สวัสดีค่ะ  ช่วงนี้เป็นช่วง ที่
สำนักงาน ก.พ.ร. ออกไปติดตาม
ความก้าวหน้าการปฏิบัติราชการ
ประจำปี 2549 ที่เรียกกันว่า Site
Visit เพื่อติดตามประเมินผล
ส่วนราชการในรอบ 6 เดือน ค่ะ

       ฉบับนี้เรายังมีสาระต่าง ๆ
อาทิเช่น อาการจัดทำคำรับรอง
การปฏิบัติการ, การบริหารจัดการ
ภาครัฐแนวใหม่,และ19 คุณสมบัติ
และความสามารถของการเป็นCEO
แถมด้วยหนังสือ และ Website
ที่น่าสนใจทุกสิ่งพร้อมอยู่บนหน้าจอ
ท่านแล้วค่ะ

 
e-news ย้อนหลัง

การจัดทำคำรับรอง
การปฏิบัติงาน ปี 2549

                            
ขององค์การมหาชน
 
            ได้รายงานความก้าวหน้าของการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ กลุ่มจังหวัดและจังหวัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 กันไปแล้ว     และในวันนี้เรา็มีความ ก้าวหน้าของการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ราชการอีกกลุ่มหนึ่งมารายงาน ให้ทราบกัน นั่นก็คือ กลุ่มของ องค์การมหาชน ซึ่งกลุ่มขององค์การมหาชนนั้น  ได้เข้าร่วม การประเมินผลการดำเนินงาน ตามคำรับรองการปฏิบัติงานมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548  หรือเมื่อปีที่แล้วนี่เอง        โดยในปีแรกมีองค์การมหาชนที่เข้าร่วมการประเมินผลฯ รวมทั้งสิ้น 16 แห่งสำหรับในปีนี้ มี องค์การมหาชนที่เข้าร่วมการประเมินผลการดำเนินงานตามคำ รับรอง การปฏิบัติงานขององค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2549 จำนวน 17 แห่ง ได้แก่

     1. สำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน (องค์การมหาชน)
     2. องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)
     3. สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
     4. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
     5. สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
     6. สำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
     7. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
     8. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
     9. สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
   10. สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
   11. ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)
   12. สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน)
   13. สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน)
   14. สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน)
   15. โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)
   16. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
   17. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน)

      โดย กรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติงาน ขององค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 นั้น แบ่งออกเป็น 4 มิติได้แก่

         มิติที่ 1 ด้านประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน
         แสดงความสามารถในการบรรลุเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เป็นการแสดงถึงผลลัพธ์ หรือผลสำเร็จของการดำเนินงาน โดยพิจารณาจาก 2 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านการเงิน และ ด้านที่ไม่ใช่การเงิน

ประเด็นการประเมินผล
          การจัดทำแผนยุทธศาสตร์กำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมาย ระดับองค์กร
          ด้านการเงิน
          การสร้างประสิทธิผลทางการเงิน
          ด้านที่ไม่ใช่การเงิน
          การพัฒนาการปฏิบัติงานตามเป้าหมายผลผลิต
          การดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล
          การบริหารผลกระทบต่อทรัพยากร สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม


         มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการ
         แสดงการสนองตอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ ลูกค้าหรือประชาชน ให้ได้รับประโยชน์สูงสุด

ประเด็นการประเมินผล
          การสนองความพึงพอใจต่อผู้รับบริการ


         มิติที่ 3 ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน
         แสดงผลลัพธ์หรือผลสำเร็จของการดำเนินงานขององค์กรซึ่งแสดงในแง่ (มิติที่ 1) องค์กรสามารถดำเนินการให้สำเร็จได้ โดยใช้ทรัพยากร ให้เกิดความคุ้มค่า เกณฑ์วัดประสิทธิภาพจะพิจารณา 2 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านการเงิน และ ด้านที่ไม่ใช่การเงิน

ประเด็นการประเมินผล
          การสร้างประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน


         มิติที่ 4 ด้านการกำกับดูแลกิจการและการพัฒนาองค์กร
         แสดงความสามารถในการก้าวสู่อนาคต หรือการเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กรได้ เกณฑ์วัดการพัฒนาองค์กร เช่น การพัฒนาระบบบริหารความรู้ในองค์กร และ การบริหารความเสี่ยง

ประเด็นการประเมินผล
          การกำกับดูแลกิจการ
          การพัฒนาองค์กร


             ในการกำหนดตัวชี้วัดตามกรอบการประเิิมินผลดังกล่าวของแต่ละองค์การ
มหาชนนั้น ได้มีการกำหนด ตัวชี้วัดร่วม ไว้ จำนวน 2 ตัวชี้วัด คือ

              ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ น้ำหนักร้อยละ 10 กำหนดไว้เป็นตัวชี้วัดใน มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการ ในประเด็นการประเมินผลเรื่อง การสนองความพึงพอใจต่อผู้รับบริการ


              ระดับคุณภาพการกำกับดูแลกิจการ น้ำหนักร้อยละ 10 กำหนดไว้เป็นตัวชี้วัดใน มิติที่ 4 ด้านการกำกับดูแลกิจการและการพัฒนาองค์กร ในประเด็นการประเมินผลเรื่อง การกำกับดูแลกิจการ

             สำหรับการกำหนดน้ำหนักในแต่ละมิตินั้น เนื่องจากภารกิจของ องค์การมหาชนแต่ละแห่งมีแผนยุทธศาสตร์ที่อนุมัติโดยคณะกรรมการ องค์การมหาชน และมีแนวทางการบริหารที่แตกต่างกัน ดังนั้น การกำหนดน้ำหนักในแต่ะละมิติ จะมีความเฉพาะเจาะจงโดย ให้แต่ละหน่วยงานเสนอน้ำหนักเพื่อให้คณะกรรมการเจรจาข้อตกลง และประเมินผลองค์การมหาชนเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสม


             ทั้งนี้ การเจรจาข้อตกลงและประเมินผลองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ได้จัดไปแล้วเมื่อวันที่ 14 - 15 มีนาคมที่ผ่านมา โดยมีองค์การมหาชนเข้าร่วมเจรจาในวันนั้นรวมทั้งสิ้น 13 แห่ง จากทั้งหมด 17 แห่ง  อย่างไรก็ตาม สำหรับองค์การมหาชนที่ไม่สามารถดำเนินการเจรจาได้เสร็จสิ้นภายในวันดังกล่าว สำนักงาน ก.พ.ร. จะได้นัดหมายให้มีการเจรจาในครั้งต่อไป จนกว่าจะได้ข้อตกลง

             ในส่วนขององค์การมหาชนอีก 4 แห่งที่ไม่ได้เข้าร่วมการเจรจาในครั้งนี้ ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. ได้ประสานให้มีการเจรจาแล้ว ได้แก่

              สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
              องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
              สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
              สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา

            สำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์การมหาชนนั้น เป็นไป ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547 ที่เห็นชอบ กับแนวทางการพัฒนา การดำเนินงานและการประิเมินผลองค์การมหาชน เพื่อพิสูจน์ความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่าขององค์การมหาชน โดยให้องค์การมหาชนทุกแห่งเสนอ แผนยุทธศาสตร์ของตนต่อคณะรัฐมนตรี และลงนามในคำรับรองการปฏิบัติงาน และเมื่อดำเนินงานตามคำรับรองครบ 1 ปีแล้ว จะมีการประเมินผลการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติงานนั้น โดยองค์การมหาชนที่ผ่านการประเมินจะได้รับสิ่งตอบแทนทั้งในลักษณะ ที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน