การจัดการความรู้
(Knowledge Management, KM)
|
การจัดการความรู้ หรือ KM ที่พวกเรารู้จักกัน จริง ๆ แล้วก็คือ เครื่องมือเพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมาย อย่างน้อย 3 ประการได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุุเป้าหมาย
การพัฒนาองค์กรเพื่อไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งทั้ง 3 ประการข้างต้นจะสำเร็จได้หรือไม่นั้นต้องเกิดจากการ ริเริ่มที่ดี
|
แรงจูงใจในการริเริ่มการจัดการความรู้ |
|
แรงจูงใจในการริเริ่มการจัดการความรู้นั้น ประกอบด้วย 2 ประเภท คือ
แรงจูงใจแท้ คือ แรงจูงใจที่มีเป้าหมายที่งาน คน และองค์กร เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในระดับที่เป็น หัวใจสู่ความสำเร็จ
แรงจูงใจเทียม คือ แรงจูงใจที่เป็นต้นเหตุนำไปสู่การจัดการความรู้แบบเทียม (การเอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย) และนำไปสู่ความล้มเหลวในที่สุด เช่น การทำเพราะถูกบังคับ ทำเพราะต้องการผลงาน เป็นต้น
|
ประเภทของความรู้กับการจัดการรู้ |
|
ความรู้อาจแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) คือ ความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือ วิชาการ อยู่ในตำรา การจัดการจะเน้นการเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบและตีความได้ เมื่อนำไปใช้จะเกิดความรู้ใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นใช้อ้างอิงต่อไป
ความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสม มายาวนาน เป็นภูมิปัญญา การจัดการความรู้แบบนี้ จะเน้นที่การจััดเวทีีเพื่อให้มีีการแบ่งปันความรุ้ ู้ที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน อันนำไปสู่ความรู้ใหม่ที่จะนำไปใช้งานต่อไป
ซึ่งในสภาพความเป็นจริง ความรู้ทั้ง 2 ประเภทเหล่านี้ มีการสับเปลี่ยนสภาพกันตลอดเวลา การจัดการความรู้ จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพความรู้เช่นกัน
|
"โมเดลปลาทู" เป็นโมเดลที่เปรียบการจัดการความรู้เป็น 3 ส่วนคือ
หัวปลา หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางการจัดการความรู้ โดยจะต้องเป็นส่วนของผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด
ตัวปลา หมายถึง ส่วนของการแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งจะต้องกระตุ้นให้ผู้ดำเนินกิจกรรม KM มีการแลกเปลี่ยนความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ และอำนวยให้เกิดการเรียนรู้แบบเป็นทีมเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนความรู้และเกิดนวัตกรรมในที่สุด
หางปลา หมายถึง ส่วนของคลังความรู้ ที่ได้จากการเก็บสะสม เกร็ดความรู้ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของหางปลานี้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้เด่นชัด นำไปใช้และยกระดับต่อไป
|
|
บุุคคลที่ดำเนินการจัดการความรู้ |
|
บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการความรู้นั้น มีดังนี้
|
1. ผู้บริหารสูงสุด (CEO) องค์กรใดที่ผู้บริหารสูงสุดเห็นคุณค่า และความสำคัญของการ
จัดการความรู้ องค์กรนั้นจะประสบความสำเร็จในการจัดการความรู้อย่างแน่นอน
|
2. คุณเอื้อ (Chief Knowledge Officer, CKO) การริเริ่มการเรียนรู้ที่แท้จริงจะอยู่ที่คุณเอื้อ โดยคุณเอื้อต้องมีหน้าที่นำหัวปลาไปเสนอให้กับผูึ้บริหารสูงสุด จนยอมรับหลักการ หลังจากนั้นก็ดำเนินการร่วมกับบุคคลอื่น คอยเชื่อมโยงหัวปลา เข้ากับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ขององค์กร ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ จัดสรรทรัพยากรที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ พร้อมทั้งคอยเชื่อมโยงการจัดการความรู้เข้ากับกิจกรรมสร้างสรรค์อื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ
|
3. คุณอำนวย (Knowkedge Facilitator, KF) เป็นผู้คอยอำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้ เป็นคนจุดประกายความคิดและเป็นนักเชื่อมโยงระหว่างผู้ปฏิบัติ (คุณกิจ) กับผู้บริหาร (คุณเอื้อ), ผู้ปฏิบัติต่างกลุ่มในองค์กร และเชื่อมโยงการจัดความรู้ภายในกับภายนอกองค์กรอีกด้วย โดยอาจจัดออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น จัดตลาดนัดความรู้, จัดการดูงาน, จัดพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
|
4. คุณกิจ (Knowledge Practitioner, KP) เป็นผู้ปฏิบัติงานและดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ร้อยละ 90 - 95 และเป็นผู้ที่ต้องมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้ หา สร้าง แปลง ความรู้เพื่อการปฏิบัติให้บรรลุถึง "เป้าหมายหนือหัวปลา" ที่วางไว้อย่างแท้จริง
|
5. คุณประสาน (Network Manager) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่คอยประสานเชื่อมโยงเครือข่ายการจัดการความรู้ ระหว่างหน่วยงาน ให้เกิดการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ในวงกว้างขึ้น เกิดพลังร่วมมือทางเครือข่ายในการเรียนรู้และยกระดับความรู้แบบทวีคูณ
|
เป็นอย่างไรบ้างคะวันนี้เราคงรู้จัก KM ขึ้นไม่มากก็น้อยนะคะ ไม่ว่าเราจะอยู่ส่วนไหนของโมเดลปลาทู ก็ขอให้เรามาร่วมแรงร่วมใจพัฒนาสำนักงาน ก.พ.ร. ของพวกเราให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้วยกันเถอะค่ะ
|