการ |
เดินหน้า...พัฒนาราชการไทย ตอนการจัดการความรู้ (KM) กับราชการไทย
โดยมีผู้บริหารของหน่วยงาน
ราชการทั้งในส่วนกลาง
และส่วนภูมิภาคเข้าร่วมพูดคุยในรายการ
สำหรับรายการเดินหน้า...พัฒนาราชการไทยประจำ
เดือนสิงหาคมนี้ จะแตกต่างจากตอนที่ผ่าน ๆ
มาซึ่งเป็นการออกอากาศสด กล่าวคือ
รายการเดินหน้า...พัฒนาราชการไทย เมื่อวันที่ 29
สิงหาคม ที่ผ่านมา เป็นเทปบันทึกรายการ
ซึ่งได้มีการบันทึกเทปกันไปเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2549
โดยมีแขกรับเชิญที่มาร่วมพูดคุยในรายการ
ประกอบด้วย |
|
ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการสื่อสารพัฒนาการเรียนรู้
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
(สคส.)
นายนัทธี
จิตรสว่าง
อธิบดีกรมราชทัณฑ์
นายวิชม ทองสงค์
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
|
คุณศิริบูรณ์ ณัฐพันธ์ พิธีกรประจำของรายการ
ได้เปิดรายการด้วยการกล่าวถึง ระบบราชการไทยที่ถูกขับเคลื่อน
และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา
เพื่อตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกยุคปัจจุบัน
ดังนั้น
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ.2546
จึงได้กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ
เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ |
การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้
เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยแปลงแผนยุทธศาสตร์ของส่วนราชการ
ไปสู่แผนปฏิบัติการ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ซึ่งการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้นั้น
จะต้องอาศัยกระบวนการที่เรียกว่า การจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management (KM)
และนี่จึงเป็นที่มาของรายการ
เดินหน้า...พัฒนาราชการไทย ตอน การจัดการความรู้ (KM) กับราชการไทย
โดยแขกรับเชิญในรายการได้มาร่วมพูดคุยกันในเรื่องการจัดการความรู้ หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า KM (Knowledge Management)
ว่ามีกระบวนการอย่างไร
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการความรู้มีอะไรบ้าง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคราชการ และประชาชนจะได้รับประโยชน์ด้วยหรือไม่
ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด
ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการสื่อสารพัฒนาการเรียนรู้
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)
แขกรับเชิญท่านแรกในรายการ ได้ร่วมพูดคุยในประเด็นต่าง ๆ เช่น
ความหมายของการจัดการความรู้
ความสำคัญและเหตุผลความจำเป็นในการนำ การจัดการความรู้ มาใช้ในระบบราชการ
และประโยชน์ที่จะได้รับ ปัจจัยที่จะทำให้ การจัดการความรู้ ประสบผลสำเร็จ
และปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ ของการจัดการความรู้
เพื่อพัฒนาระบบราชการไทยสู่องค์การแห่งการเรียนรู้
ความก้าวหน้าของการดำเนินการจัดการความรู้ของ |
|
ส่วนราชการในปัจจุบัน
รูปแบบของการจัดการความรู้อย่างง่าย
กระบวนการและขั้นตอนของการจัดทำแผนการจัดการความรู้
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการนำความรู้ไปใช้
และการดึงคุณค่าภายในตัวข้าราชการออกมาสร้างประโยชน์ให้องค์กรอย่างเป็นระบบ |
จากนั้น
เป็นการพูดคุยกับผู้บริหารของส่วนราชการและจังหวัด
ที่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของ การจัดการความรู้
และได้นำเอาการจัดการความรู้
มาดำเนินการในองค์กรอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ซึ่งผู้บริหารที่มาร่วมพูดคุยในรายการในครั้งนี้ ได้แก่ นายนัทธี จิตรสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และ
นายวิชม ทองสงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยผู้บริหารทั้ง 2
ท่านได้ร่วมตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ
ดังนี้ |
|
การให้ความสำคัญในเรื่องการจัดทำแผนการจัดการความรู้
เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน
การนำแผนการจัดการความรู้ไปสู่การปฏิบัติ
บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสูงสุดในการสนับสนุนการจัดการความรู้
ประสบการณ์ในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในหน่วยงาน
และการขยายเครือข่ายการเรียนรู้สู่กลุ่มเป้าหมาย
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการความรู้ของกรมราชทัณฑ์และจังหวัดนครศรีธรรมราช
|
นอกจากการร่วมพูดคุยในรายการในเรื่องของ
การจัดการความรู้ (KM) กับราชการไทย แล้ว
ในช่วงท้ายของรายการเดินหน้า...พัฒนาระบบราชการไทยในครั้งนี้
ยังได้นำเสนอสกู๊ปพิเศษ ที่ คุณกรองแก้ว
ชัยกฤษ พิธีกรภาคสนาม ได้พาไป
เยี่ยมชมศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีอยู่ 6 ศูนย์ทั่วประเทศ
โดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น
เน้นในเรื่องการจัดการความรู้และการบูรณาการการทำงานเป็นทีม |
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพด้านการจัดการความรู้
และด้านการบูรณาการการทำงานเป็นทีม ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อีกทั้งยังเป็นต้นแบบของการทำงานแบบบูรณาการ
โดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน
และเป็นต้นแบบของการบริหารงานแนวใหม่
ที่เน้นการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมในระบบราชการในปัจจุบันอีกด้วย
|