แนวทางความร่วมมือระหว่าง
สำนักงาน ก.พ.ร. และ
กลุ่มพัฒนาระบบบริหารของส่วนราชการ |
สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดการประชุมสัมมนาเรื่อง แนวทางความร่วมมือในการพัฒนา ระบบราชการ ระหว่างสำนักงาน ก.พ.ร. และกลุ่มพัฒนาระบบบริหารของส่วนราชการ
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2548 ณ โรงแรมเรดิสัน กรุงเทพฯ ซึ่งมีหัวหน้าและเจ้าหน้าที่ี่กลุ่มพัฒนาระบบ บริหาร หรือ ก.พ.ร.น้อยกระทรวง/กรม เข้าร่วม ประชุมกว่า 500 คน
|
|
การประชุมดังกล่าว เริ่มต้นขึ้นโดย ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าวต้อนรับผู้ ู้เข้าร่วมประชุม และบรรยายเรื่อง ก้าวต่อไปของการพัฒนาระบบราชการ โดย เลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าวถึง วิสัยทัศน์ของนายกรัฐมนตรี เรื่อง การปฏิรูประบบราชการ ว่ามี 9 ประการ คือ
|
1.ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง (citizen-centered)และยึดประโยชน์สุขของ ประชาชนเป็นหลัก
2. คิดเชิงยุทธศาสตร์ มุ่งไปข้างหน้า (future-oriented) และเปิดมุมมองให้กว้าง (outside-in approach) |
|
|
3. บริหารงานบนฐานขององค์ความรู้และข้อมูลสารสนเทศ
4. ทำงานเชิงรุก กล้าคิด กล้าทำ ท้าทาย ไม่ติดยึดกับรูปแบบเดิม เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ที่ดีขึ้น
5. ยึดหลักบูรณาการ ไร้พรมแดนของหน่วยงาน (boundary less)
6. มีเป้าหมายในการทำงาน สามารถวัดผลสำเร็จได้อย่างชัดเจน
7. เน้นความรวดเร็ว เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ (economy of speed)
8. เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ปรับตัวให้ทันโลกทันสมัย และ
9. แสวงหาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ |
สำหรับทิศทางการพัฒนาระบบราชการในปี 2549 ที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดไว้ คือ ทำสิ่งที่ได้ริเริ่มไว้ที่ยังไม่เสร็จสิ้นต่อไป ให้ครบถ้วนสมบูรณ์มุ่งสู่การผลักดันให้ส่วนราชการ สามารถ นำยุทธศาสตร์ ไปปฏิบัติให้บังเกิดผล (making strategy works) เน้นลงมาที่ตัวผู้บริหารระดับกลาง High Impact Middle Management (H.I.M.M.) และรักษาเครือข่ายการพัฒนาระบบราชการ
|
|
|
1. ผลักดันเรื่องการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) ได้แก่
- การบังคับใ้ช้บทบัญญัติในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
- การดำเนินการตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 (การพัฒนากฎหมายและส่งเสริมการบริหาร
กิจการบ้านเมืองที่ดี) ในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548-2551
|
|
2. การบริหารการเปลี่ยนแปลง (change management) เพื่อขับเคลื่อนและทำให้ยุทธศาสตร์ประสบความสำเร็จ (making strategy works) ได้แก่
- ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for change) การปรับเปลี่ยนโครงสร้าง กระบวนงาน เทคโนโลยี คนและวัฒนธรรม ให้รองรับกับยุทธศาสตร์
- แบบแสดงเจตนารมณ์ของผู้บริหารระีดับหัวหน้าส่วนราชการและจังหวัด (Statement of Intention) |
3. การเพิ่มขีดสมรรถนะของคนและยกระดับคุณภาพมาตรฐานขององค์การ ได้แก่
- ผู้บริหารระดับกลาง
- H.I.M.M.
