ฉบับที่ 10 ประจำเดือน ธันวาคม 2548

สวัสดีค่ะ e-newsletter ฉบับ ส่งท้ายปีเก่า  ต้อนรับปีใหม่
พบกับ     การบรรยายพิเศษ
ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี และการสัมมนา
"High Impaet Middle
Management"
เรื่องน่ารู้หลากหลายกลยุทธ
นำไปสู่ การพัฒนาองค์กรที่มี
ประสิทธิภาพ
ฉบับนี้ยังมี บัตรอวยพรปีใหม่
จาก เลขาธิการ ก.พ.ร.



หลากหลายกลยุทธ์นำไปสู่ ...

 “
การพัฒนาองค์กร”  ที่มีประสิทธิภาพ   


              ในปัจจุบันองค์กรที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นองค์กรชั้นนำของประเทศ ไม่ว่าจะเป็น บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน)   การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย(ปตท.)
  ธนาคารกสิกรไทย  กลุ่มบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  ได้นำรูปแบบการบริหารงาน ต่าง ๆ      มาใช้ในการพัฒนาองค์กร เพื่อให้กลายเป็นองค์กรที่มี ประสิทธิภาพ   สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ เรื่องน่ารู้ประจำฉบับจะขอนำบทความที่ได้กล่าวถึง รูปแบบการพัฒนาองค์กรของกลุ่มบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรชั้นนำของ ประเทศมาเล่าสู่กันฟัง มาดูกันว่าปัจจัยใดบ้าง    ที่ทำให้กลุ่มบริษัทชินคอร์ปอเรชั่นฯ สามารถพัฒนาองค์กรได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

 ในบทความนี้ได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่าในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาผู้บริหารระดับสูง หลายคนของ “กลุ่มชิน” ทยอย หันหลังให้กับชีวิตการทำงานที่อาณาจักรแห่งนี้ สวนทาง กับอัตราการเติบโตของ    “กลุ่มชิน” ที่รุดหน้าอย่างชัดเจนผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์สถานการณ์ นี้ี้ว่า อาจเกิดจากแรงกดดันภายในอย่างรุนแรงที่  “ผู้บริหารสูงสุด”  ต้องการขับเคลื่อนองค์กร ระดับ Conglomerate  ของประเทศ    ให้ประสบความสำเร็จเกินเป้าหมายจากรูปแบบการ ทำงาน ใน“กลุ่มชิน”ที่ต้องถูกเคี่ยวกรำ อย่างตลอดเวลาบางกระแส มองอีกมุมว่านี้ คือสไตล์การทำงานที่ถูกถ่ายทอดมาจาก “บุญคลี  ปลั่งศิริ” ในฐานะประธานกรรมการบริหาร  “ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น”(SHIN) ที่ผู้บริหารทุกระดับชั้น ในองค์กรต้องบรรลุทุกเป้าหมาย และต้องเดินอยู่ในกระบวนการพัฒนาองค์กร  แต่ “บุญคลี”ก็ยอมรับกับผลที่เกิดขึ้นจากการ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

  “ถ้าคุณคิดจะเป็นลีดเดอร์ที่ดี ก็ต้องพยายามเรียนรู้ในสิ่งที่คุณไม่รู้    แต่ถ้าจะเรียนรู้
ู้ในสิ่งที่คุณรู้อยู่แล้วให้ ลึกยิ่งขึ้นอันนั้นคุณกำลังจะเดินไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน
(Expertise)  ก็ไม่มีอะไรผิดเพียงแต่ถนนคนละทาง แต่การที่ฝึกเรียนรู้ ในสิ่งที่คุณไม่รู้ ผมถือเป็นเรื่องท้าทาย” 

         ความหมายคือต้องหัดทำอะไรในสิ่งที่เราไม่ชอบ เปิดโลกทัศน์ให้กว้างเพราะถ้าคิดแต่จะ
ทำงานในสิ่งที่ชอบนั้น
 


“คุณกำลังจะสื่อว่าสิ่งที่คุณชอบนั้นถูกทั้งหมด” 


