มติคณะรัฐมนตรี
ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ก.พ.ร.
|
คณะรัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าในการดำเนินงานจัดทำแนวทาง
การรายงานการดำเนินงานของรัฐต่อสาธารณะรายปีและแผนการดำเนินงาน
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้ |
1. แนวทางการจัดทำรายงานประจำปีของหน่วยงาน (Annual Report)
|
|
1. วัตถุประสงค์ของการจัดทำรายงาน
(1) เพื่อรายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของแผนปฏิบัติราชการประจำปี ซึ่งอยู่ภายใต้้แผนการบริหาร
ราชการแผ่นดินและผลสำเร็จตามคำรับรองของการปฏิบัติราชการประจำปี รวมทั้งรายงานด้านการเงินของหน่วยงานให้สาธารณะ
ได้รับทราบ
(2) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในบทบาท ภารกิจ และการดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนา ประเทศของส่วนราชการ อันจะนำไปสู่การมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาประเทศหรือการนำไปใช้้ประโยชน์ ของสาธารณชน
(3) เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการจัดทำรายงานประจำปีของประเทศ (National Annual Report) ในระยะต่อไป
|
2. หน่วยงานในการจัดทำรายงาน เป็นหน่วยงานระดับกรม และกระทรวง อย่างไรก็ตาม กรอบรูป แบบและแนวทางในการจัดทำรายงาน สามารถประยุกต์ใช้ได้ทุกระดับ ทั้งในระดับกรม กลุ่มภารกิจ กระทรวง และหน่วยงานอิสระภายใต้การกำกับดูแลของส่วนราชการ รวมทั้งหน่วยงานระดับจังหวัดและท้องถิ่น
|
3. องค์ประกอบของรายงาน แบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก โดย 3 ส่วนแรกเป็นภาคบังคับ ที่หน่วยงาน จะต้องรายงาน และส่วนที่ 4 เป็นเรื่องเพิ่มเติมที่หน่วยงานอาจเลือกจัดทำตามที่เห็นสมควร ดังนี้
ส่วนที่ 1 : ข้อมูลภาพรวมของหน่วยงาน เป็นการรายงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีีของ หน่วยงาน ประกอบด้วย (1) แผนยุทธศาสตร์หรือแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน (2) ข้อมูลพื้นฐานของหน่วยงาน
ส่วนที่ 2 : ผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน เป็นการรายงานผลการดำเนินงานใน 2 ส่วน คือ (1) ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฎิบัติราชการ (2) ผลการปฏิบัติราชการที่สำคัญภายใต้แผน ปฏิบัติ ราชการประจำปี
ส่วนที่ 3 : รายงานการเงิน ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ (1) งบการเงิน (2) ต้นทุนผลผลิตและ กิจกรรม (3) การวิเคราะห์งบการเงิน
ส่วนที่ 4 : เรื่องอื่น ๆ เป็นการรายงานเพิ่มเติมในเรื่องที่หน่วยงานพิจารณาแล้วเห็นสมควรที่จะ รายงานให้สาธารณะได้รับทราบ อาทิ ภารกิจพิเศษที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี หรือภารกิจที่ได้ดำเนินการ เพื่อให้บรรลุความคาดหวัง และความพึงพอใจของสาธารณชน เป็นต้น
|
2. แนวทางการจัดทำรายงานประจำปีของประเทศ (Naitonal Annual Report)
1. วัตถุประสงค์การรายงาน
(1) เพื่อรายงานผลการดำเนินงานประจำปีของประเทศต่อสาธารณะ ตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี ภายใต้แผนการบริหารราชการแผ่นดิน (พ.ศ.2548-2551)
(2) เพื่อรายงานการเงินของประเทศต่อสาธารณะรายปี
|
2. องค์ประกอบของรายงาน ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก โดย 3 ส่วนแรกเป็นภาคบังคับที่หน่วยงาน จะต้องรายงาน และส่วนที่ 4 เป็นเรื่องเพิ่มเติมที่หน่วยงานอาจเลือกจัดทำ ตามที่เห็นสมควร ดังนี้
ส่วนที่ 1 : ภาพรวมนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ เป็นการรายงานสรุปให้เห็นถึง ภาพรวมนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ภายใต้แผนการบริหารราชการแผ่นดิน (พ.ศ.2548-2551) ซึ่ง ทุกส่วนราชการได้ใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนการปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี
ส่วนที่ 2 : ภาพรวมผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน ประกอบด้วย (1) ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติ ราชการตามคำรับรองการปฎิบัติราชการ (2) ผลการปฏิบัติราชการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี
ส่วนที่ 3 : รายงานการเงิน ประกอบด้วย (1) รายงานแสดงฐานะทางการเงินของแต่ละกระทรวง (2) รายงานต้นทุนผลผลิตและกิจกรรมของแต่ละกระทรวง (3) รายงานการวิเคราะห์ทางการเงิน
ส่วนที่ 4 : เรื่องอื่น ๆ นำเสนอผลการดำเนินงานที่สำคัญในเรื่องอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ได้ รายงานไปแล้ว โดยประมวลสังเคราะห์จากผลการดำเนินงานในเรื่องอื่น ๆ ที่กระทรวงได้รายงานไว้ในรายงานประจำปีของกระทรวง
|
3. การประมวลและสังเคราะห์ผล เพื่อนำไปสู่รายงานประจำปีของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันดำเนินการ ดังนี้
(1) กระทรวง ประมวลและสังเคราะห์ผลรายงานประจำปีของกรมเป็นรายงานประจำปีีของ กระทรวง
(2) สำนักงาน ก.พ.ร. ประมวลสังเคราะห์ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติ ราชการของหน่วยงานระดับกรม ให้เป็นผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน ระดับกระทรวง ในส่วนที่ 2 (1)
(3) สศช. ประมวลและสังเคราะห์ผลรายงานประจำปีของกระทรวง เป็นรายงานประจำปีของ ประเทศ ในส่วนที่ 1 ส่วนที่ 2 (2) และส่วนที่ 4
(4) กรมบัญชีกลาง ประมวลและสังเคราะห์ผลรายงานของกระทรวง เป็นรายงาน ประจำปีของประเทศในส่วนที่ 3
|
3. แผนการดำเนินงาน มีดังนี้
1. กรอบระยะเวลาการเสนอรายงานของทุกปี ให้หน่วยงานเสนอรายงานประจำปีต่อคณะรัฐมนตรีและเผยแพร่ต่อสาธารณะดังนี้
(1) กุมภาพันธ์ : หน่วยงานระดับกรมจัดทำรายงานประจำปีส่งกระทรวงและเผยแพร่ต่อ สาธารณะ
(2) มีนาคม : กระทรวงบูรณาการรายงานของกรมให้เป็นระดับกระทรวง โดยประสานกับ สำนักงาน ก.พ.ร. ในการประมวลสังเคราะห์ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของ หน่วยงาน ระดับกรม ให้เป็นผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของหน่วยงานในระดับ กระทรวง เพื่อให้ปรากฏ ในส่วนที่ 2 ของรายงานประจำปีของกระทรวง จากนั้น กระทรวงเสนอรายงานประจำปี ของกระทรวงต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อทราบ พร้อมทั้งเสนอ สศช. และกรมบัญชีกลางเพื่อประมวลและสังเคราะห์ผล
เป็นรายงานประจำปีของประเทศ
(3) เมษายน : สศช. และกรมบัญชีกลาง ร่วมกันประมวลสังเคราะห์ผลเพื่อจัดทำรายงาน ประจำปีีของประเทศ และนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
|
2. เป้าหมายการดำเนินงาน สศช. จะประสานหน่วยงานภาครัฐดำเนินงาน ดังนี้
(1) ปี 2549 ดำเนินการในหน่วยงานนำร่อง โดยควรเป็นหน่วยงานภาครัฐระดับกรมที่มี ความพร้อมในการจัดทำบัญชีต้นทุนตามหลักเกณฑ์ของกรมบัญชีกลาง และหน่วยงานกลาง ได้แก่ สศช. สงป. สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. และกรมบัญชีกลาง ดำเนินการจัดทำรายงานประจำปี (ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2548) ตาม รูปแบบและแนวทางที่กำหนด พร้อมทั้งเผยแพร่ต่อสาธารณะ และส่งรายงานให้ สศช. กรมบัญชีกลาง และ สำนักงาน ก.พ.ร. หน่วยงานละ 1 ชุด
|
(2) ปี 2550 ปรับปรุงการจัดทำรายงาน หน่วยงานภาครัฐระดับกรม และหน่วยงานกลางที่ เป็นหน่วยงานนำร่อง ปรับปรุงการจัดทำรายงานประจำปีให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน หน่วยงานระดับ กรม/กระทรวงที่เหลือทั้งหมด ดำเนินการจัดทำรายงานประจำปี พร้อมทั้งเผยแพร่ต่อสาธารณะ และส่งรายงาน ให้ สศช. กรมบัญชีกลาง และ สำนักงาน ก.พ.ร. หน่วยงานละ 1 ชุด
|
(3) ปี 2551 จัดทำรายงานประจำปีของประเทศ หน่วยงานระดับกรมทั่วประเทศ และ หน่วยงานกลาง จัดทำรายงานประจำปี โดยหน่วยงานระดับกรมส่งให้กระทรวง เพื่อประมวลเป็นรายงาน ประจำปีี ของกระทรวงและส่งให้ สศช. กรมบัญชีกลางและ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อประมวล/สังเคราะห์ผล จัดทำเป็น รายงานประจำปีของประเทศ (National Annual Report) เพื่อรายงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และเผยแพร่
ต่อสาธารณะต่อไป
|
|