- เจ้าหน้าที่ทั่วไป - mini MPM (e-learning) self-learning package ชุด Making strategy works และการสร้างวิทยากรตัวคูณ
- เกณฑ์รางวัลคุณภาพมาตรฐานการบริหารงานภาครัฐ Public Sector Management Quality Award (PMQA) |
4. การทำงานเป็นเครือข่ายร่วมกัน ระหว่างสำนักงานก.พ.ร. กับกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ในด้านการ
ปรับโครงสร้างและภารกิจ Certified Internal Management Consultancy |
จากนั้นเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสำนักงาน ก.พ.ร. กับกลุ่มพัฒนาระบบ บริหาร ของกระทรวง/กรม โดย นายอนุชิต ฮุนสวัสดิกุล กลุ่มโครงการ พิเศษ 2 ภารกิจการบริหาร
การเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม รับหน้าที่ดำเนินการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ใน 2 ประเด็น คือ
|
1. แนวทางการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาระบบราชการ ระหว่างสำนักงาน ก.พ.ร. กับกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (ก.พ.ร.น้อย) โดย รองเลขาธิการ ก.พ.ร. พรพิมล รัตนพิทักษ์ กล่าวถึงภารกิจของกลุ่มพัฒนาระบบบริหารกระทรวง/กรม คือ พัฒนาการบริหารของส่วนราชการให้ เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า โดยนำวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี และนวัตกรรม ทางเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบราชการ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน มีบทบาท สำคัญในการวางแผนการบริหารการเปลี่ยนแปลง ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาการบริหารงาน ประสานงาน/ผลักดันให้เกิดการ เปลี่ยนแปลง ตลอดจนกำกับ ติดตามและประเมินผลการพัฒนา ระบบราชการ ของส่วนราชการ ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมากลุ่มพัฒนาระบบบริหารกระทรวง/กรม ประสบปัญหาในการปฏิบัติงาน ใน 3 ด้าน คือ
|
- ปัญหาด้านเนื้องาน ได้แก่ ความชัดเจนของบทบาท หน้าที่ ความสัมพันธ์/ความขัดแย้ง
กับ หน่วยงานอื่น (กองการเจ้าหน้าที่ /หน่วยแผนของส่วนราชการ) รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่าง ก.พ.ร. กระทรวง กับ ก.พ.ร.กรม เป็นต้น
- ปัญหาด้านทรัพยากร ได้แก่ การสนับสนุนจาก CEO สัดส่วนของงานกับอัตรากำลัง ความรู้ความสามารถ (Competency) และความก้าวหน้า เป็นต้น
- ปัญหาจากสำนักงาน ก.พ.ร. ได้แก่ มอบภาระงานที่มาก และเร่งด่วน ขาดศูนย์กลางการติดต่อกรณีงานต่างภารกิจ งานซ้ำซ้อนกับหน่วยงานกลางอื่น (อาทิ การประเมินผล) และขาดการสนับสนุนความรู้และข่าวสารที่จำเป็น เป็นต้น |
จากปัญหาดังกล่าว สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดทำร่างแนวทางการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาระบบ
ราชการ มีกิจกรรมหลัก 3 ประเด็น คือ
(1) การจัดโครงสร้างหน้าที่ ประกอบด้วย โครงสร้างมีองค์กรรองรับ CHANGE AGENT กลไกหลักของการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการในส่วนราชการ การรายงานขึ้นตรงต่อหัวหน้า ส่วนราชการ สร้างความก้าวหน้าให้กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร และบทบาท ก.พ.ร.กระทรวงเป็นศูนย์กลาง (hub) ระหว่าง ก.พ.ร.กรมในสังกัด
(2) การพัฒนาขีดสมรรถนะ (CAPABILITY DEVELOPMENT) โดยจัดให้มี การ อบรมหลักสูตร Mini MPM และหลักสูตรอื่น ๆ การร่วมสัมมนาวิชาการ Internship ในสำนักงาน ก.พ.ร. การ Assess ข้อมูลของสำนักงาน ก.พ.ร. และการจัดทำเอกสารวิชาการ/คู่มือการทำงาน