       นอกจากนี้ ผู้บริหารองค์กรต้องมีความเป็นลีดเดอร์ชิพ พร้อม ๆ กับมีความเป็นครีเอทีฟเพราะถ้าลีดเดอร์ชิพ...ไร้ครีเอทีฟ  แล้วคุณจะเอาอะไรไปสร้างหรือฝึกปรือความสามารถให้กับลูกน้อง โดยเฉพาะเมื่อ “กลุ่มชิน” เป็นธุรกิจระดับ   Conglomerate  ขนาดใหญ่  “ซีอีโอ” แห่ง   “ชินคอร์ป"   จึงเชื่อว่าการขับเคลื่อน องค์กร ไปข้างหน้าพร้อมกันทั้งกลุ่มจำเป็นต้องมองที่ “เฮดควอเตอร์” (สำนักงานใหญ่)เป็นอันดับแรก

“บุญคลี”  อธิบายย้อนกลับไปตั้งแต่ที่เขาก้าวเข้ามาทำงานให้กับกลุ่มชินว่า ช่วงที่เข้ามาใหม่ ๆ (ประมาณปี 2536) ผมทำการสำรวจมุมมองของพนักงานที่มีต่อองค์กร    โดยเฉพาะในส่วน ของเฮดควอเตอร์  ผลสำรวจบอกว่า เราคือ “กระทรวงชินคอร์ป”  

          “แต่ถ้าหากผู้บริหารนั่งอยู่ข้างบน    แล้วมองภาพทุกอย่างเป็นสแตนดาร์ด.. คุณผิดแล้ว”

อย่างน้อยองค์กรจะไม่ได้รับสิ่งที่ดี  จากการที่ไม่สามารถแยกแยะ  “สิ่งที่ดี”  กับ  “สิ่งที่ไม่ดี” ออกจากกัน บุญคลี อธิบาย ว่า“เมื่อ 11 ปีก่อน ตอนที่ผมเริ่มเข้ามาทำงาน ทั้งกลุ่มชินเราจ่าย โบนัสเหมือนกันและทำให้องค์กรมีปัญหามากแต่สิ่งแรก ที่เราเปลี่ยนก็คือ “เพอร์ฟอร์แมนช์โบนัส” ที่ไม่เหมือนกันเพียงแต่เราจะต้องมีมาตรฐานที่ดีในความแตกต่าง ตรงนี้”
หลังจากนั้น “บุญคลี”   ยังเดินแผนพัฒนาองค์กรด้วยการปรับโครงสร้างภายในต่อไป  “เราจะ
เปรียบว่าโครงสร้าง องค์กร ถือเป็นฮาร์ดแวร์ทุกชิ้นส่วนต้องอยู่ในจุดที่เหมาะสมจึงเริ่มย้ายคน
และทุกคนก็ทำกันได้ดี” ขณะเดียวกันระหว่าง การปรับโครงสร้าง “บุญคลี”  ก็พยายาม “ไดร์ฟ”  องค์กรอีกทาง    เพื่อให้พนักงานทุกคนเข้าไปทำงานอยู่  “บิชิเนส ยูนิต”   ที่เหมาะสมแล้วจึง
เร่งเร้าประสิทธิภาพการแข่งขันสร้างยอดขายและสร้างการเติบโต    จากนั้นพนักงานทุกคนจะ
ถูกโยกย้ายด้วย "เพอร์ฟอร์แมนซ์ เบส” เป็นหลัก


“เพราะเรา  (กลุ่มชิน) ต้องการเป็นเพอร์ฟอร์แมนช์ ออร์แกไนเซชั่น”    อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ “บุญคลี”  กำลังมองหาพิมพ์เขียวตัวใหม่เพื่อใช้ในการพัฒนาองค์กรต่อไป     เพียงแต่เขาเริ่ม เข้าใจ แล้วว่าการจะปรับองค์กรต่อไปด้วยการปรับโครงสร้าง (ฮาร์ดแวร์)  ก็อาจกลับเข้าไปสู่
วังวนและที่
output  ที่ี่บริษัทได้ออกมาจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นเนื้อเป็นหนัง

                                

 
 “เราจึงเริ่มกลับมาแตะที่ตัวซอฟต์แวร์มากขึ้นทั้งในเรื่องของ“คัลเจอร์”และ“วิธีปฏิบัติ”
 “ที่ผ่านมาเราสัมผัสได้ว่าองค์กรของเราค่อนข้างจะแข็ง  เพราะผมได้ใส่ตัว Hard Stuff  เข้าไป มากจึงกลาย เป็นองค์กรในลักษณะว่า “ยูทำดีเราให้คุณไป แต่ถ้ายูทำได้ไม่ดี ยูก็เอาไปแค่นี้” นั่นคือ เราจะมองเห็น "ขาว" กับ "ดำ" อย่างชัดเจน
 
“คนจึงเป็นเหมือนเครื่องจักร เมื่อเป็นเครื่องจักร.. เราก็เริ่มไม่มีชีวิต”
บุญคลี ชี้แจงพร้อมอธิบายต่อไป ว่าการใส่เงินไปหลายพันล้านบาทเพื่อซื้อคอมพิวเตอร์  ระบบไอที  และซอฟต์แวร์   แม้จะช่วยกำหนดทิศทางการทำงานได้ดีแต่เมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะค้นพบว่า ... “คุณจะเลี้ยวไม่ออก” “บุญคลี” ยกตัวอย่างเคสว่า “ล่าสุดผมเกิดครีเอทโพรดักท์ใหม่ขึ้นมา... แล้วก็ส่งลงไปข้างล่างแต่กลับได้รับคำตอบจากทีมงานว่า  ยัังทำตอนนี้ไม่ได้้ถ้าจะทำได้้ต้องรอ
" ไตรมาส 1" ปีหน้า เนื่องจาก ระบบงานยังมีคิวงานอื่นอยู่


                               

   “เราก็เอารีพอร์ทมาอ่านดู ก็อืมมม ....อีกแค่ 3 เดือนเท่านั้นเอง มันก็โอเคนะไม่นาน”

      แต่ตรงนี้สำคัญ เพราะคนของเราอาจลืมคิดไปนิดนึง ว่าถ้าเขาสามารถทำในสิ่งที่ผมคิดได้
้ทันทีบริษัทก็จะมีรายได้
้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย ๆ อีกเดือนละ 100 ล้านบาท

เพราะถ้าทีมงานสามารถคิดได้ หรือรู้สึกอย่างนั้น   “Priority”  (การจัดลำดับความสำคัญ) ของงานที่ควรทำงาน ชิ้นนี้ก็อาจจะทำได้เสร็จเป็นวันพรุ่งนี้ก็ได้  “ตรงนี้มันก็คือการขาดจิต วิญญาณ”      “บุญคลี” ยังเปิดเผยเทคนิคส่วนตัว ของการเป็นผู้บริหารระดับสูงว่า เมื่อผมต้องบริหารองค์กร     การที่เราจะพูดอะไรออกไปก็จะต้องพูดให้มันดูรุนแรงและต้อง ให้เวอร์เข้าไว้ ถ้าทำได้อย่างนั้น แล้วมันจะเกิดแรงบันดาลใจ 

“บางคนสงสัยว่าทำไมผมต้องทำอย่างนั้น.. เพราะองค์กร (กลุ่มชิน) ของเรามันใหญ่   แม้เราจะสร้างแรงบันดาลอย่างเต็มเหนี่ยว แต่เมื่อไปถึงตัวผู้ปฏิบัติมันจะลดเหลือแค ่ 50-60 % เท่านั้น” หากเช็คอีกมุม ถ้าเราเป็นหัวหน้าองค์กร แล้วสร้างแรงบันดาลใจแบบ  “หน่อมแน้ม  ๆ”    พูดแล้วเสียงแทบไม่ออก จากปากความคิดหรือสิ่งที่พูดออกไปก็จะกระจาย ไม่ทั่ว ทั้งองค์กร   เพราะฉะนั้น ผู้บริหารจึงต้องมี   “แอ็คชั่น”  ต้องให้แรงละต้องซีเรียสการทำงาน ของผู้บริหาร เราต้องซีเรียส อย่าเบา    ถ้าเราไม่มีสิ่งนี้   ก็คือการขาดจิตวิญญาณในการทำงาน
เพราะหลายองค์กรในวันนี้เลือกวัดผลการทำงานจาก “บาลานช์ สกอร์การ์ด”

