พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 กำหนดให้ ก.พ.ร. รับผิดชอบในการเสนอแนะ และให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการและ
งานของรัฐอย่างอื่น ซึ่งรวมถึง โครงสร้างระบบราชการ ระบบงบประมาณ ระบบบุคลากร มาตรฐาน
ทางคุณธรรมและจริยธรรม ค่าตอบแทน และวิธีปฏิบัติราชการอื่นให้เป็นไปตามมาตรา 3/1
เพื่อประมวลเป็นประเด็นในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้
เสนอ แนวทางการดำเนินการขั้นต่อไป ในการพัฒนาระบบราชการไทย เสนอต่อคณะรัฐมนตรี
ประกอบด้วย ทิศทางและแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ด้านการพัฒนาระบบราชการ
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย รวมทั้งความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาระบบราชการ และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547
ภาพรวมการดำเนินการขั้นต่อไปในการพัฒนาระบบราชการของ ก.พ.ร.
จากประเด็น ในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการไทยดังกล่าว สามารถนำมาจำแนก ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ก.พ.ร. ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนด เจ้าภาพ ผู้รับผิดชอบในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการไทย ตาม platform ทั้ง 3 ประเภท
ซึ่งสามารถสรุปประเด็นในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการไทยได้รวม 10 ประเด็น หลัก ๆ ดังนี้
ประเด็นที่ 1 การปรับโครงสร้างส่วนราชการ |
|
1.1 |
การพัฒนาการบริหารกลุ่มภารกิจ ( Cluster) |
1.2 |
การปรับเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างระบบราชการ : การโอนถ่ายภารกิจ บทบาท อำนาจหน้าที่ ทรัพยากรจากราชการส่วนกลางไปสู่ราชการส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
1.3 |
การกำหนดให้มี เจ้าภาพ รับผิดชอบในการดำเนินงานที่ยังไม่มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน |
1.4 |
ยกเลิกความเป็นนิติบุคคลของกรม คงเหลือเฉพาะกระทรวงเท่านั้นที่เป็นนิติบุคคล |
1.5 |
กำกับดูแล ตรวจสอบ และประเมินผลองค์กรอิสระ องค์การมหาชน กองทุน หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ และองค์กรหรือหน่วยงานในลักษณะเดียวกัน |
|
|
ประเด็นที่ 2 การพัฒนาระบบบริหารงานรองนายกรัฐมนตรี |
|
2.1 |
ศูนย์ประสานการบริหารราชการ |
2.2 |
สำนักผู้ตรวจราชการ และระบบผู้ตรวจราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี/ ผู้ตรวจ ราชการ
กระทรวง/กรม |
2.3 |
ทีมงานของรองนายกรัฐมนตรี |
|
|
ประเด็นที่ 3 ระบบบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ |
|
3.1 |
ระบบแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด |
3.2 |
การจัดตั้งและการบริหารงบประมาณของจังหวัด ( การแก้ไขกฎหมายงบประมาณ) |
3.3 |
การจัดทำยุทธศาสตร์จังหวัด/กลุ่มจังหวัด ที่สะท้อนความต้องการของประชาชน และ บูรณาการให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ของกระทรวง/กรม |
3.4 |
การปรับกลุ่มจังหวัด |
3.5 |
การจัดตั้งทีมเสนาธิการของผู้ว่าราชการจังหวัด |
3.6 |
การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระบบบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ |
|
|
ประเด็นที่ 4 ระบบมอบอำนาจ |
|
4.1 |
ระบบมอบอำนาจภายในส่วนราชการ |
4.2 |
ระบบมอบอำนาจและกระจายอำนาจจากราชการส่วนกลางสู่ราชการส่วนภูมิภาค |
|
|
ประเด็นที่ 5 การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมในการทำงาน |
|
5.1 |
การทำงานโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง |
5.2 |
การทำงานเป็นทีม ( Team work) |
5.3 |
การเสริมสร้างและพัฒนาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ |
5.4 |
การบริหารความรู้ ( Knowledge management) |
|
|
ประเด็นที่ 6 การพัฒนารูปแบบการบริการประชาชน |
|
6.1 |
การจัดหน่วยงานเคลื่อนที่ ( Mobile Unit) |
6.2 |
คาราวาน แก้จน |
|
|
ประเด็นที่ 7 ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ( e government) |
|
7.1 |
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงาน โดยเฉพาะการให้บริการประชาชน |
|
|
ประเด็นที่ 8 ระบบประเมินผล |
|
8.1 |
การวัดผลสำเร็จของงานโดยใช้ระบบ Balanced scorecard |
8.2 |
ระบบประเมินผลรายบุคคล ( individual scorecard) |
|
|
ประเด็นที่ 9 ระบบการบริหารงานบุคคล |
|
9.1 |
ระบบค่าตอบแทนและการสร้างแรงจูงใจ |
9.2 |
การฝึกอบรม/ การพัฒนาคุณภาพข้าราชการ |
9.3 |
การแต่งตั้งและการเลื่อนระดับตามหลักคุณธรรม (Merit System) |
9.4 |
การเกลี่ยข้าราชการข้ามหน่วยงาน |
9.5 |
การจัดให้มีระบบ Lateral entry |
9.6 |
การจัดทำแบบคำบรรยายลักษณะงาน ( Job Description) ในทุกตำแหน่ง |
9.7 |
การเกษียณก่อนกำหนด ( Early Retire) |
|
|
ประเด็นที่ 10 การป้องกันและปราบปรามทุจริตในวงราชการ |
|
10.1 |
การสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ |
10.2 |
การรณรงค์และส่งเสริมค่านิยม รักความซื่อสัตย์สุจริต |
10.3 |
การสนับสนุนภาคประชาชนให้มีส่วนร่วม |
10.4 |
การนำมาตรการการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้อย่างจริงจัง |
10.5 |
การพัฒนาระบบตรวจสอบภายในให้มีประสิทธิภาพ |
10.6 |
การนำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปใช้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
สำหรับการดำเนินการเพื่อผลักดันแนวทางการดำเนินการขั้นต่อไปในการพัฒนาระบบราชการไทยให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้แจ้งเวียนให้ส่วนราชการระดับกระทรวง กรมและจังหวัด ทราบ และจะได้จัดให้มีประชุมระหว่างหน่วยงานที่เป็น เจ้าภาพหลัก เพื่อหารือแนวทาง เป้าหมาย แผนการดำเนินการในรายละเอียดต่อไป