(3) สร้างกลไกสนับสนุน โดยจัดให้มี การประชุมแลกเปลี่ยนความเห็นทุก 3 เดือน จัด ทีมงาน back office ของสำนักงาน ก.พ.ร. สำหรับกลุ่ม ก.พ.ร.กระทรวง/กรม ในการติดต่อสำนักงาน ก.พ.ร. ให้บริการตอบคำถาม/ข้อมูล/วิชาการ จัดทำ e-mail/web board พิเศษสำหรับเครือข่าย ก.พ.ร. และจัดทำเอกสารข่าวรายเดือน
|
|
2. การจัดโครงสร้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาระบบบริหาร โดย ผอ.ทัศนีย์ ดุสิตสุทธิรัตน์ ผู้อำนวยการภารกิจการพัฒนาโครงสร้างระบบ ราชการ กล่าวถึงแนวทางการจัดโครงสร้างและระบบงาน ภารกิจตรวจสอบประเมินผลและพัฒนา ว่า กระทรวงใดที่มีความพร้อม อาจเสนอ ก.พ.ร. เพื่อปรับปรุงกลไกการควบคุมภายในกระทรวง โดยรวมงานผู้ตรวจสอบภายใน ผู้ตรวจราชการ และกลุ่มพัฒนาระบบบริหารของกระทรวงเข้าไว้ด้วยกัน ภายใต้โครงสร้างใหม่ คือ ภารกิจตรวจสอบประเมินผลและพัฒนาเพื่อ
บูรณาการการทำงาน ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันในระดับกระทรวง ภารกิจดังกล่าวมีบทบาท หน้าที่ในการตรวจสอบ (Audit) การตรวจราชการ ( Inspection ) และการให้คำปรึกษาแนะนำ (Consultancy)
การดำเนินงานตามภารกิจดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งไปสู่การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และการบังคับบัญชาและรายงานของภารกิจดังกล่าว ให้รายงานขึ้นตรงต่อปลัดกระทรวง และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวง ควบคู่กันไป
|
สำหรับข้อเสนอการจัดโครงสร้างของภารกิจการตรวจสอบประเมินผลและพัฒนา มีหลักการ ดังนี้
|
1.เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ส่วนราชการ โดยเฉพาะการส่งเสริมกระตุ้นให้ส่วนราชการมีระบบ การกำกับดูแลตนเองที่ดี |
2.บูีรณาการการทำงานที่เกี่ยวกับงานตรวจสอบภาคราชการและการให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการ
ให้เชื่อมโยงกันในระดับกระทรวงเพื่อทำให้งานตรวจสอบและประเมินผล และการพัฒนาการบริหารจัดการ ภาคราชการมีความเข้มแข็งและสอดคล้องกันในทุกระดับ |
3.จัดโครงสร้างภารกิจให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัว และเหมาะสมกับสภาพและลักษณะงาน
ของกระทรวงซึ่งมีความแตกต่างกัน |
4. เน้นการทำงานเป็นทีม และไม่เป็นการเพิ่มสายการบังคับบัญชา |
5. สร้างทางก้าวหน้าให้กับผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบ ประเมินผลและพัฒนาดังกล่าว |
ระดับกระทรวง ภารกิจการตรวจสอบ ประเมินผลและพัฒนา จะอยู่ภายใต้้การกำกับดูแลของปลัด กระทรวงและ คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผล ประจำกระทรวง เพื่อกำกับดูแลการทำงาน ของกลุ่ม ผู้ตรวจราชการกระทรวง กลุ่มผู้ตรวจสอบภายใน และกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร โดยแต่งตั้ง หัวหน้าผู้ตรวจ ราชการกระทรวงเป็นหัวหน้าภารกิจฯ มีการจัดทำแผนปฏิบัติงานของแต่ละกลุ่มเพื่อ เชื่อม โยงการทำงานที่ ชัดเจนและไม่ซ้ำซ้อน เน้นการปฏิบัติงานเป็นทีมโดยมีสำนักการตรวจและพัฒนา
เป็นหน่วยสนับสนุนการทำงานของทั้ง 3 กลุ่ม การปฏิบัติงานของแต่ละกลุ่ม จะเป็นอิสระตามระเบียบ เฉพาะที่กำหนดไว้ และตามความเชี่ยวชาญ หรือความชำนาญเฉพาะด้าน และสามารถรายงานตรง ต่อปลัดกระทรวงได้ รวมทั้งโอกาสความก้าวหน้าของผู้ดำรงตำแหน่ง ซึ่งสามารถสับเปลี่ยนหมุนเวียน ข้ามกลุ่มได้ ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร.จะเสนอ ก.พ. เพื่อปรับปรุงมาตรฐานกำหนดตำแหน่งต่อไป
