เรื่อง : นวลจันทร์ แสงมณี

การจัดทำแผนปฎิบัติราชการของส่วนราชการ

                    หลังจากการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 26 – 27 มีนาคม 2548 ที่ผ่านมา และการจัดประชุมสัมมนา การจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดิน 4 ปี เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2548 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ซึ่งเนื้อหาในวันดังกล่าวได้นำเสนอไว้ใน e-News ในฉบับที่ 2 และ 3 ประจำเดือนเมษายนและพฤษภาคม แล้วนั้น สำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบที่มาที่ไปและหลักการ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน   e-News   ฉบับนี้จะเล่าถึงที่มาอย่างคร่าวๆ  ของ “แผนการบริหารราชการแผ่นดิน”

          แผนดังกล่าวนี้เกิดขึ้นมาจาก พ.ร.ฎ.เกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546มาตรา 13  และมาตรา14 ที่กำหนด ให้มีการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินขึ้น เพื่อเป็นแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ( Government strategic plan) และกำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทำ แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และปรากฏว่ามติ ค.ร.ม วันที่ 26 ตุลาคม 2547 เห็นชอบ ให้ออก “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.  2547”   ตามที่  ก.พ.ร.เสนอ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน เกี่ยวกับการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ต่อไป          

คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548-2551 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ส่วนราชการนำแผนการบริหารราชการแผ่นดินฯ ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี โดยได้มอบหมาย ให้รองนายกรัฐมนตรีเป็น เจ้าภาพยุทธศาสตร์ในการดำเนินการ แต่ละประเด็น ยุทธศาสตร์

                          ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดทำแผนการบริหารราชการ แผ่นดิน พ.ศ. 2547 ได้กำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทำแผน ปฏิบัติราชการ ของส่วนราชการให้แล้วเสร็จภายใน   60   วัน ดังนั้นจึงต้องเร่งดำเนินการในขั้นแรกโดยการจัดประชุมชี้แจงส่วนราชการและจังหวัด เรื่องการ แปลงแผนการบริหารราชการ แผ่นดิน สู่แผนปฎิบัติราชการ 4 ปี เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2548 ที่ผ่านมา

                          โดยมีคณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินประกอบด้วย สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ    สำนักงบประมาณ       สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี   สำนักงานก.พ.ร. และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติิเข้าร่วมประชุม    หลังจากนั้นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้พิจารณามอบหมายให้มีฝ่ายเลขานุการ สนับสนุนการทำงานของรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีในฐานะ ที่เป็นเจ้าภาพยุทธศาสตร์ในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้

ประเด็นยุทธศาสตร์

เจ้าภาพยุทธศาสตร์ (รองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรี)

ฝ่ายเลขานุการ
1. การขจัดความยากจน
พลตำรวจเอกชิดชัย วรรณสถิตย์ ป.ป.ส.
2. การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
นายจาตุรนต์ ฉายแสง สศช.

3. การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้ สมดุลและแข่งขันได้

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สศช.

4. การบริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายพินิจ จารุสมบัติ ทส.

5. การต่างประเทศและเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศ

นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย กต. และ พณ.

6. การพัฒนากฎหมายและส่งเสริม การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

นายวิษณุ เครืองาม

สกพร.

7. การส่งเสริมประชาธิปไตยและ กระบวนการประชาสังคม

นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ

สลน.

8. การรักษาความมั่นคงของรัฐ
พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ สมช.

เพื่อทำหน้าที่ประสานสร้างความเข้าใจหน่วยงานเจ้าภาพ/เจ้าภาพกลยุทธ์/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในแนวทางการถอดแผนการบริหารราชการ แผ่นดินฯ ไปสู่แผนปฏิบัติ ราชการ 4 ปี รวมทั้ง วิเคราะห์ความเชื่อมโยงและความถูกต้องร่วมกับหน่วยงานกลาง

ส่วนราชการต่าง ๆ ได้นำเสนอแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานตัวเองไปแล้ว เมื่อวันอังคารที่ 7 มิถุนายน 2548 ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ดังนี้

        1.ภาพรวมของการแปลงแผนการบริหารราชการแผ่นดินฯ ไปสู่แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของส่วนราชการ ในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์

        2.แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของกระทรวง/กลุ่มจังหวัด

                                                                                             

           คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่  7  มิถุนายน   2548   มีมติรับทราบและเห็นชอบในหลักการของแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีของกระทรวงและกลุ่มจังหวัด ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการพิจารณาทบทวนแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ    เพื่อให้มีวงเงินงบประมาณที่เหมาะสม และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้นแล้วมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี  (นายสมคิด  จาตุศรีพิทักษ์ )ร่วมกับรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีี (นายสุรนันทน์  เวชชาชีวะ)  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาต ิ   สำนักงบประมาณและสำนักงาน  ก.พ.ร.พิจารณาทบทวนในภาพรวม ทั้งหมดเพื่อให้เกิดการบูรณาการตามนโยบายรัฐบาลซึ่งผลก็ปรากฎออกมาว่าคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วลงมติเห็นชอบในหลักการของแผนการปฎิบัติ ราชการ 4 ปี ของกระทรวงและกลุ่มจังหวัด   โดยให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดร่วมกับ  หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาทบทวนแผนปฎิบัติราชการดังกล่าวของส่วนราชการอีก ครั้งหนึ่ง เพื่อให้มีวงเงินงบประมาณที่เหมาะสมเป็นไปตามกรอบการประมาณการรายได้ตามยุทธศาสตร์แผนการบริหารราชการแผ่นดินฯและสอดคล้อง กับยุทธศาสตร์ ที่เกี่ยวข้อง มากยิ่งขึ้น และให้หารือรองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีที่เป็นเจ้าภาพรับผิดชอบในแต่ละยุทธศาสตร์ให้แล้วเสร็จโดยเร็วแล้ว ให้ทุกส่วนราชการส่งเรื่องให้รองนายกรัฐมนตรีสมคิด  จาตุศรีพิทักษ์ พิจารณาทบทวนในภาพรวมทั้งหมดเพื่อให้เกิดการบูรณาการตามนโยบายรัฐบาลร่วมกับรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีสุรนันทร์ เวชชาชีวะ   สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ    สำนักงบประมาณและสำนักงาน ก.พ.ร. แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยให้จัดการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษเป็นการเฉพาะซึ่งอาจจัดขึ้น ในวันหยุดสุดสัปดาห์วันใดวันหนึ่งตาม ความเหมาะสม เพื่อให้มีเวลาเพียงพอและ สามารถพิจารณาเรื่องนี้ได้อย่างละเอียดรอบคอบต่อไป

                 หลังจากนั้นยังมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร ดำเนินการจัดฝึกอบรมเทคนิคในเรื่องการบริหารโครงการและงบประมาณตั้งแต่ กระบวนการตั้งงบประมาณการอนุมัติและ การใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเพิ่มขีดสมรรถนะ ในการถ่ายทอดยุทธศาสตร์ไปสู่การปฎิบัติให้แก่หัวหน้าส่วนราชการและผู้บริหารระดับสูงที่ เกี่ยวข้องต่อไปด้วย

              และนี้ก็คือที่มาและสิ่งที่เราได้ดำเนินการผ่านไปแล้วในเรื่องการจัดทำแผนปฎิบัติราชการของส่วนราชการหากใครสนใจรายละเอียด ที่บอกกล่าวกับเรื่องนี้อย่างเป็นทางการสามารถติดตามได้จากเอกสารแนบท้ายที่e-News ลงไว้ให้ดูคลิกได้เลยค่ะ