สำหรับการบริหารแบบบูรณาการ (CEO) นั้น ได้ให้ความสำคัญของการทำงานเป็นทีม มีภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน มีภารกิจและยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน รวมทั้งทักษะการบริหารจัดการ ความรับผิดชอบและความน่าเชื่อถือ ซึ่งโครงการนี้ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ 76 จังหวัดและเอกอัครราชทูตแบบบูรณาการ 60 ประเทศ จะได้รับมอบอำนาจการบริหารการจัดการ ทีมงาน และทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อให้นโยบายของรัฐทั้งภายในประเทศและต่างประเทศสามารถนำไปปฏิบัติและบริหารอย่างเชื่อมโยงกัน ซึ่งเป็นการผนวกรูปแบบ inside-out และ outside-in หัวใจของการบริหารที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง คือ แนวคิดการสร้างอำนาจให้กับประชาชน ซึ่งจะยังคงขยายรูปแบบแนวทาง ผ่านโครงการ Smart Card หรือบัตรประชาชนอเนกประสงค์สำหรับประชาชน (e-Citizens) เพื่อเป็นการเพิ่มอำนาจให้ประชาชน พร้อมการให้บริการที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในสาขาต่าง ๆ รวมทั้งด้านการให้บริการด้านสุขภาพและการศึกษา ซึ่งจะส่งผลให้ภาครัฐและภาคเอกชนเกิดการแข่งขันซึ่งกันและกัน เพื่อให้การบริการที่ดีที่สุดแก่ประชาชน โลกวิทยาการเช่นในปัจจุบัน เครื่องมือสำคัญในการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ คือ เทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลข่าวสาร ซึ่งได้เน้นให้เห็นว่า เทคโนโลยีจะเปลี่ยนรูปแบบข้าราชการให้เป็นพนักงานที่มีองค์ความรู้ที่ถึงพร้อมด้วยข้อมูลข่าวสาร เพื่อการตัดสินใจที่รอบคอบในการให้บริการประชาชน และด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศนี้เอง จะทำให้การให้บริการแก่ประชาชนไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตรงเวลา โดยริเริ่มการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพแก่ประชาชน ในการทำหน้าที่ประดุจดังพนักงานส่วนหน้าในการให้บริการและติดต่อ อาทิ การจัดซื้อจัดจ้าง การให้บริการด้านภาษี การจัดทำงบประมาณ รวมทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับหนังสือเดินทางทางอิเล็กทรอนิกส์
นอกจากนี้
ประเทศไทยยังได้จัดให้มีกระบวนการจัดการประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction)
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรมในกระบวนการประมูลโครงการต่าง ๆ
ของภาครัฐ ซึ่งการประมูลโครงการภาครัฐขนาดใหญ่ในโครงต่อขยายโทรคมนาคม
ได้จัดให้มีการประมูลโดยผ่านระบบคอมพิวเตอร์
เป็นผลให้รัฐสามารถได้ผู้ชนะการประมูล
ในราคาที่ต่ำกว่าราคาที่รัฐบาลได้กำหนดไว้ถึง 6 พันล้านบาท
ซึ่งกระบวนการดังกล่าว
สามารถประหยัดเงินของผู้เสียภาษีในอนาคตได้เป็นจำนวนมาก
สำหรับในเอเชียนั้น
คุณค่าเอเชีย เกี่ยวของกับการดำเนินชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
ประการหนึ่งคือ ความโปร่งใส ซึ่งในความหมายของชาวตะวันตก
มักจะเห็นภาพของการเผชิญหน้าของแต่ละฝ่ายระหว่าง ผู้ตรวจสอบ
และผู้ถูกตรวจสอบ
สำหรับในประเทศไทย
ได้มีความพยายามในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
เพื่อให้รัฐบาลมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น โดยจะไม่มีการกล่าวหาใคร
ในการนี้ รัฐบาลจึงได้นำระบบ GFMIS หรือระบบการบริหารจัดการการเงินการคลังภาครัฐ มาใช้เป็นกลไกในการส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารประเทศ
และประเทศไทยนับว่าเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศแรก ๆ ของโลกที่นำระบบการแสดงผลตามเวลาจริง หรือ online real - time นี้มาใช้ ทั้งนี้ ระบบ GFMIS ได้รับการออกแบบขึ้น เพื่อความมีประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือ และความโปร่งใส โดยจะทำให้กระบวนการทางการเงินการคลังภาครัฐทั้งหมด สามารถตรวจสอบและเปิดดูได้จากระบบ online real - time ยิ่งไปกว่านั้น การจ่ายเงินของหน่วยงานรัฐบาล การทำบัญชี การตรวจสอบบัญชี การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารงานบุคคล จะเป็นไปอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ ซึ่งจะเป็นมาตรฐานในการดำเนินงานที่เป็นธรรมและโปร่งใส รวมถึงการจัดเก็บรายได้และการใช้จ่ายต่าง ๆ และด้วยระบบดังกล่าวนี้ ระดับมาตรฐานการดำเนินงานและความปร่งใสได้เลื่อนสูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง และความโปร่งใสนี้จะช่วยกำจัดการทุจริต และนำไปสู่การใช้ทรัพยากรของรัฐที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมทั้ง ยกระดับระบบธรรมาภิบาล โดยเป็นกลไกของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ และเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือ และสร้างความเชื่อมั่น