|
ระดับกรม สำนักงานตรวจและพัฒนา ขึ้นตรงกับอธิบดี กำกับดูแลงานกลุ่มตรวจราชการ กลุ่มตรวจ สอบภายใน กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร และกลุ่มอำนวยการ โดยการแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักการตรวจ และพัฒนา ควรแต่งตั้งจากผู้ที่ปฏิบัติงานด้านการตรวจ ราชการ การตรวจสอบภายในหรือทางด้านการ พัฒนาระบบบริหาร มีการจัดทำแผนปฏิบัติงานของแต่ละกลุ่ม ในสำนัก เพื่อเชื่อมโยงการทำงาน ที่ชัดเจน และไม่ซ้ำซ้อน เน้นการปฏิบัติงานเป็นทีม และการปฏิบัติ งานของ แต่ละกลุ่ม จะเป็นอิสระตามระเบียบเฉพาะที่กำหนดไว้ และตามความเชี่ยวชาญ หรือความชำนาญเฉพาะด้าน และสามารถรายงาน
ตรงต่ออธิบดีได้
|
|
ทั้งนี้ ได้มีการเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับทั้ง 2 ประเด็น โดยผู้เข้าร่วมประชุมจากหลาย หน่วยงาน เช่น กรมทางหลวงชนบท กรมการพัฒนาชุมชน กรมพลังงานทดแทน กรมป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย กระทรวงวัฒนธรรม กรมควบคุมมลพิษ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงาน ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรมการขนส่งทางอากาศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักข่าวกรอง แห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมสุขภาพจิต กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและ พันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำนักงาน ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยสรุปประเด็นความคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะ ได้ดังนี้
|
1. อัตรากำลังน้อย ไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีความชัดเจนในเรื่อง อัตรากำลัง และควรมี ก.พ.ร. ประจำจังหวัด
2. การทำงานที่รีบเร่ง กะทันหัน ไม่มีเวลาเตรียมตัว รวมถึงกระบวนการทำงานต้องยืดหยุ่น
3. งานเอกสารมากเกินไป (paper work)
4. ปัญหาเรื่องการประสานงานกับสำนักงาน ก.พ.ร.
5. ความชัดเจนในการเป็นศูนย์กลาง(Hub)ของสำนักงาน ก.พ.ร. และแนวทางการทำงาน
6. การจัดฝึกอบรม ให้ความรู้ด้านข้อมูลข่าวสารการพัฒนาระบบราชการต้องทั่วถึง
7. การจัดทำตัวชี้วัดของบางหน่วยงานมีความยากลำบาก เนื่องจากลักษณะงานแตกต่างกัน
8. ความก้าวหน้าของเจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร |
ทั้งนี้ เลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าวว่า สำนักงาน ก.พ.ร. จะนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ได้รับในครั้งนี้ไปเป็นแนวทางในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพต่อไป
|
ในช่วงบ่ายเป็นการรายงานผลการลดขั้นตอนและระยะ เวลาการปฏิบัติราชการ และการพิจารณาให้รางวัลคุณภาพ การให้บริการประชาชน ประจำปี 2548 โดย ผชช.สมบัติ อิศรานุรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนา ระบบราชการ และ ดร.วิพุธ อ่องสกุล ที่ปรึกษาจากสถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นวิทยากร และปิดท้ายด้วย
การชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ตาม คำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2549 โดยที่ปรึกษาด้านการประเมินผล จาก บริษัทไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (ทริส) |
|
|