ทั้งนี้ "ผู้นำ" สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ได้แก่
1. Position Level ผู้นำโดยตำแหน่ง เป็นระดับต่ำ ที่สุด key word ของระดับนี้คือ rights โดยผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องเชื่อฟัง คล้อยตาม เพราะไม่มีทางเลือก หรืออาจสรุปได้ว่า เป็นการทำเพราะต้องทำ ไม่ได้เกิดจากความศรัทธา
2. Permission Level ผู้ใต้บังคับบัญชายินยอมให้เป็นผู้นำ เน ื่องจากเกิดความนิยมชมชอบ สามารถเข้ากันได้ดี และเกิดความต้องการที่จะปฏิบัติตาม key word ของระดับนี้คือ relationship
3. Production Level ผู้ใต้บังคับบัญชาทำตามเพราะผู้นำได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่ามีความสามารถ ทำงานประสบความสำเร็จ key word ของระดับนี้คือ momentum หมายถึง แรงขับเคลื่อนที่จะทำให้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น ถ้าผู้นำมี momentum ก็จะทำให้ลูกน้องมีความเชื่อมั่นว่า ผู้นำของเขาทำในสิ่งที่ถูกต้องเสมอ และจะมองว่าเป็นผู้นำในหัวใจ ถึงแม้สิ่งที่ทำอาจจะดูไม่ถูกต้องนัก แต่ก็ไม่รู้สึกว่าเป็นความผิดที่ยิ่งใหญ่ ปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถแก้ไขให้ลุล่วงไปได้
4. People Development Level สำหรับผู้นำในระดับนี้ ลูกน้องยินยอมที่จะเป็นผู้ตาม เพราะผู้นำได้พิสูจน์ให้พวกเขาเห็นจากการกระทำว่า ได้ส่งเสริมให้มีการพัฒนาและฝึกอบรมพวกเขาให้มีโอกาสเพิ่มพูนทักษะในด้านต่างๆ ทำให้เกิดความซื่อสัตย์ต่อองค์กร และจะซื่อสัตย์ต่อผู้นำด้วย เนื่องจากผู้นำได้ช่วยฝึกฝน อบรม และเพิ่มความมีคุณค่าให้พวกเขา
5. Personhood Level ผู้นำในระดับนี้นับว่าเป็นระดับสูงสุด คือ ลูกน้องยินยอมที่จะทำตาม เพราะรู้สึกว่าผู้นำได้ช่วยพวกเขามามากเป็นช่วงระยะเวลานาน จนทำให้ได้รับการยอมรับ และให้ความเคารพนับถือ ว่าเป็นผู้นำที่ทำงานประสบความสำเร็จ |