พนักงานก็จะคิดไปแนวเดียวว่าเขาเพียงทำให้ถูกต้องตามดัชนีชี้วัด..ก็แค่ทำงานไป อะไรที่ ี่เป็นสิ่งใหม่ ที่ออกนอกงานตัวเอง ก็จะพาลถูกตัดทิ้งไปก่อน ..   อันนี้คือ ข้อเสียด้าน หนึ่งของระบบบาลานช์สกอร์การ์ด” แต่ “บุญคลี” มองว่า“มีวิธีแก้..ต้องทำให้พนักงานเกิด รีเลชั่นชิพหรือมีความรู้สึกที่ดีกับเรา"

   อันนั้น คือเหตุที่เราเริ่มมาทำเรื่อง  “คัลเจอร์”  (การปลูกฝัง) อย่างพิถีพิถันมากขึ้นและถือเป็น
“จุดเปลี่ยน” ครั้งสำคัญของ “บุญคลี” ที่เริ่มปรับระดับความก้าวร้าวในการบริหารงานลงมา “ผมครีเอทให้ปีนี้เป็น “กู๊ดเยียร์” สำหรับกลุ่มชิน..เราจะฉลองความสำเร็จในงานปีใหม่ช่วงเดือน มกราคม 2549 ฉลองทั้งกลุ่มด้วยกัน เราจะจัดพร้อมกัน” เพราะถึงเวลาที่เราจะต้องเปิดโอกาส ให้พนักงานได้ “รีแลกช์” มากขึ้น “ซีอีโอ ชินคอร์ป”อธิบายวิธการปลูกฝัง ต่อไปว่า ผู้บริหารของ กลุ่มจะต้องเห็นความสำคัญของพนักงานทุก ๆ ระดับ อย่าให้เขามองว่าเราทำไปเพื่อ ต้องการ สร้างให้เขามี “ลอยัลดี้” กับองค์กร ...เพราะนี่คือ เรื่องของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง “พนักงาน” กับ “ผู้บริหาร” “ตอนนี้ผมใส่นโยบายลงไปว่าหัวหน้างานทุกคนจะต้องมีเวลา 20 %
ของงานทั้งหมดในการพูดคุยกับลูกต้องในเรื่องราวต่าง ๆ นานา .. ที่มิใช่เนื้องานและสิ่งที่ผม สัมผัสได้ตอนนี้ก็คือ พนักงานของเราเริ่มมีความสุขกับการทำงาน   และรีแลกช์์มากขึ้น”




 อย่างไรก็ตาม “บุญคลี”  ยอมรับว่า ตัวเขาเองรู้อยู่ลึกๆ ว่าตัวงานของบริษัทอาจจะ 
“Success” ลดลงไปมายความว่า ผลงานในระยะสั้นของเขาจะตกลงไป

 “แต่ผมจะยอมปล่อย และหวังว่าในระยะยาวแล้ว เราจะได้ความคุ้มค่าที่มากกว่า”
เขาอธิบายต่อไปว่า “แน่นอนที่เราอาจจะหย่อน ๆ งานลงไป แต่ก็พยายามกลั้นใจ อยู่บ้างเพราะกลุ่มชินเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จึงยังพยายามดัน ๆ ไว้บ้าง แต่เมื่อทุกคนมีความสุขมากขึ้นและทุกคนมีความรู้สึกที่ดีกับผู้บริหารยิ่งขึ้นก็ยังพยายามทำต่อ ให้จบ แม้จะรู้ว่าบางครั้งมันไม่ได้เรื่องเลยก็ต้องทำ

                                                                                          ข้อมูลจาก : น.ส.พ. กรุงเทพธุรกิจรายสัปดาห์
                                                                                          ปีที่ 2 ฉบับที่ 71 วันที่ 21 - 27 ตุลาคม 2548